จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลจังหวัดมีนบุรี ได้พิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 3596/2551 และคดีหมายเลขแดงที่ 783/2556 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ ฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ในฐานะแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บ.เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด บ.ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ในคดีหมิ่นประมาท จากแถลงการณ์คำประกาศของประชาชนผู้พิทักษ์ รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กล่าวหาระบอบทักษิณเป็นระบอบที่อันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติ โดยศาลพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1-6
ทางทีมข่าวการเมืองเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการจึงขอสรุปในความสำคัญของคำพิพากษาดังกล่าว พร้อมกับนำคำพิพากษาฉบับเต็มจำนวน 16 หน้า มาเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วไป
1.เหตุที่พิพากษายกฟ้อง
• พ.ต.ท.ทักษิณ เคยดำรงตำแหน่งนายกฯ ย่อมเป็นบุคคลสาธารณะ ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์การบริหารราชการแผ่นดินของทักษิณ เพื่อเป็นการป้องกันส่วนได้เสียได้ในฐานะของผู้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ รัฐบาล
• เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม
2.ข้อนำสืบของจำเลยทั้ง 6 แสดงให้เห็นว่า
• คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงให้เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติกรรมบริหารประเทศส่อไปในทางไม่สุจริตจริง
ข้อนำสืบของจำเลยทั้ง 6 แสดงให้เห็นว่า สมัยที่โจทก์ดำรงตำแหน่งนายกฯ โจทก์บริหารประเทศไม่โปร่งใส มีการทุจริตคอร์รัปชั่น มีออกแบบนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องทำให้โจทก์และพวกร่ำรวย ยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาอัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองริบทรัพย์สินของโจทก์กับพวกฐานร่ำรวยผิดปกติให้ตกเป็นของ แผ่นดิน และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์สินของโจทก์กับพวกแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ล.26 แม้โจทก์จะไม่ยอมรับคำพิพากษาดังกล่าวแต่ก็แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีพฤติกรรมบริหารประเทศส่อไปในทางไม่สุจริตจริง (ตามคำพิพากษาหน้า 14-15)
• ข้อกล่าวหากดขี่ข่มเหง และเข่นฆ่าประชาชน ก็สืบเนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่แข็งกร้าว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2,600 คน
“สำหรับข้อความที่กล่าวหาโจทก์ว่า กดขี่ข่มเหง และเข่นฆ่าประชาชนนั้น สืบเนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของโจทก์ที่แข็งกร้าว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าวถึง 2,600 คน ” (ตามคำพิพากษาหน้า 15)
• ภายหลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนต่างประเทศ ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
“ส่วนข้อความที่กล่าวหาโจทก์ว่า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ก็ปรากฏทางนำสืบของจำเลยทั้งหกว่า ภายหลังจากโจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกฯ โจทก์ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนต่างประเทศหลายแขนงอย่างต่อเนื่องว่า "ตนเองเป็นภัยคุกคามชนชั้นสูง" และยังให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า "บรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย เชื่อถือในทุกอย่าง ยกเว้นประชาธิปไตย" ตามสำเนาข่าว นสพ.มติชน วันที่ 24 ต.ค. 2554 เอกสารหมาย ล.8 พฤติกรรมของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์ไม่จงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์” ( (ตามคำพิพากษาหน้า 15)
• มีพฤติกรรมแสดงออกอย่างต่อเนื่องว่า ทักษิณ ยังเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการสนับสนุนบุคคลที่มีความใกล้ ชิดกับตนเองขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการในระดับสูงด้วย จนทำให้เข้าใจได้ว่า ทักษิณอยู่เบื้องหลังการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
“นอกจากนี้ยังแสดงออกอย่างต่อเนื่องว่าโจทก์ยังเกี่ยวข้องกับการบริหาร ราชการแผ่นดินด้วยการสนับสนุนบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับตนเองขึ้นเป็นนายก รัฐมนตรี การตั้งรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการในระดับสูงด้วย พฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์ย่อมทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า โจทก์อยู่เบื้องหลังการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
” ( (ตามคำพิพากษาหน้า 15)
สำหรับเนื้อหาฉบับเต็มในส่วนพิเคราะห์ของคำพิพากษามีรายละเอียดดังนี้
..........................
“คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งหกกระทำ ความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า คำประกาศตามเอกสารหมาย จ.๕ สรุปได้ว่า ระบอบทักษิณ เป็นระบอบที่อันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นระบอบที่ไม่มีอุดมการณ์ ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นระบอบที่ทุจริตฉ้อฉล ปล้นชาติ ปล้นประชาชน กดขี่ข่มเหง และเข่นฆ่าประชาชนนับไม่ถ้วน ระบอบทักษิณเป็นระบอบเผด็จการทุนนิยมสามานย์ และกลายเป็นผีดิบ กำลังจะฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง โดยจำแลงแปลงกายเป็นหลายรูปแบบ เพื่อหวังหลอกลวงประชาชนชาวไทย ให้หลงเชื่อว่าจะมาช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความยากจน แต่แท้จริงก็คือระบอบเผด็จการทุนนิยมสามานย์ ที่ปล้นชาติ ปล้นประชาชน และหมายจะล้มล้างสถาบันต่างๆ ของประเทศไทย
คำว่าระบอบทักษิณ เป็นถ้อยคำในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและสื่อมวลชน เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ ตามคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญเอกสารหมาย ล ๓
และจำเลยที่ ๑ ได้อ่านข้อความอีกตอนหนึ่งว่า "....ข้อที่ ๑ ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และระบอบเผด็จการทุนนิยมสามานย์ ยังเป็นปัญหาสำคัญของแผ่นดินเหมือนดังเดิม..." ดังนั้นข้อความที่จำเลยที่ ๑ - ๔ ร่วมกันออกประกาศดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวถึงโจทก์และระบอบการบริหารราชการ แผ่นดินของโจทก์
การที่จำเลยที่ ๑ - ๔ ออกประกาศกล่าวหาโจทก์ดังกล่าว ย่อมทำให้ประชาชนหรือบุคคลที่สามเข้าใจว่า การบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติ โจทก์ไม่มีอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตย บริหารประเทศชาติโดยทุจริตฉ้อฉล ปล้นชาติ ปล้นประชาชน กดขี่ข่มเหง และเข่นฆ่าประชาชน โจทก์บริหารประเทศด้วยระบบเผด็จการทุนนิยมสามานย์ หลอกลวงประชาชน และมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คำประกาศตามเอกสารหมาย จ.๕ จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ปัญหาว่า มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายที่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ ๑ - ๔ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ เห็นว่า จำเลยทั้งหกนำสืบว่า เหตุที่จำเลยที่ ๑ - ๔ ออกประกาศปฏิญญาร่วมกันตามเอกสารหมาย จ.๕ เนื่องจากขณะนั้นรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๗ เพื่อหนีคดียุบพรรคพลังประชาชน เนื่องจากกรรมการบริหารพรรคบางคนถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้ง และแก้ไขมาตรา ๓๐๙ เพื่อลบล้างความผิดที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐ (คตส.) ได้ตรวจสอบและชี้มูลความผิดของโจทก์และพวกพ้องไว้
การกล่าวปฏิญญาดังกล่าว เพื่อต้องการเตือนรัฐบาลนายสมัครไม่ให้เป็นหุ่นเชิดของโจทก์ เนื่องจากพฤติกรรมของโจทก์สมัยที่โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรี โจทก์ได้ใช้นโยบายประชานิยม เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง โดยหลอกลวงประชาชนว่า จะแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนให้หมดไปภายในหกปี แต่ปัจจุบันความยากจนก็ไม่ได้หมดไป แต่โจทก์กับพวกพ้องกับร่ำรวยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการร่ำรวยของโจทก์และพวกพ้อง ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้ยึด ทรัพย์ของโจทก์และพวกให้ตกเป็นของแผ่นดิน ฐานร่ำรวยผิดปกติ ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ล.๒๖ และถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก ๒ ปี ฐานกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ล.๑๑
การใช้นโยบายปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างแข็ง กร้าว จากการรายงานของวุฒิสภา ปรากฏว่ามีผู้ถึงแก่ความตายจากนโยบายดังกล่าวประมาณ ๒,๖๐๐ คน
มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและพวกพ้องของโจทก์ โดยประชาชนไม่สามารถเข้าซื้อหุ้นได้ เช่น การแปรรูป ปตท. ๘๐๐ ล้านหุ้น ราคาเริ่มต้นที่หุ้นละ ๓๕ บาท ใช้เวลาขายเพียง ๑ นาที หลังจากแปรรูปแล้วราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๐ บาท - ๓๐๐ บาท
ภายหลังที่โจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คตส.ได้ตรวจสอบพบการทุจริตของโจทก์และพวกพ้องหลายโครงการ ตามเอกสารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเอกสารหมาย ล.๑๒ คำว่าจำแลงแปลงกายเป็นหลายรูปแบบนั้นมีความหมายว่า ในขณะนั้นแม้โจทก์ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่โจทก์ได้สร้างเครือข่ายโดยนำพรรคพวกขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่านอร์มินีหรือตัวแทน และยังคงบริหารประเทศด้วยการนำนโยบายประชานิยมมาใช้เช่นเดียวกับโจทก์
ข้อนำสืบของจำเลยทั้ง ๖ แสดงให้เห็นว่า สมัยที่โจทก์ดำรงตำแหน่งนายกฯ โจทก์บริหารประเทศไม่โปร่งใส มีการทุจริตคอร์รัปชั่น มีออกแบบนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องทำให้โจทก์และพวกร่ำรวย ยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาอัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองริบทรัพย์สินของโจทก์กับพวกฐานร่ำรวยผิดปกติให้ตกเป็นของ แผ่นดิน และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์สินของโจทก์กับพวกแล้ว ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ล.๒๖ แม้โจทก์จะไม่ยอมรับคำพิพากษาดังกล่าวแต่ก็แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีพฤติกรรมบริหารประเทศส่อไปในทางไม่สุจริตจริง
สำหรับข้อความที่กล่าวหาโจทก์ว่า กดขี่ข่มเหง และเข่นฆ่าประชาชนนั้น สืบเนื่องจากนโยบายปราบปรามยาเสพติดของโจทก์ที่แข็งกร้าว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าวถึง ๒,๖๐๐ คน
ส่วนข้อความที่กล่าวหาโจทก์ว่า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ก็ปรากฏทางนำสืบของจำเลยทั้งหกว่า ภายหลังจากโจทก์พ้นจากตำแหน่งนายกฯ โจทก์ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนต่างประเทศหลายแขนงอย่างต่อเนื่องว่า "ตนเองเป็นภัยคุกคามชนชั้นสูง" และยังให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า "บรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย เชื่อถือในทุกอย่าง ยกเว้นประชาธิปไตย" ตามสำเนาข่าว นสพ.มติชน วันที่ ๒๔ ต.ค.๒๕๕๑ เอกสารหมาย ล.๘ พฤติกรรมของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์ไม่จงรักภักดีต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ยังแสดงออกอย่างต่อเนื่องว่าโจทก์ยังเกี่ยวข้องกับการ บริหารราชการแผ่นดินด้วยการสนับสนุนบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับตนเองขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี การตั้งรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการในระดับสูงด้วย พฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์ย่อมทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า โจทก์อยู่เบื้องหลังการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
จำเลยที่ ๑ - ๔ เป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกับโจทก์ และไม่เห็นด้วยกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ การที่จำเลยที่ ๑ - ๔ นำเอาจุดบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์มาวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะโจทก์เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีย่อมเป็นบุคคลสาธารณะ อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้เป็นการป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลอง ธรรมในฐานะประชาชนชาวไทย ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำหรือพฤติกรรมของรัฐบาลที่บริหารราชการแผ่นดินใน ขณะนั้น และเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ ๑ - ๔ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๒๙(๑)(๓) จึงพิพากษา ยกฟ้อง
คำพิพากษาหน้าที่ 2
คำพิพากษาหน้าที่ 3
คำพิพากษาหน้าที่ 4
คำพิพากษาหน้าที่ 5
คำพิพากษาหน้าที่ 6
คำพิพากษาหน้าที่ 7
คำพิพากษาหน้าที่ 8
คำพิพากษาหน้าที่ 9
คำพิพากษาหน้าที่ 10
คำพิพากษาหน้าที่ 11
คำพิพากษาหน้าที่ 12
คำพิพากษาหน้าที่ 13
คำพิพากษาหน้าที่ 14
คำพิพากษาหน้าที่ 15
คำพิพากษาหน้าที่ 16
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน