จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เขียนบทความฉะผู้พิพากษาศาลโลก “อับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ” ชาวโซมาเลีย ร้องขอให้ไทยและเขมรชี้อาณาเขตบริเวณรอบปราสาท อาจเป็นเกมล็อบบี้เขมรให้ไทยเสียดินแดน แฉเคยเป็นนักกฎหมายอาวุโสของยูเนสโกส่อ ชี้ช่องขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรแต่เพียงฝ่ายเดียว ร้องขอให้รัฐบาลทบทวน เชื่อคณะผู้แทนไทยไม่ทราบ
วันนี้ (25 เม.ย.) เว็บไซต์แนวหน้าออนไลน์ ได้ตีพิมพ์บทความของนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอดีตหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกฝ่ายรัฐบาลไทย ในหัวข้อ “ผู้พิพากษาศาลโลก ชาวโซมาเลีย เป็นใคร? จะทำให้ไทยเสียดินแดน” ระบุว่า การแถลงคดีด้วยวาจา กรณีคำร้องขอให้ศาลตีความคดีปราสาทพระวิหาร ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือไอซีเจ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในช่วงที่ผ่านมานั้น นายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ชาวโซมาเลีย ได้ขอให้ไทยและกัมพูชาชี้ให้ชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณรอบปราสาทมีอาณาเขตแค่ ไหนอย่างไรแล้วรีบเสนอด่วนที่สุดนั้น เป็นการเร่งรัดเกินเหตุอาจทำให้การดำเนินการไม่รอบคอบ แต่ก็เป็นการตั้งใจที่จะวางกับดักและจะใช้ข้อมูลนี้ในการลอบบี้ผู้พิพากษา ด้วยกัน
ทั้งนี้ นายอับดุลกาวีเคยเป็นนักกฎหมายอาวุโสของศูนย์มรดกโลกและยูเนสโก น่าจะมีบทบาทสำคัญในการแนะนำชี้ช่องทางและช่วยเหลือกัมพูชาในการผลักดันให้ เกิดการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวโดยไม่ชอบ ที่ผ่านมาพูดโดยเปิดเผยอยู่เสมอว่าไทยไม่ได้สนับสนุนและต่อต้านเขา ซึ่งประเด็นการขอสอบถามพิ้นที่อาณาเขตบริเวณรอบปราสาทเป็นตัวชี้ว่าเราอาจ ต้องเสียดินแดนให้กัมพูชา ซึ่งอาจใช้ประเด็นนี้ช่วยกัมพูชาลอบบี้ผู้พิพากษาคนอื่น ในฐานะผู้ที่รู้เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ว่าศาลโลกจะไม่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องเขตแดนแต่อาจตัดสินว่า บริเวณรอบตัวปราสาทที่ไทยเสนอไปเป็นอาณาเขตของตัวปราสาทตามคำพิพากษาของศาล โลก โดยไม่ต้องกล่าวถึงเขตแดนซึ่งศาลโลกไม่มีอำนาจในการชี้ขาด
“หากดูจากข่าวที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้เส้นตามมติครม.ปี 2505 เพื่อกำหนดขอบเขตบริเวณโดยรอบตัวปราสาทเพื่อแจ้งไปยังศาลโลก ก็น่าเป็นห่วงเพราะเส้นที่กำหนดไว้นั้นเป็นเรื่องของไทยเองเพื่อการปฏิบัติ การไม่ใช้เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับเขมรและยังกินบริเวณออกมาจากตัวปราสาท มากกว่าคำพิพากษาของศาลโลกที่ให้เฉพาะตัวปราสาทเป็นของเขมร หากเป็นเช่นนั้นการมีมติครม.ดังกล่าวเสี่ยงต่อการตีความว่าครม.ไม่มีอำนาจ ตัดสินใจหรือมีมติใดใดเพราะมติเรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อเขตแดนและอำนาจ อธิปไตย ทางที่ดีที่สุดควรจะแจ้งศาลโลกไปว่า vicinity ของเขมรมีเพียงตัวปราสาทตามคำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น” นายสุวิทย์ ระบุ
นายสุวิทย์ยังกล่าวถึงที่มาที่ไปของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ว่าตั้งตามกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ ผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ ดังนั้นจึงเป็นศาลการเมืองไม่ใช่ศาลยุติธรรมเพราะการเลือกตั้งต้องมีการหา เสียงสนับสนุนมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์มีการลอบบี้อย่างรุนแรง ถ้าจะคาดหวังว่าศาลโลกจะมีความยุติธรรมเหมือนศาลยุติธรรมในความเข้าใจก็ไม่ น่าจะใช่ เมื่อผู้พิพากษามาจากการลอบบี้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การพิจารณาคดีก็คงไม่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนเชื่อว่าคณะผู้แทนไทยคงไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับนายอับดุลกาวี และขอให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับบทความที่นายสุวิทย์เขียน มีดังต่อไปนี้
ผู้พิพากษาศาลโลก ชาวโซมาเลีย เป็นใคร? จะทำให้ไทยเสียดินแดน
ในการแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลกเมื่อ อาทิตย์ที่แล้ว ผู้พิพากษาที่ชื่อนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ชาวโซมาเลีย ได้ขอให้ไทยและเขมรชี้ให้ชัดเจนว่าพื้นที่บริเวณรอบปราสาท(vicinity)มี อาณาเขตแค่ไหนอย่างไรแล้วรีบเสนอด่วนที่สุดภายในวันศุกร์นี้โบราณบอก ว่า”ต้องรู้เขารู้เรา จึงจะรบชนะ”
เริ่มตั้งแต่ศาลโลกหรือชื่อเต็มคือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(International Court of Justice)ซึ่งคำว่าศาลยุติธรรมทำให้เราเข้าใจว่าน่าจะเป็นศาลยุติธรรมแบบศาล ยุติธรรมของเรา แต่ไม่ใช้เพราะศาลโลกตั้งตามกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ(UN)เป็นศาลที่ผู้ พิพากษามาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ(General Assembly) ดังนั้นจึงเป็นศาลการเมืองไม่ใช่ศาลยุติธรรมเพราะการเลือกตั้งต้องมีการหา เสียงสนับสนุนมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์มีการลอบบี้อย่างรุนแรง ดังนั้นถ้าเราจะคาดหวังว่าศาลโลกจะมีความยุติธรรมเหมือนศาลยุติธรรมในความ เข้าใจก็ไม่น่าจะใช่ เมื่อผู้พิพากษามาจากการลอบบี้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การพิจารณาคดีก็คงไม่แตกต่างกัน
เรื่องการลอบบี้ระหว่างประเทศเขมรมี ความสามารถพิเศษตั้งแต่ยุคสงครามเย็นและสงครามกลางเมืองภายในประเทศเขมร รัฐบาลเขมรชุดนี้ทำงานนี้อย่างต่อเนื่องโดยคนชุดเดียวกันมานานถึง ๖๐ปีต่างจากไทยที่เปลี่ยนคนทำงานเป็นประจำทำให้ขาดความต่อเนื่อง เพราะความต่อเนื่องจึงทำให้เขมรทำจนประสบความสำเร็จ ทำให้นานาชาติรวมทั้งไทยได้เข้าไปช่วยเหลือจนรวมเขมรสามฝ่ายและยุติสงคราม กลางเมืองได้ นอกจากนั้นยังลอบบี้เอาความช่วยเหลือจากนานาประเทศมาพัฒนาประเทศจนจะล้ำหน้า ไทยแล้ว
คำถามคือเราได้ลอบบี้บางหรือไม่ ได้ศึกษาที่มาที่ไปแนวทางความคิดของผู้พิพากษาหรือเปล่า เพราะเขมรต้องศึกษาความเป็นไปได้ในเรื่องการนำคดีเขาพระวิหารขึ้นสู่ศาลโลก มานานและลอบบี้จนมีความมั่นใจว่าจะชนะคดีได้จึงได้ฟ้องไทย ที่มั่นใจว่าเขมรทำเช่นนี้เพราะเห็นการทำงานของทีมงานเขมรในการต่อสู้ กรณีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่เขาได้ปูพื้นมานานก่อนที่จะลอบบี้จนสามารถขึ้น ทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าไทยจะคัดค้านเพราะการขึ้นทะเบียนไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่ได้ดำเนินการ ให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขกฎกติกาและวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบกติกา กฎหมายและข้อมติต่างๆ ภายใต้อนุสัญญามรดกโลก ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นให้สามารถทำได้แต่เขมรก็ยังลอบบี้จนผ่านไปแบบไม่ถูกต้อง ได้ แล้วทำไมกรณีศาลโลกเขมรจะทำอีกไม่ได้เหมือนเช่นในอดีตที่ไทยต้องสูญเสีย ปราสาทพระวิหารไปทั้งที่ทางขึ้นปราสาทก็ขึ้นได้จากทางไทยเท่านั้นทางเขมร ต้องปีนหน้าผาขึ้นมา แต่ศาลโลกยังตัดสินให้เป็นของเขมร จนเราเคยประกาศว่าเราไม่ยอนรับอำนาจศาลโลก แล้วครั้งนี้คนไทยจะรอให้ศาลการเมืองโลกตัดสินแบบเดิมเสียก่อน แล้วมาร้องไห้เสียใจที่จะต้องเสียอำนาจอธิปไตยและดินแดนไทยให้เขมรเพิ่มเติม อีกครั้งหรืออย่างไร
ที่สำคัญเมื่อรู้ว่า ผู้พิพากษาศาลโลกมาจากการเมืองระหว่างประเทศ มีการลอบบี้จนได้รับเลือกตั้งมา เพราะฉะนั้น ผู้พิพากษาจะมีความยุติธรรมจริงหรือไม่ กรณีนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ชาวโซมาเลีย ผู้พิพากษาที่ได้ขอให้ไทยและเขมรส่งรายละเอียดพื้นที่รอบตัว ปราสาท(VICINITY)ให้ภายในวันศุกร์นั้น จริงแล้วก็เป็นการเร่งรัดเกินเหตุอาจทำให้การดำเนินการไม่รอบคอบแต่ก็เป็น ความตั้งใจของนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบที่จะวางกับดักและจะใช้ข้อมูลนี้ในการลอบบี้ผู้พิพากษาด้วยกัน เพราะหากรู้จักนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ชาวโซมาเลีย ก็จะรู้ที่มาของคำถามนี้
จากการที่ได้ไปประชุมและต่อสู้กับ เขมรกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหลายครั้งรวมทั้งการลอบบี้ ประสานงานหาเสียงและหาข้อมูล จึงได้ทราบว่านายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ เคยเป็นนักกฎหมายอาวุโสของศูนย์มรดกโลกและยูเนสโก ซึ่งน่าจะมีบทบาทสำคัญในการแนะนำชี้ช่องทางและช่วยเหลือเขมรในการผลักดันให้ เกิดการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวโดยไม่ชอบ ก่อนได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับเลือกตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลโลก หลังจากได้รับเลือกตั้งแล้วก็พูดโดยเปิดเผยอยู่เสมอว่าไทยไม่ได้สนับสนุนและ ต่อต้านเขา(your country against me) จะเห็นได้ว่าผู้พิพากษาท่านอื่นไม่มีใครถามหรือขอให้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเลย มีเพียงคนเดียวเท่านั้นคือนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ประเด็นที่เขาถามก็เป็นประเด็นสำคัญเพราะคำว่า vicinity หรือ บริเวณรอบตัวปราสาท ที่ราจะต้องแจ้งเขาไปภายในวันศุกร์นี้ จะเป็นตัวชี้ว่าเราอาจต้องเสียดินแดนให้เขมร หากดูจากข่าวที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้เส้นตามมติครม.ปี ๒๕๐๕ เพื่อกำหนดขอบเขตบริเวณโดยรอบตัวปราสาทเพื่อแจ้งไปยังศาลโลก ก็น่าเป็นห่วงเพราะเส้นที่กำหนดไว้นั้นเป็นเรื่องของไทยเองเพื่อการปฏิบัติ การไม่ใช้เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับเขมรและยังกินบริเวณออกมาจากตัวปราสาท มากกว่าคำพิพากษาของศาลโลกที่ให้เฉพาะตัวปราสาทเป็นของเขมร หากเป็นเช่นนั้นการมีมติครม.ดังกล่าวเสี่ยงต่อการตีความว่าครม.ไม่มีอำนาจ ตัดสินใจหรือมีมติใดใดเพราะมติเรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อเขตแดนและอำนาจ อธิปไตย ทางที่ดีที่สุดควรจะแจ้งศาลโลกไปว่า vicinity ของเขมรมีเพียงตัวปราสาทตามคำพิพากษาของศาลโลกเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อรู้จักนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ แล้ว การที่นายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ รับลูกเรื่องพื้นที่บริเวณรอบตัวปราสาทจากเขมรนั้นน่าจะชัดเจนว่านายอับดุล กาวี อาเหม็ด ยูซุบ อาจใช้ประเด็นนี้ช่วยเขมรลอบบี้ผู้พิพากษาท่านอื่นในฐานะผู้ที่รู้เรื่องการ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นอย่างดี เพราะถึงแม้ว่าศาลโลกจะไม่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องเขตแดนแต่อาจตัดสินว่า vicinity หรือบริเวณรอบตัวปราสาทที่ไทยเสนอไปเป็นอาณาเขตของตัวปราสาทตามคำพิพากษาของ ศาลโลก โดยไม่ต้องกล่าวถึงเขตแดนซึ่งศาลโลกไม่มีอำนาจในการชี้ขาด
เชื่อว่าคนไทยทุกคนเป็นห่วงเรื่องนี้ และไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ศาลโลกเคยตัดสินยกปราสาทพระวิหารโดย หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงเรื่องเขตแดนแต่ใช้กฎหมายปิดปากแทนและในคราวนี้ก็อาจ เป็นเช่นเดียวกันที่ศาลโลกอาจใช้วิธีการเดียวกันในการตัดสินโดยอ้างข้อมูล เรื่องพื้นที่รอบบริเวณปราสาท หรือ vicinity ที่ไทยแจ้งไป ในการตัดสินจนทำให้ไทยต้องเสียดินแดนอีกครั้งหนึ่ง
เชื่อว่าคณะผู้แทนไทยคงไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับนายอับดุลกาวี อาเหม็ด ยูซุบ ชาวโซมาเลีย ผู้พิพากษาคนนี้
ขอให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่งเพราะที่ทำมาก็น่าชมเชยอยู่แล้ว
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน