จากประชาชาติธุรกิจ
เป็นข่าวครึกโครมในขณะนี้ เรื่องมีผู้พบเห็นและบันทึกภาพช้างที่มีลักษณะพิเศษ คล้ายเป็นช้างสำคัญ หรือช้างเผือกในป่าแก่งกระจาน ที่อาจจะมีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ เป็น "ช้างเผือก" ซึ่งต่อมาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้สั่งการให้จัดกำลังคนเข้าไปดูแลพื้นที่เพิ่มจำนวนกว่า 100 คน ด้วยเกรงว่าจะมีการลักลอบเข้ามาจับช้างดังกล่าว เพราะมีรายงานว่าช้างตัวนี้มีค่าตัวถึง 6 ล้านบาท นั้น ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทย และในอดีตคนไทยและช้างมีประวัติศาสตร์ผูกพันกันมายาวนาน ไทยเคยใช้ธงชาติที่มีรูปช้างอยู่บนธง เช่น ธงช้างเผือก ธงเกตุ ธงเรือหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ธงชัยเฉลิมพลกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1และ ยังเชื่อว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ ทั้งยังเป็นหนึ่งสัปตรัตนะแห่งราชา อันได้แก่ จักรรัตนะ (จักรแก้ว) หัตถีรัตนะ (ช้างแก้ว) อัศวรัตนะ (ม้าแก้ว) มณีรัตนะ (มณีแก้ว) อัตถีรัตนะ (นางแก้ว) คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว) และ ปรินายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว)
ตามตำราคชศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ได้แบ่งออกเป็น 2 ตำรา คือ
1.ตำราคชลักษณ์ กล่าวถึงรูปพรรณสัณฐานของช้าง ทั้งดีและชั่ว
2.ตำราคชกรรม เป็นตำราที่รวบรวมเวทมนตร์คาถา กระบวนการจับช้าง รักษาช้าง และการบำบัดเสนียดจัญไรต่าง ๆ ของช้าง
ตำราพระคชศาสตร์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์ได้เนรมิตดอกบัวให้เป็นโลก ทรงแบ่งกลีบ และเกสรบัวดอกนั้น ออกเป็น 4 ส่วนนำไปถวายพระพรหม พระอิศวร พระวิษณุและพระอัคนี มหาเทพทั้ง 4 ทรงเนรมิตช้างจากกลีบ และเกสรบัว ที่พระนารายณ์ประทาน โดยสามารถแบ่งช้างมงคลเป็น 4 ตระกูล ตามนามแห่งเทพผู้ให้กำเนิด คือ
1.ช้างตระกูลพรหมพงศ์ พระพรหมเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่างๆ คือ ช้างที่พระอิศวรสร้างเป็นวรรณะกษัตริย์ ลักษณะหนังเนื้อดำสนิท ผิวพรรณละเอียดเกลี้ยง หน้าใหญ่ โขมดสูง น้ำเต้ากลม งวงเรียวแลดูเป็นต้น และปลายงา ทั้งสองใหญ่งอนขึ้นอยู่เสมอกัน ปากรีแหลมรูป เป็นพวยหอยสังข์ คอกลมเมื่อเดินยกเป็นสง่า หน้าสูงกว่าท้าย ทรวงอกผึ่งผายใหญ่กว้างแสดงกำลัง ท้ายเป็นสุกร หลังเป็นคันธนู ขนดท้องตามวงหลัง ขาหน้าทั้งสองอ่อนประหนึ่ง แขนเท้า เท้าและข้อเท้าหน้าหลังเรียวรัดดังฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาแลเห็นเป็น 2 ชั้น ขมับเต็มไม่พร่อง หูใหญ่ ช่อม่วงข้างขวายาว ใบหูอ่อนนุ่มมีขนขึ้นมากกว่าข้างซ้าย
2.ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ พระอิศวรเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะมีความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจ คือ ช้างที่พระพรหมสร้าง เป็นวรรณะพราหมณ์ ลักษณะเนื้อหนังอ่อน ขนอ่อนละเอียด เส้นเรียบ หน้าใหญ่ท้ายต่ำน้ำเต้าแฝด ขนงคิ้วสูง โขมดสูง มีกระทั่วตัวดังดอกกรรณิการ์ ขนหลัง ขนหู ขนปาก และ ขนตายาว ขุมหนึ่งขึ้น 2 เส้น อกใหญ่ งวงเรียวรัด งาใหญ่ ปลายและต้นสมส่วน งาสีดอกจำปา
3.ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ พระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะแก่ศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหารธัญญาหารจะบริบูรณ์ คือ ช้างที่พระนารายณ์สร้าง เป็นวรรณะแพศย์ ลักษณะผิวเนื้อหนังหนา ขนเกรียน ทรวงอก คอ และสีข้าง เท้าทั้งสี่ใหญ่ได้ขนาด หาง งวง และหน้ายาวใหญ่อย่างประหลาด มีกระที่หูแดง ประไปสม่ำเสมอกัน ตาใหญ่ขุ่น หลังราบ
4.ช้างตระกูลอัคนีพงศ์ พระอัคนีเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีบ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหารและมีผลในทางระงับศึก อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ทั้งมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวง อันเกิดแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์ คือ ช้างที่พระเพลิงสร้าง เป็นวรรณะศูทร ลักษณะผิวเนื้อแข็งกระด้าง ขนหยาบ หน้าเป็นกระแดงดั่งแววมยุรา งาแดง หลังแดง หน้างวงแดง ผิวเนื้อหม่นไม่ดำสนิท ตะเกียบหูห่าง หางเขิน ตาสีน้ำผึ้ง
สำหรับความหมายของช้างที่มีลักษณะพิเศษนั้น พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้กำหนดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ 3 ชนิด ตามมาตรา 4 ระบุไว้ว่า
"ช้างสำคัญ" มีคชลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่
ตาขาว
เพดานขาว
"ช้างสีประหลาด" คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่างที่กำหนดไว้ในคชลักษณะของช้างสำคัญ
"ช้างเนียม" มีลักษณะ 3 ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บดำ
ตามพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 นั้นไม่มีชนิดใดเรียกว่าช้างเผือก แต่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกับคำว่า "ช้างเผือก" นอกจากนี้ยังต้องคอยดูกิริยา มารยาทของช้างประกอบด้วย เพราะปกติแล้ว ช้างเผือก มักแสดงอาการบางอย่าง ที่ผิดกับช้างเชือกอื่นๆ อุจจาระของช้างเผือกจะมีกลิ่นหอม เพราะเลือกกินอาหาร
เล็บขาว
ขนขาว
เมื่อผู้เชี่ยวชาญในการดูลักษณะช้างได้ตรวจสอบตามตำราจนครบถ้วนแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดที่ได้ช้าง หรือนำมาสมโภชขึ้นระวางที่กรุงเทพฯ ก็ตามแต่พระราชประสงค์
พื้นหนังขาว
ขนหางขาว
ก่อนประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง พระหมอเฒ่าหรือผู้ชำนาญการดูแลช้างจะทำพิธีจับเชิง เป็นการฝึกและสอนช้างให้รู้จักหมอบ รู้จักจบ (ทำความเคารพ) ฝึกให้ยืนบนแท่นเสาตะลุง เบญพาดพร้อมด้วยเครื่องผูกมัด เพื่อให้ยืนโรงในพระราชพิธี เหตุที่ต้องทำพิธีจับเชิงก็เพราะช้างเผือกหรือช้างสำคัญที่ได้มานั้นจะเป็นช้างป่า หรือช้างบ้านก็ตาม ไม่เคยถูกผูกมัดและยืนในโรงช้าง
อัณฑโกสขาว
ที่มา วิกิพีเดีย และ เว็บไซต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน