จากประชาชาติธุรกิจ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
วันนี้ (3 เม.ย.2556) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน แถลงข่าวผลการศึกษาโครงการ อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ : ผลกระทบ การประกันภัย และการชดเชยเยียวยา ร่วมแถลงข่าวโดย ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้ บริโภค โดยมีสาระสำคัญคือ
งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลกระทบของอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประสบอุบัติเหตุ รวมถึงญาติของผู้ประสบอุบัติเหตุ และกระบวนการชดเชยเยียวยาในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น
ผลการสำรวจผู้ประสบอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ
ผู้วิจัยและคณะได้สำรวจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประสบอุบัติเหตุรถโดยสาร สาธารณะในประเทศไทย จากการสัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุทั้งหมด 142 ตัวอย่าง ซึ่งมาจากรายชื่อกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับจากทางมูลนิธิเพื่อผู้ บริโภค (มพบ.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) รวมทั้งหมด 252 ตัวอย่าง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ผู้ประสบเหตุต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งในระหว่างและหลังออกจากโรงพยาบาล
ผู้ประสบอุบัติเหตุร้อยละ 54 ของทั้งหมด ใช้ระยะเวลารักษาพยาบาลมากกว่า 1 เดือน จึงสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
- จำนวนเงินชดเชยที่ได้รับอาจไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลจริง
ผู้ประสบเหตุที่ได้รับข้อมูลมาจาก มพบ. มีค่าเฉลี่ยของเงินชดเชยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของค่ารักษาพยาบาลที่เกิด ขึ้นอยู่ที่ ร้อยละ 60 ในขณะที่ฝั่ง บขส. นั้นคิดเป็นร้อยะ 93 ส่วนจำนวนเงินชดเชยเฉลี่ยที่ได้รับทั้งจากการชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่าสิน ไหมทดแทนของทาง มพบ. มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า บขส. และจำนวนเงินชดเชยทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บ เช่น การเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสและบาดเจ็บทั่วไป
- การเรียกร้องค่าเสียหายใช้ระยะเวลานาน
กลุ่มผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประสบเหตุจาก มพบ. ยุติคดีความจากการดำเนินการในชั้นศาล ในขณะที่กลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุจาก บขส. นั้น ส่วนใหญ่ยุติคดีความโดยไม่พึ่งศาล ในส่วนระยะเวลาในการไกล่เกลี่ย/เรียกร้องค่าเสียหายนั้น มีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 18-19 เดือน ทั้งนี้ มพบ. มีปัญหาด้านความล่าช้าในการพิสูจน์ถูกผิด ในขณะที่ทาง บขส. พบปัญหาในเรื่องการขาดความเข้าในสิทธิคุ้มครองและการต้องการจบปัญหาโดยเร็ว แม้จะไม่ได้รับความเป็นธรรม
นอกจากนี้ การฟ้องร้องต่อศาลมีผลทำให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่มากขึ้น โดยค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 120 ในกรณีสิ้นสุดที่กระบวนการไกล่เกลี่ย
- ข้อเสนอแนะจากผู้ประสบเหตุ
ข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้ประสบเหตุที่สำคัญคือเรื่องคนขับรถโดยสารสาธารณะ ที่ควรมีการขับขี่โดยไม่ประมาท มีการตรวจสอบประวัติคนขับรถและมีบทลงโทษผู้ขับขี่ รองลงมาเป็นเรื่องข้อกฏหมายในการควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะ การคาดเข็มขัดนิรภัย และวงเงินคุ้มครองการประกันภัย เรื่องถัดมาคือการมีบทลงโทษบริษัทรถโดยสารสาธารณะเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ ร่วม และสุดท้ายคือเรื่องการตรวจสอบสภาพรถโดยสาร ซึ่งเน้นด้านอายุการใช้งานและสภาพรถก่อนใช้งาน
การชดเชยเยียวยาต่อผู้ประสบอุบัติเหตุจากระบบประกันภัย
“จำนวนเงินชดเชยทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับอาการบาดเจ็บ เช่น การเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสและบาดเจ็บทั่วไป แต่วงเงินคุ้มครองเป็นวงเงินรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและชดเชยกรณีทุพพลภาพหรือ เสียชีวิต”
- ข้อเท็จจริงเรื่องวงเงินการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
สำหรับประเทศไทย การชดเชยเยียวยาผู้ประสบอุบัติเหตุจากการประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย นั้น สามารถแบ่งสิทธิการประกันภัยออกเป็น 2 ส่วนคือ สิทธิจากการประกันภัยพื้นฐานและสิทธิจากการประกันภัยเพิ่มเติม สำหรับสิทธิพื้นฐานนั้น สามารถแสดงได้ดังตารางที่ 1 นอกจากนั้น ผู้ประสบเหตุยังมีสิทธิพื้นฐานอื่นๆ เช่น สิทธิจากกองทุนประกันสังคมและสิทธิจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
สำหรับสิทธิจากการประกันภัยเพิ่มเติมประกอบด้วย สิทธิจากการที่รถยนต์ทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ การประกันภัยการบาดเจ็บเสียหายส่วนบุคคล การประกันชีวิต กองทุนคุ้มครองการทุพพลภาพ สวัสดิการจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งจากรัฐและเอกชน เป็นต้น
ตารางที่ 1: ค่าเสียหายเบื้องต้นและวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
รายการ |
บาดเจ็บ |
ทุพพลภาพ |
เสียชีวิต |
บาดเจ็บ-ทุพพลภาพ หรือ |
ค่าเสียหายเบื้องต้น |
15,000 บาท |
35,000 บาท |
ไม่เกิน 50,000 บาท |
|
วงเงินคุ้มครองผู้ประกันภัยเมื่อรวมค่าเสียหายเบื้องต้น |
||||
กรณีปัจจุบัน |
ไม่เกิน 50,000 บาท |
ไม่เกิน 200,000 บาท |
||
หมายเหตุ:ผู้ประสบเหตุมีสิทธิได้ค่าชดเชยรายวันสำหรับการพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล |
- วงเงินค่าเสียหายยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร
สำหรับการประกันภัยตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในประเทศไทยนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประสบเหตุที่เป็นบุคคลที่ 3 จะได้รับค่าเสียหายทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ดังตารางที่ 1 ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวต่ำกว่าวงเงินที่คณะกรรมาธิการสาธารณสุข (2550) เคยเสนอไว้ ทั้งนี้ ในด้านการใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลนั้นมีความเหมาะสมในด้านจำนวนเงินชดเชย สำหรับกรณีที่ผู้ประสบเหตุบาดเจ็บทั่วไป แต่ไม่เหมาะสมในกรณีที่อาการบาดเจ็บร้ายแรง เนื่องจากเมื่ออาการบาดเจ็บร้ายแรงยิ่งขึ้น ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงิน 50,000 บาท ที่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ภาคบังคับ ทำให้ได้รับการชดเชยที่ไม่เพียงพอ ส่วนค่าสินไหมทดแทนการขาดรายได้นั้น พบว่า จำนวนเงินที่ได้รับมีความเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดรายได้ที่ผู้ประสบเหตุระบุ และเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยและระยะเวลาที่ขาดรายได้
นอกจากนี้ วงเงินคุ้มครองที่เป็นความเสียหายต่อการบาดเจ็บต่อร่างกายของประเทศไทยค่อน ข้างต่ำและไม่มีวงเงินคุ้มครองสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สิน เมื่อเปรียบเทียบวงเงินดังกล่าวกับต่างประเทศ
- แนวทางที่เหมาะสมคือการปรับปรุงวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น
• ค่ารักษาพยาบาล • จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 150,000 บาท • ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ทุพลภาพ หรือเสียอวัยวะ • เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 400,000 บาท • สูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 240,000 บาท |
การเรียกร้องค่าเสียหาย
“ระยะเวลาในการไกล่เกลี่ย/เรียกร้องค่าเสียหายนั้น มีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 18-19 เดือน”
“ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 120 ในกรณีสิ้นสุดที่กระบวนการไกล่เกลี่ย”
- ระยะเวลาในการเรียกร้องค่าเสียหายค่อนข้างนานและไม่ทันการ
ระยะเวลาในการเรียกร้องค่าเสียหายในศาลนั้นใช้เวลานาน อันเนื่องมาจากข้อจำกัดสำหรับค่าเสียหายที่เป็นตัวเงินนั้นเป็นข้อจำกัด เกี่ยวกับกฎหมาย คือ กระบวนการพิจารณาคดีแพ่งของไทยเน้นระบบการกล่าวหามากกว่าการไต่สวน การที่ไม่สามารถระบุค่าเสียหายที่ไม่ได้เรียกร้องหรือสิทธิที่จะสามารถแก้ไข คำพิพากษาได้ภายใน 2 ปี และข้อจำกัดในการขาดหลักการหรือวิธีการคำนวณที่เหมาะสมในการกำหนดค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นแล้วและวิธีที่ศาลใช้ในการกำหนดค่าเสียหายในอนาคต ส่วนข้อจำกัดด้านการกำหนดค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินคือการที่กฎหมายไม่ได้ กำหนดให้สามารถเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินและการขาดหลักหรือวิธี การคำนวณที่เหมาะสม
สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางด้านการประกันภัย เพื่อยกระดับความปลอดภัย
ปัญหา |
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย |
1. การชดเชยค่ารักษาพยาบาลต้องรอพิสูจน์ถูกผิด |
ควรมีการเพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่คุ้มครอง และไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด |
2. การรวมวงเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาล |
ควรมีการแยกเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพออกจากค่ารักษาพยาบาล |
3. ระยะเวลาในการเรียกร้องค่าชดเชยใช้เวลานาน |
สร้างกลไกการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกให้ใช้เวลาสั้น |
4. การสร้างระบบการร่วมรับผิดของผู้ประกอบการที่เกิดอุบัติเหตุ |
สร้างระบบร่วมจ่ายระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้ประกอบการ(ทั้งผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตและร่วมบริการ) |
ผลวิจัยพบอุบัติเหตุจากรถโดยสารเพิ่ม
จาก โพสต์ทูเดย์
"ทีดีอาร์ไอ"เผยผลวิจัยพบอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะเพิ่ม จี้รัฐแก้กฎหมายคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เอาผิดผู้ประกอบการ
เมื่อวันที่ 3 เม.ย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ( ทีดีอาร์ไอ ) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนจัดแถลงผลการศึกษาโครงการอุบัติเหตุ รถโดยสารสาธารณะ:ผลกระทบ การประกันภัย และการชดเชยเยียวยา โดย นายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอ นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปภ.) และ นายประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมแถลงผลการศึกษา
นายสุเมธ กล่าวว่า ผลการศึกษาผู้ประสบอุบัติเหตุตามข้อมูลของ ศวปภ. พบว่า ปัจจุบันรถตู้โดยสารสาธารณะมีประมาณ 16,000 คัน ซึ่งมีรถตู้ผีที่มีป้ายขาวกว่า 8,000 คัน ทั้งนี้หากรถตู้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับสัมปะทานจะผลักภาระให้แก่คนขับรถตีนผีเหล่านี้
นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบว่า รถโดยสาธารณะประเภทรถตู้ จำนวนที่นั่ง 12-15 คน มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด โดยมีอัตราความเสี่ยงของผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต 3-4 ราย ซึ่งเป็นอัตราความเสี่ยงที่เท่ากับรถโดยสารสาธารณะประเภทรถบัส ที่มีจำนวนที่นั่ง 25-30 คน เนื่องจากลักษณะการขับขี่ที่ขาดมาตรฐาน ผู้ประกอบกาารหรือเจ้าของคิวรถสาธารณะมักให้ค่าจ้างคนขับโดยคำนวณจากจำนวน เที่ยวที่สามารถขับได้ ทำให้คนขับรถตู้โดยสารสาธารณะพยายามขับรถแข่งขันกับเวลาเพื่อทำจำนวนรอบให้ ได้มาก
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ประกอบการสามารถผลักภาระการชดใช้ค่าสินไหมไปยังบริษัทประกันภัย เพื่อลดภาระการชดเชยแทนผู้ประกอบการ ซึ่งกฎหมายกำหนดกรอบการค่าเสียหายเบื้องต้นและวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งถือเป็นค่าเสียหายที่ต่ำกว่าค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายจริงที่ ราคาประมาณ 90,000 บาท
ทั้งนี้ขอเสนอให้รัฐบาลแก้ไขเชิงนโยบาย ปรับค่าเสียหายเบื้องต้นจาก 50,000 บาท เป็น 150,000 บาท และวงเงินชดเชยปัจจุบัน 200,000 บาท หักค่ารักษาพยาบาล(ถ้ามี) เป็น 200,000 บาท ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล ทั้งควรดำเนินความผิดกับผู้ขับขี่รถสาธารณะอย่างจริงจังโดยใช้ข้อมูล จากกล้องวงจรปิด การขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด และการขับรถฝ่าไฟแดง โดยเสนอให้ดำเนิการยึดใบขับขี่สาธารณะขึ้น และควรหันมาเอาผิดกับผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการรถโดยสารสาธารณะด้วย
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน