จากประชาชาติธุรกิจ
โดย จารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผอ.ฝ่ายรับประกันการส่งออก ธสน. jarupatp@exim.go.th
ใน ช่วงนี้หากผมไม่พูดถึงเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ รู้สึกว่าจะเชยไป การแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และอาจจะกระทบต่อการทำงานของผู้ส่งออก โดยเฉพาะภาค
การส่งออกที่ใช้ วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก เพราะกำไรที่จะได้รับจากการขายสินค้าส่งออกจะลดลง ธุรกิจที่มีผลกำไรน้อยอาจจะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่มีผลกำไรมากซึ่ง สามารถต่อรองกับคู่ค้าได้ นอกจากนี้ผู้ซื้อในต่างประเทศยังจะเห็นว่าราคาสินค้าไทยสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยทำได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในประเทศที่ค่าเงินแข็งน้อยกว่า
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้เกิด จากการไหลเข้าจากเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้นและตราสารระยะสั้นมาก เพื่อเก็งกำไร เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพมากกว่าเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทั้งภาครัฐและเอกชนจึงมีความกังวลเรื่อง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้ รวมทั้ง คุณคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งได้กล่าวในงานแถลงผลการดำเนินงานของ ธสน.ว่า "ในปีนี้ผู้ประกอบการจะต้องมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น แต่มีหลายช่องทางที่สามารถลดความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าเพื่อปิดความเสี่ยง"
ในความเป็นจริง อัตราแลกเปลี่ยนมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
จาก ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลก พื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง เสถียรภาพทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ปัจจัยด้านเทคนิค การคาดการณ์และการเก็งกำไร รวมทั้งข่าวลือต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการก็สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ได้อย่างเหมาะสม
ท่านทราบหรือไม่ว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นราวร้อยละ 30 หรือแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1 ในทุก 3 เดือน นั่นหมายความว่า เมื่อผู้ส่งออกได้รับชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศใน
วันนี้ หากแปลงเป็นเงินบาทแล้วจะได้เงินบาทน้อยกว่าที่คาดว่าจะได้รับเมื่อ
3 เดือนที่แล้วอยู่ร้อยละ 1 แต่ถ้าดูตั้งแต่ต้นปี
ที่ ผ่านมา ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 2-3 ขณะที่ค่าเงินเพื่อนบ้านแข็งค่าขึ้นเพียงร้อยละ 0.5-1 และคาดว่าในปีนี้อาจแข็งค่าขึ้นไปอีก ช่วงปลายปีนี้อาจจะอยู่ที่ 29.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการควรจะทำอย่างไรต่อไป
ผู้ ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้เชี่ยวชาญในธุรกิจการเงิน จึงไม่ควรที่จะทำกำไรจากเรื่องของการเงิน การเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องอันตรายสำหรับธุรกิจ จึงควรยอมรับในอัตราแลกเปลี่ยนที่ท่านพอใจ เพราะท่านเองเป็นคนที่ทราบว่ารายได้และต้นทุนเป็นเท่าไรอย่างชัดเจนและแน่ นอน ไม่ใช่วันก่อนมีกำไร แต่วันนี้และวันต่อไปต้องขาดทุน และหวังว่าวันหน้าจะมีกำไร เพื่อให้ได้รายได้ที่เป็นเงินบาทอย่างแน่นอนในอนาคต ธุรกิจของท่านจึงจะไม่มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และควรทำในสิ่งที่ท่านชำนาญ ไม่ใช่เก็งกำไร การลุ้นว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรไม่ต่างจากการพนันในบ่อน ผู้ประกอบการสมัยใหม่จึงมีหน้าที่ต้องหลีกเลี่ยงและบริหารความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าธุรกิจของท่านจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
จากสถิติ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยมีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างน้อย ผู้ประกอบการขนาดเล็กมีสัดส่วนการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพียงร้อยละ 13 เท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดกลางมีความตระหนักในเรื่องนี้พอสมควร แต่ก็มีสัดส่วนร้อยละ 54 ของผู้ส่งออก ซึ่งในความเห็นของผม ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมาก เพราะผลการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอาจทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวเองลง
ใน ปัจจุบันมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหลายอย่าง ทั้งการจัดการด้วยตนเอง ได้แก่ การบริหารรายได้และรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้สอดคล้องกัน (Natural Hedge) การเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit : FCD) หรือการใช้บริการกับสถาบันการเงินหรือตลาดอนุพันธ์ ได้แก่ การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) การซื้อสิทธิ์ที่จะซื้อหรือซื้อสิทธิ์ที่จะขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต (Options) การซื้อขายสัญญาซื้อขายดอลลาร์ล่วงหน้า (USD Futures) ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ยากเลย เพียงท่านโทรศัพท์หาสถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการอยู่ และขอคำปรึกษาว่าจะจัดการกับความเสี่ยงนี้อย่างไร ผมคิดว่าทุกแห่งยินดีช่วยเหลือและให้บริการกับท่าน รวมทั้ง ธสน.ด้วย
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน