สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดข้อมูลแบงก์ชาติสางปมหนี้เน่าอิสลามแบงก์

จากประชาชาติธุรกิจ

เปิดปมทุจริต "ไอแบงก์" ฉุดหนี้เน่าพุ่งเฉียด 4 หมื่นล้าน ธปท.เผยปัญหาระบบคอร์แบงกิ้งจัดชั้นหนี้ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ส่งผลจัดชั้นหนี้ผิดพลาด 32 บริษัท มูลหนี้กว่า 1.3 หมื่นล้าน เผยผลสอบตั้งข้อสังเกตปล่อยกู้ไม่ตรงวัตถุประสงค์-ปล่อยกู้ซื้อหุ้น เน่า-ขบวนการเก็บค่าปากถุง

ระบบคอร์แบงกิ้งไม่ได้มาตรฐาน

ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าไปตรวจสอบผลการดำเนินงานของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ ณ วันที่ 31 มี.ค. 2555 และพบข้อผิดปกติหลายรายการในด้านการปล่อยสินเชื่อที่ขาดคุณภาพช่วงก่อนหน้า นี้ ถึงขณะนี้จึงถือได้ว่าไอแบงก์ถูกจัดให้เป็นธนาคารที่น่าเป็นห่วงที่สุด จากที่มีหนี้เสียจำนวนมาก เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าระบบ Core Banking ของธนาคารมีการจัดชั้นหนี้ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินทั่วไปถือ ปฏิบัติ

เบื้องต้นพบว่าธนาคารมีการแสดงผลการดำเนินงาน หรือผลกำไรผิดพลาด โดยเฉพาะปี 2554 ที่ธนาคารแจ้งว่ามีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานถึง 1,786 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าความเป็นจริง โดยสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน หรือ สตง.ได้รับรองงบที่แสดงผลกำไรเหลือเพียง 546 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้มูลค่าหลักประกันในการคำนวณเงินสำรองไม่ถูกต้อง สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2555 ตามงบการเงินธนาคารมีผลขาดทุนที่ 3,134 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากผลการตรวจสอบของ ธปท.เมื่อ มี.ค. 2555 ที่ผ่านมา ทำให้ไอแบงก์จำเป็นต้องกลับมาปรับปรุงระบบภายใน โดยเฉพาะปัญหาระบบ Core Banking แต่จนถึง ณ ปัจจุบัน ระบบดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้การคำนวณการตั้งสำรอง และผลการดำเนินงานของธนาคารผิดพลาดไปด้วย ซึ่งความผิดพลาดดังกล่าวทำให้ สตง.ไม่เซ็นอนุมัติผลการดำเนินงานปี 2555 ของไอแบงก์

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด ณ 15 ม.ค. 2556 พบว่าไอแบงก์มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงถึง 3.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 32% ของสินเชื่อรวม

32 บริษัทเข้าข่ายเอ็นพีแอล

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า การตรวจสอบของ ธปท. ณ 31 มี.ค. 2555 พบว่ามีลูกหนี้จำนวน 32 ราย ยอดหนี้รวม 13,667 ล้านบาท ที่ธนาคารจัดชั้นให้เป็นลูกหนี้ปกติ แต่จากการตรวจสอบของ ธปท.พบว่าน่าจะเข้าข่ายเป็นหนี้เอ็นพีแอล อาทิ บริษัท ขอนแก่นเจริญ ทาวเวอร์ มียอดหนี้ 671 ล้านบาท, บจ.เมืองสมุย ยอดหนี้ 727 ล้านบาท, บจ.ดร๊อปอินสมุย ยอดหนี้ 139 ล้านบาท, บริษัท รัชโยธิน ไพร์ม เอสเตท ยอดหนี้ 546 ล้านบาท, จีเอ็ม ดับเบิ้ลยู เวนเจอร์ ยอดหนี้ 275 ล้านบาท, บจ.เมจิก โมเดิร์น ยอดหนี้ 1,352 ล้านบาท, บจ.บุญบารมีเมตตา พร็อตเพอร์ตี้ ยอดหนี้ 1,220 ล้านบาท, บจ.ภูเก็ต การ์เด้น คลิฟ มียอดหนี้ 689 ล้านบาท ฯลฯ

จากการสุ่มตรวจของ ธปท.พบความผิดปกติการให้สินเชื่อในหลายกรณีที่นำมาซึ่งความเสียหายให้กับ ธนาคาร อาทิ ลูกหนี้มีการโอนเงินกู้ที่ขอเบิกสินเชื่อจากธนาคารบางส่วนไปเข้าบัญชีเงิน ฝากของนิติบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับลูกหนี้ จึงตั้งข้อสังเกตว่าไม่ได้นำเงินสินเชื่อที่ได้รับไปดำเนินธุรกิจที่อยู่ ระหว่างตรวจสอบในเชิงลึก เช่น บจ.ภูเก็ต การ์เด้น คลิฟ มียอดหนี้ที่ 689 ล้านบาท, บจ.พานทองเปเปอร์ มียอดหนี้ 400 ล้านบาท, บจ.เอส.โอ.จี.กรุ๊ป ยอดหนี้ 350 ล้านบาท, บจ.ซันนี่ แอร์เวย์ ยอดหนี้ 60 ล้านบาท และ หจก.เดชาเจริญกิจ ยอดหนี้ 494 ล้านบาท เป็นต้น

รวมทั้งกรณีลูกหนี้ ใช้เงินกู้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบเช่นเดียวกัน อาทิ บริษัท ท้าพิสูจน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ยอดหนี้ 181 ล้านบาท บริษัท เส้นหมี่ เพชรบุรี อินเตอร์เนชั่นแนล ยอดหนี้ 277 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการสั่งจ่ายเช็คเงินสด 100,000 บาท ให้กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีส่วนในการรับเรื่องการพิจารณาขออนุมัติสิน เชื่อด้วย

ปล่อยกู้ซื้อหุ้นบริษัทเอ็นพีแอล

ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า ธปท.ยังได้ตรวจสอบกรณีปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้เพื่อซื้อหุ้นในกิจการที่ เป็นเอ็นพีแอล เช่นกรณีการให้สินเชื่อ บจ.สุขุมวิท 33 ดีเวลลอปเม้นท์ จำนวน 1,191 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของ บจ.พรีมา แอสเซท โฮลดิ้ง และจำนวน 1,150 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของ บจ.ลา-คริสทาวเวอร์ ซึ่งกำลังดูว่ามีปัญหาหรือไม่

ขณะ เดียวกันยังพบว่ามีการให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่สูงกว่าราคา ซื้อจริง และปัจจุบันเข้าข่ายถูกจัดชั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอลแล้ว อาทิ บจ.อินโดนวา ออโต้ ยอดหนี้ 475 ล้านบาท บจ.ทองวงแหวน เซอร์วิส ยอดหนี้ 217 ล้านบาท และ บจ.คอสมิก เม็กนั่ม ยอดหนี้ 430 ล้านบาท เป็นต้น รวมถึงการให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่มีความไม่แน่นอนในการดำเนินกิจการและอาจ เข้าข่ายจัดชั้นเป็นเอ็นพีแอล เช่น บจ.ลอนดรี้ บิสซิเนส สุวรรณภูมิ (2007) ยอดหนี้ 205 ล้านบาท บจ.ซันนี่ แอร์เวย์ ยอดหนี้ 60 ล้านบาท บจ.เดวิด ลอยด์ เอเชีย ยอดหนี้ 363 ล้านบาท เป็นต้น

ส่วนการปล่อยสินเชื่อให้แก่ โครงการที่ขาดแผนงานที่ชัดเจน และกำลังตรวจสอบ เช่น บจ.พรอสเพค ดีเวลลอปเม้นท์ ยอดหนี้ 1,250 ล้านบาท บจ.ปัตตานี จายาโฮลดิ้ง ยอดหนี้ 491 ล้านบาท บจ.พริซึ่ม แอสเตทส์ (ประเทศไทย) ยอดหนี้ 377 ล้านบาท เป็นต้น

เก็บค่าปากถุงปล่อยสินเชื่อ

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ผลสอบของ ธปท.ว่ามีหลายกรณีที่พบว่ามีการทุจริตโดยมีบุคคลภายในธนาคารเข้ามาเกี่ยว ข้อง ส่งผลให้ธนาคารมีหนี้เสียจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน เช่น ธปท.ตรวจพบว่ามีลูกหนี้ของธนาคารอย่างน้อย 5 ราย ยอดสินเชื่อรวมราว 1,993 ล้านบาท มีการโอนเงินบางส่วนเข้าบัญชีออมทรัพย์ สาขาอโศก ที่กำลังตรวจสอบ เช่น มีการโอนเงินสัดส่วน 3-7% ของมูลค่าการขอสินเชื่อ

"กรณีนี้ ถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีลักษณะคล้ายเงินปากถุง ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการให้สินเชื่อที่มีคนในร่วมรู้เห็น ดังนั้นการโอนเงินจากทุกบัญชีบางส่วนเข้าบัญชีนี้บัญชีเดียวกันหลาย ๆ บริษัท

เหล่านี้ต้องตอบให้ได้ว่ามีความเป็นมาอย่างไร"

จ่อฟัน 100 รายทำหนี้เสียพุ่งปร๊ด

ด้าน นายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวยอมรับว่า หลังธนาคารได้มีการแก้ไขตัวเลขลูกหนี้ตกชั้น ทำให้พบหนี้เสียเพิ่มขึ้นจาก 24,000 ล้านบาท เป็น 39,000 ล้านบาททันที ส่งผลให้มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ BIS ติดลบ สาเหตุจากการปล่อยสินเชื่อนอกพันธกิจของธนาคาร โดยที่ผ่านมาเน้นปล่อยรายใหญ่มากกว่ารายย่อย ตามจุดประสงค์การจัดตั้งธนาคาร ซึ่งธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ราว 60% ในปี 2555 ขณะที่รายย่อยและเอสเอ็มอีมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อเพียง 40 % เท่านั้น จากฐานการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด ณ สิ้นปี 2555 ที่ 120,000 ล้านบาท

ขณะ ที่หากดูสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ทั้งหมด พบว่ามีหนี้เสียจำนวนมากเกือบทั้งพอร์ตของหนี้เสียที่ 39,000 ล้านบาท เพราะพบว่าหนี้เสียเพียง 10% เท่านั้นมาจากรายย่อย โดยหนี้เสียรายใหญ่มีเบี้องต้นไม่ต่ำกว่า 100 บริษัท ซึ่งธนาคารอยู่ระหว่างการเร่งสอบสวน และเรียกคุยเป็นรายกรณี เพื่อหาแนวทางล้างหนี้เสียดังกล่าว โดยธนาคารยังตั้งเป้าจะแก้หนี้เอ็นพีแอลที่มีอยู่ทั้งหมดให้หมดภายใน 3 ปีนี้ โดยปีแรกจะเร่งแก้เอ็นพีแอลให้หายไปไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท

"ตอน นี้กำลังเดินหน้าคุยรายใหญ่ทั้ง 100 รายอยู่ คาดว่าสิ้นปีจะคุยหมด เพื่อแก้หนี้ที่เกิดขึ้น ขณะที่ปัญหาของไอแบงก์ที่ผ่านมา คือการปล่อยสินเชื่อที่ไม่รัดกุม ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหากเกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในจะเร่งดำเนินการสอบสวน ซึ่งมั่นใจว่าต่อจากนี้จะไม่มีคอร์รัปชั่น ต้องโปร่งใส หากพบทุจริตจะไม่เอาไว้ ทุกคนเอาเงินมาฝาก มีทุจริตต้องอยู่ไม่ได้" นายธานินทร์กล่าว ขณะที่ขั้นตอนการสอบทุจริตการทำหน้าที่ของพนักงานภายในองค์กร รวมไปถึงตำแหน่งใหญ่ ๆ ในองค์กรนั้น คาดว่าเร็ว ๆ นี้ทางธนาคารจะเร่งมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนอย่างเร่งด่วน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดข้อมูล แบงก์ชาติ สางปม หนี้เน่า อิสลามแบงก์

view