สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มาร์ค ฟาเบอร์ ชี้ไทยศก.พุ่ง-เสี่ยงฟองสบู่กนง.ควร ขึ้นดอกเบี้ย

มาร์ค ฟาเบอร์ ชี้ไทยศก.พุ่ง-เสี่ยงฟองสบู่กนง.ควร'ขึ้นดอกเบี้ย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"มาร์ค ฟาเบอร์" ประเมินเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของไทย ขณะนี้ควรขึ้นดอกเบี้ย ด้วยซ้ำ เนื่องจากเชื่อว่าดัชนีราคาผู้บริโภค น่าจะสูง

หลังจากที่วานนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6:1 ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% เนื่องจาก 4 เหตุผลหลักว่า1.เศรษฐกิจโลกดีขึ้น 2.เศรษฐกิจไทยไตรมาส4 ดีเกินคาด 3.อัตราเงินเฟ้อแนวโน้มสูงและ4.สินทรัพย์เสี่ยงที่จะเกิดฟองสบู่

นายมาร์ค ฟาเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนชั้นนำระดับโลกให้สัมภาษณ์"กรุงเทพธุรกิจทีวี"ว่า ไทยควรปรับอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นด้วยซ้ำ ไม่ใช่คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม เพราะเศรษฐกิจไทยขึ้นมาแรงและเร็วมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่เฉพาะไทยอย่างเดียว เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ในไทยมีสัญญาณการเก็งกำไรอยู่มาก รวมทั้งเริ่มมีฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์


ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อในไทยและที่แถลงออกมาจากรัฐบาลทั่วโลก ดูเหมือนว่าจะสวนทางกับความเป็นจริง ที่ราคาสินค้าจริงปรับตัวขึ้นมา 5-10%

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มติ กนง. ที่ออกมาถือว่าเป็นไปตามที่ทางศูนย์วิเคราะห์ฯ ได้คาดเอาไว้ โดยตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดที่ทาง สศช. ประกาศออกมา ถือว่าดีกว่าที่คาด อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าการเติบโตจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ถ้าดูถ้อยแถลงของ กนง. ในครั้งนี้ ถือว่ามีประเด็นใหม่ที่น่าสนใจ คือ เรื่องเงินเฟ้อ โดยในแถลงการณ์ระบุชัดเจนว่า เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากการประชุมในครั้งก่อน ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น ทำให้ต้องติดตามว่า แนวโน้มเงินเฟ้อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าดูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและจีนแล้ว อาจเป็นประเด็นที่กลับมากดดันในเรื่องการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันก็เป็นได้


เตือน! กนง.ทั้ง 7 ท่าน...ลดดอกเบี้ยเข้าข่าย"ละเว้นหน้าที่"

"เป็นอีกครั้ง ที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ในวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ตลาดเงิน ตลาดทุน ต้องลุ้นกันระทึก

เพราะโอกาสที่จะคงอัตราดอกเบี้ยและลดอัตราดอกเบี้ยนั้น 50:50 ส่วนหนึ่งเพราะมุมมองต่อ เงินทุนไหลเข้ากับอัตราดอกเบี้ยนั้นมองได้ทั้งสองมุม "

แถมการประชุมครั้งนี้ มีจดหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ให้พิจารณาประเด็นแบงก์ชาติขาดทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย...จึงเป็นแรงกดดันใหญ่ทางการเมือง ตัวแปร"ใหม่"ที่อยู่นอกเหนือตัวแปรทางเศรษฐกิจ

ตลาดเงิน ตลาดทุน นักวิชาการ อาจจะลุ้นระทึกได้ไม่แปลก เพราะคิดตัวแปรต่างๆนานา...แต่หากเป็นคณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 ท่าน"ไม่น่าจะตัดสินใจยากนัก" เพราะภารกิจที่ได้รับมอบหมายตาม พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 และ กรอบนโยบายเงินเฟ้อแล้วนั้น มีทางเดียว"ต้องคงดอกเบี้ย" หากผิดไปจากนี้ถือว่า"เข้าข่ายละเว้นหน้าที่ "

ก่อนที่จะขยายหน้าที่ กนง.ให้เห็นว่าหากลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.75% "เข้าข่ายละเว้นหน้าที่" ลองมาดูก่อนว่าวันนี้ สองแนวคิดว่าด้วย"ดอกเบี้ย"กับการดูแลเงินทุนไหลเข้านั้น ถกเถียงอย่างไรกันบ้าง

กลุ่มแรก เป็นแนวคิดที่สนับสนุนฝั่งรัฐบาล นำโดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานแบงก์ชาติ และ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "ต้องการให้ลดดอกเบี้ย" เพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ที่เข้ามาเก็งกำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย

กลุ่มนี้เชื่อว่าดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดการแข็งค่าเงินบาท ทำให้เงินทุนที่ไหลเข้าเก็งกำไรหุ้น ตราสารหนี้ลดลง นอกจากนั้น ยังลดภาระบริษัทจดทะเบียน และประชาชน สนับหนุนการเติบโตเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังลดภาระขาดทุนของแบงก์ชาติ ที่เกิดจากส่วนต่างดอกเบี้ยรับที่น้อยกว่าดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งขณะนี้ดร.วีรพงษ์ ประเมินว่าขาดทุนสะสมสูงถึง 5.3 แสนล้านบาท และจะพุ่งเป็น 7 แสนล้านบาทสิ้นปีนี้

ฝั่งความคิดรัฐบาลยังเห็นว่าการลดอัตราดอกเบี้ย จะชะลอการไหลเข้าของเงินทุน ส่งผลให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามาก สนับสนุนภาคการส่งออกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญของการเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ ส่วนในมุมมองของใช้อัตราดอกเบี้ยสูงดูแลเงินเฟ้อนั้น ความคิดในกลุ่มรัฐบาล เห็นว่าไม่มีผลต่อการดูแลเงินเฟ้อ เพราะไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจเล็กและเปิด เงินเฟ้อส่วนใหญ่ประมาณ80% เงินเฟ้อผลมาจากต่างประเทศ ที่สำคัญกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่ธปท.นำมาดูแลเสถียรภาพด้านราคาวันนั้น เริ่มล้าสมัยใช้ไม่ได้กับประเทศไทยและสถานการณ์สภาพคล่องท่วมโลก

กลุ่มที่สอง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นผู้นำแนวคิดนี้ เห็นว่าหน้าที่ของอัตราดอกเบี้ย ใช้ดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อหนุนให้เศรษฐกิจเติบโตยั่งยืน มิใช่นำมาใช้กับการดูแลระยะสั้น

ที่สำคัญเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินไหลเข้า ตัวอย่างในหลายประเทศอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินทุนจากต่างประเทศยังทะลักเข้าต่อเนื่อง เช่นกรณีของฮ่องกง ดังนั้นปัจจัยหลักที่ดึงเงินทุนไหลเข้าคือเศรษฐกิจที่เติบโตดี ขณะเดียวกันแบงก์ชาติมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ย ยิ่งทำให้โอกาสเกิดฟองสบู่ในตลาดทุน และ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เร่งตัวขึ้น แถมยิ่งเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย หนี้ครัวเรือนเร่งตัวมากขึ้นด้วย

ส่วนประเด็นการขาดทุนของแบงก์ชาตินั้น จะไม่กระทบต่อการดำเนินงาน เพราะแบงก์ชาติไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร อีกทั้งธนาคารกลางหลายแห่งก็มีผลขาดทุนในลักษณะนี้ ที่สำคัญอัตราแลกเปลี่ยนควรต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะถ้าไปฝืนก็จะเกิดการเก็งกำไร และการฝืนกลไกตลาดมีต้นทุนในตัวเองด้วย ส่วนประเด็นเงินเฟ้อ นอกจากจะมาจากปัจจัยต่างประเทศแล้ว แต่ก็มีเงินเฟ้อที่เกิดในประเทศด้วย ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงช่วยดูแลเสถียรภาพในระยะยาวได้ ที่สำคัญแบงก์ชาติยืนยันนโยบายที่ยึด"กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ"มีความเหมาะสมกับเศรษฐกิจไทย

สองแนวคิดที่ยืนตรงกันข้าม!....แต่สำหรับ กนง.ทั้ง 7 ท่านไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวกับตัวแปรที่หลากหลาย เพราะพันธกิจที่กำหนดในกฎหมายแบงก์ชาติ มาตรา 28/8 ชัดเจนว่า"นโยบายการเงินละปีต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวง"การคลังนั้นเป้าหมาย" เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา"

การที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้นั้น แบงก์ชาติมีกรอบการทำงานที่เรียกว่า" Inflation Targeting"
ในกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้เลยว่า...หน้าที่ของกนง.ต้องให้ความสำคัญกับ ปัญหาเงินทุนไหลเข้า เพราะสถานการณ์ที่สภาพคล่องท่วมโลกมีสูงถึง 21ล้านล้านบาทนั้น เครื่องมือ"ดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่สามารถจัดการได้" กระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติ ต้องมานั่งหารือกันว่า จะดำเนินการอะไรได้บ้าง

คณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 ท่านจึงไม่ควรผูกเรื่อง ลดไม่ลดดอกเบี้ย กับความวิตกเรื่องเงินทุนไหลเข้า
หน้าที่ของ คณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 ท่าน ต้องพิจารณาว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันน่าห่วงไม่..คำตอบคือ วันนี้ดีขึ้น
หน้าที่ของ คณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 ท่าน ต้องพิจารณาว่า อัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบันและอนาคตน่าห่วงไม่..คำตอบ ทิศทางสูงขึ้น

หน้าที่ของ คณะกรรมการ กนง.ทั้ง 7 ท่าน ต้องพิจารณาว่า อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเป็นอย่างไร...คำตอบ คือ ติดลบ

มติจึงทำได้เพียงอย่างเดียว...คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% ผิดจากนี้ถือว่า"เข้าข่ายละเว้นหน้าที่ "


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มาร์ค ฟาเบอร์ ไทย ศก.พุ่ง เสี่ยงฟองสบู่ กนง. ขึ้นดอกเบี้ย

view