สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จับตา โต้ง โดนยำ ทนง ตำหนิวิธีส่ง จม. บีบ ธปท. หยามศักดิ์ศรี-สร้างปัญหาเพิ่มขึ้น

จับตา “โต้ง” โดนยำ “ทนง” ตำหนิวิธีส่ง “จม.” บีบ “ธปท.” หยามศักดิ์ศรี-สร้างปัญหาเพิ่มขึ้น

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ทนง” ตำหนิ “กิตติรัตน์” แทรกแซงนโยบาย “ธปท.” โดยใช้วิธีการส่งหนังสือถือเป็นการกดดัน แนะการใช้แนวทางที่ดีน่าจะมีการพูดคุยหารือกันก่อนโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธี แบบนี้ หวั่นเป็นการหยามศักดิ์ศรี การปกป้องเกียรติอาจยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ยันเห็นด้วยกับการลด ดบ. เพื่อสกัดเงินไหลเข้า แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กนง. ส่วนประเด็นการขาดทุน 5.3 แสนล้าน ยังไม่น่าวิตก
       
       นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยใช้วิธีการส่งหนังสือไปยังนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเชิงกดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งตนเองเห็นว่า การใช้วิธีแบบนี้ถือเป็นการกดดัน และมองได้ว่าเป็นการแทรกแซงนโยบายการเงิน
       
       “แนวทางที่ดีน่าจะมีการพูดคุยหารือกันก่อน โดยไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือ ทำให้มองว่า วิธีการทำแบบนี้ ก็จะทำให้ ธปท. โดย กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ยด้วยซ้ำ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี การปกป้องเกียรติ ยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม”
       
       นายทนง กล่าวว่า แนวทางลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นแนวทางที่ถูกต้องในภาวะปัจจุบัน เพราะการยืนนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่าต่างประเทศนั้น จะยิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้า ก่อปัญหาฟองสบู่ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นเงินเฟ้อที่มาจากภายนอก การลดดอกเบี้ยขณะนี้ไม่ต้องวิตกเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากดอกเบี้ยไม่ได้อยู่ในระดับต่ำ จึงสามารถลดได้อีก ส่วนจะเป็นเท่าไรนั้นเป็นหน้าที่ของ กนง. จะพิจารณา
       
       ส่วนประเด็นการขาดทุนของ ธปท. จำนวนกว่า 5.3 แสนล้านบาท อดีตรมว.คลัง มองว่า ยังไม่น่าวิตก เพราะหน้าที่ของ ธปท. จะต้องเข้าแทรกแซงเพื่อให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมได้ประโยชน์ ดังนั้น จึงไม่น่าวิตกแต่อย่างใด
       
       รายงานข่าวเพิ่มเติม ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวกำลังลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ โดยทางวุฒิสภา เตรียมเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ล่าสุด มีรายงานว่า คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง วุฒิสภา ได้ทำหนังสือถึงนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. โดยระบุว่า กรณีที่นายกิตติรัตน์ ทำหนังสือเตือนคณะกรรมการ ธปท.ในเรื่องการดำเนินนโยบายนั้นมีความไม่เหมาะสม อาจเข้าข่ายข่มขู่ และไม่ใช่เสนอแนะทางนโยบาย ซึ่งทางกรรมาธิการฯ เตรียมเรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงเกี่ยวกับบทบาท และหน้าที่ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น


'ทนง'อัด'กิตติรัตน์'แทรกแซงนโยบายธปท.

"ทนง"ตำหนิ"กิตติรัตน์"แทรกแซงนโยบายแบงก์ชาติ บอกเห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ย สกัดเงินไหลเข้า แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจกนง.

นายทนง พิทยะ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตำหนิการกระทำของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ใช้วิธีการส่งหนังสือไปยังนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในเชิงกดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเห็นว่าวิธีแบบนี้เป็นการกดดัน และมองได้ว่าเป็นการแทรกแซงนโยบายการเงิน ซึ่งทางที่ดีน่าจะมีการพูดคุยหารือกันก่อน โดยไม่จำเป็นต้องส่งหนังสือ

"วิธีการทำแบบนี้ก็จะทำให้ธปท.โดย กนง. ไม่ยอมลดดอกเบี้ยด้วยซ้ำ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี การปกป้องเกียรติ ยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม"

นายทนง กล่าวว่า แนวทางลดดอกเบี้ยนโยบาย เป็นแนวทางที่ถูกต้องในภาวะปัจจุบัน เพราะการยืนนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่าต่างประเทศนั้น จะยิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้า ก่อปัญหาฟองสบู่ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นเงินเฟ้อที่มาจากภายนอก การลดดอกเบี้ยขณะนี้ไม่ต้องวิตกเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากดอกเบี้ยไม่ได้ในระดับต่ำ จึงสามารถลดได้อีก ส่วนจะเป็นเท่าไรนั้น เป็นหน้าที่ของ กนง.

ส่วนประเด็นการขาดทุนของธปท. กว่า 5.3 แสนล้านบาท อดีตรมว.คลัง กล่าวว่าไม่น่าวิตกเพราะหน้าที่ของธปท. เข้าแทรกแซงเพื่อให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมได้ประโยชน์ ดังนั้นจึงไม่น่าวิตกแต่อย่างใด


คำต่อคำ'ทนง'อัด'กิตติรัตน์'ทำตัวไม่เหมาะสม

อดีตขุนคลัง "ทนง พิทยะ" อัดรมว.คลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง"ร่อนหนังสือถึงแบงก์ชาติให้รับผิดชอบนโยบาย "ไม่เหมาะสม-ไม่เคยมีในอดีต"

"กรุงเทพธุรกิจทีวี" เกาะติดประเด็นร้อนคลังบีบคณะกรรมกานโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ขณะนี้อยู่ในระดับ 2.75% เพื่อลดการเก็งกำไรตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น และช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาท...สัมภาษณ์ ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง วิพากษ์การทำงานของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ออกมาส่งสัญญาณชัดเจน ทั้งด้วย "วาจา" และร่อนหนังสือ อย่างเป็น "ลายลักษณ์อักษร" เพื่อกดดันแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย...(คำต่อคำ)

ถาม อาจารย์เองเป็นรัฐมนตรีคลังมาก่อน ตอนนี้กำลังวิพากษ์วิจารณ์ถึงที่คุณกิตติรัตน์ทำหนังสือจดหมายถึงบอร์ดแบงก์ชาติว่าเหมือนกดดัน บางคนถึงกับบอกว่าเข้าข่ายข่มขู่ด้วยซ้ำไปว่าต้องบีบกดดันให้ กนง.ลดดอกเบี้ย

ตอบ ผมว่าไม่ดี สำหรับผมก็คือว่ายิ่งทำมันก็ยิ่งทำให้แบงก์ชาติมีปฏิกิริยาตอบโต้โดยที่ทำให้ลดดอกเบี้ยช้าลงด้วยซ้ำ เขาก็จะรักษาแนวทางของเขาไว้ และก็พยายามบอกคุณส่งมา ผมก็บอกผมไม่แคร์ และเสร็จแล้วมันก็ไม่มี มันก็แค่ได้ไปบอกว่าคุณต้องรับผิดชอบนะ เขาก็รับผิดชอบอยู่แล้ว ถูกต้องไหมครับเขาก็รับผิดชอบอยู่แล้ว ฉะนั้นผมเชื่อว่า รัฐมนตรีคลังกับผู้ว่าการควรจะคุยกันนอกรอบมากกว่า ผมว่าควรจะคุยนอกรอบกันให้เข้าใจว่าอะไรคืออะไร และก็ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ไหน และมาตรการที่แบงก์ชาติกับ ก.คลังควรจะเห็นพ้องต้องกันคืออะไร คือแบงก์ชาติเองก็ต้องคอยดูปริมาณเงินบาทในระบบอยู่แล้ว ถ้าตอนนี้เงินมันไหลเข้ามารัฐบาลเองก็เอาเงินจากระบบออกไปใช้และอัดฉีดเข้ามาในระบบผ่านการที่งบประมาณขาดดุล แบงก์ชาติก็ต้องดูทั้ง 2 ด้านว่าตรงไหนเป็นอะไรและก็ความพอดีของปริมาณเงินอยู่ที่ไหน แต่ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ได้ชะลอปริมาณเงิน ไม่ได้ลดความต้องการเงินกู้ เพราะว่ามันมีเงินไหลเข้ามาทดแทนได้

ถาม เพราะฉะนั้นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานร่วมกับผู้ว่าการแบงก์ชาติจะทำอย่างไร

ตอบ ผมว่ามันต้องคุยกันและก็พยายามเข้าใจ

ถาม เขาก็คุยกันอยู่นะ

ตอบ เพราะฉะนั้นมันไม่มีความจำเป็นต้องส่งจดหมาย

ถาม ในอดีตเคยมีไหม

ตอบ ไม่มี

ถาม และอาจารย์ทำยังไง

ตอบ สมัยผมที่ท่านหม่อมปรีดิยาธรท่านเป็นผู้ว่าการ ก็โทรศัพท์คุยกันตลอด บางทีผมแวะไปหาที่แบงก์ชาติก็มี บางทีท่านก็มาหาผมที่กระทรวงการคลัง ต่างคนต่างก็ชี้แจงความจำเป็น และเสร็จแล้ว รมต.คลังก็มีสิทธิบอก พี่หม่อม ผมจำเป็นต้องแถลงต่อประชาชนนะว่าผมไม่เห็นด้วยกับแบงก์ชาติ เขาก็บอกว่ทำไปเลย แต่เขาก็จะพยายามบอกว่าสิ่งที่แบงก์ชาติกำลังจะทำคืออะไร เพราะอะไร

ถาม คือต่างคนต่างบอกในจุดยืนของตัวเอง

ตอบ แต่ก็ในที่สุดแล้วมันก็คุยกันได้ ถึงเวลามันเห็นปัญหาร่วมกันได้ เพราะข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจมันมี ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจโดยแบงก์ชาติก็ต้องมารายงานรัฐบาลอยู่ ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีก็รายงานรัฐบาล ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่สภาพัฒน์ทำก็รายงานรัฐบาล ฉะนั้นก็สามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าใครถูกใครผิด มันสามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละคนเห็นความสำคัญคนละด้าน ฉะนั้นความพอดีอยู่ตรงกลางทำยังไงดี มันก็มีสิทธิที่จะทำได้ แต่เราจะไปก้าวก่ายหน้าที่แบงก์ชาติไม่ได้ เรามีสิทธิเพียงแต่บอกได้ว่าท่านผู้ว่าการต้องระวังเรื่องนี้หน่อยนะ

ถาม ดอกเบี้ยควรลดลงนะอะไรอย่างเนี้ย แต่ทางคลังเขาก็บอกมาตลอด

ตอบ ไม่ต้องบอก เราไม่ต้องบอกว่าดอกเบี้ยควรจะลดลง ท่านต้องระวังเรื่องการไหลเข้าของเงิน เพราะว่ามันเข้ามามากเกินไปมันจะทำให้เศรษฐกิจกลายเป็นฟองสบู่ได้ เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติก็ต้องไปกลับดูว่านโยบายอะไรที่จะทำให้ได้ผล ท่านต้องระวังอย่าไปดูแลค่าเงินบาทแบบนี้ เพราะท่านอาจจะขาดทุนมากขึ้นอีก และก็จะมีปัญหาในระยะยาวได้ เรามีสิทธิที่จะพูดได้


คลังบอกไม่สบายใจเห็นธปท.ขาดทุนแสนล.

"กิตติรัตน์"เปิดใจร่อนหนังสือถึงแบงก์ชาติ เหตุไม่สบายใจเห็นขาดทุนเพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาท ปลดผู้ว่าฯธปท.ไม่เคยอยู่ในความคิด

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยระบุว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะมีผลต่อภาคการส่งออก โดยเดือน ธ.ค.2555 และ ม.ค.2556 ที่ผ่านมา ยอดการส่งออกต่ำกว่าเป้าหมายส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากที่เงินบาทแข็งค่า ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยออกมาพูดเรื่องนี้หลายครั้งแล้วว่า หากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าการขับเคลื่อนเรื่องการส่งออกก็ทำได้ยากขึ้น ซึ่งต้องยอมรับว่าการแข็งค่าของเงินบาทมาจากเงินทุนไหลเข้าอันเกิดมาจากอัตราดอกเบี้ยของบ้านเราสูงกว่าประเทศอื่นๆ

"สิ่งที่ผมไม่สบายใจก็คือผลการขาดทุนของ ธปท.จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีการขาดทุนในทิศทางที่เพิ่มขึ้นจาก 7 หมื่นล้านบาทในปี 2555 เพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาทในปีนี้ ซึ่งการขาดทุนในส่วนนี้ไม่นับรวมการดำเนินการอื่นๆซึ่งในการดำเนินการระหว่างปีของ ธปท.อาจจะมีกำไรหรือขาดทุน เช่น กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่เรื่องการขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเกิดจากการที่ ธปท.ออกพันธบัตรไปดูดซับสภาพคล่องเป็นผลการขาดทุนที่ ธปท.จะต้องจ่ายจริงเป็นผลขาดทุนจริง"

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ข้อมูลเศรษฐกิจอแบบนี้ตนถือว่าเป็นทุกข์ ก็ไม่ได้ต้องการมาสาวไส้กันเองให้คนอื่นๆดู แต่ที่ผ่านมาผมก็พยายามที่จะพูด ทั้งพูดอ้อม พูดฉียดในประเด็นนี้ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองหรือสนใจเท่าที่ควรจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าหากขาดทุนในทิศทางน้อยลงตนก็อาจจะสบายใจกว่านี้ แต่นี่ติดลบมากขึ้นขาดทุนมากขึ้น ตนก็ต้องพูดกับคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากตนมีส่วนรับผิดชอบทั้งทางกฎหมาย และรับผิดชอบต่อความคาดหวังของสังคม

ผู้สื่อข่าวถามว่าการทำหนังสือถึงคณะกรรมการ ธปท.สังคมมองว่า รัฐมนตรีคลังจะปลดผู้ว่าการ ธปท.นายกิตติรัตน์ ตอบว่า เรื่องปลดผู้ว่าฯธปท.ไม่เคยอยู่ในความคิดและเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ตนมองว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสามารถให้ความเห็นได้

"แม้กฎหมายจะกำหนดว่า ครม.สามารถปลดผู้ว่าแบงก์ชาติได้ แต่ก็ต้องให้คณะกรรมการ ธปท.ทำความเห็นเสนอขึ้นมาแล้ว ถามว่า บอร์ดธปท.ทำความเห็นขึ้นมาหรือไม่ และถามว่าความเห็นต่างเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นเหตุให้ปลดผู้ว่าแบงก์ชาติได้หรือไม่ ก็อยากให้มองว่าการบริหารที่ผิดพลาดเกิดความเสียหายก็เป็นเหตุให้ปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เหมือนกัน เพราะมีแนวโน้มว่าการขาดทุนจะเพิ่มมากขึ้นหากปีละ 1 แสนล้านบาท 10 ปีก็ 1 ล้านล้านบาท ผมถึงต้องแสดงความเห็นในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการแนะนำเพราะหากเกิดความเสียหายในวันข้างหน้าคนก็จะมองว่าทำไมผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่แสดงการทักท้วงเรื่องนี้"นายกิตติรัตน์กล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จับตา โต้ง โดนยำ ทนง ตำหนิ วิธีส่ง จม. ธปท. หยามศักดิ์ศรี สร้างปัญหา เพิ่มขึ้น

view