จากประชาชาติธุรกิจ
ในที่สุดสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกประเทศหนึ่งในยุโรปที่แก้ไขกฎการสืบราชสันตติวงศ์ให้หญิงเท่าเทียมชาย
หลัง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติผ่านความเห็นชอบในร่างแก้ไขกฎหมาย และส่งต่อให้สภาขุนนางลงความเห็นชอบ ก่อนจะทูลเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบธที่ 2 ทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นขั้นตอนสุดท้าย
รัฐบาลอังกฤษและอีก 15 ประเทศในเครือจักรภพ เห็นพ้องกันว่าต้องปรับเปลี่ยนกฎการสืบราชสันตติวงศ์เก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ที่เดิมเคยให้สิทธิ์ผู้ชายในการขึ้นครองราชย์ก่อนนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพ สังคมปัจจุบัน
โดยเฉพาะเมื่อควีนอลิซาเบธที่ 2 ทรงแสดงให้เห็นว่าสตรีดำรงตำแหน่งประมุขแห่งสหราชอาณาจักรได้และได้ดีเยี่ยม
ร่าง แก้ไขกฎการสืบราชสันตติวงศ์ที่เพิ่งผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาอังกฤษนั้น ให้สิทธิ์มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีขึ้นครองราชย์ได้เท่าเทียมกัน
จาก เดิมที่มกุฎราชกุมารีจะทรงขึ้นครองราชย์ได้ก็ต่อเมื่อในช่วงนั้นไร้มกุฎราช กุมาร ดังเช่นกรณีการขึ้นครองราชย์ของพระนางเจ้าวิกตอเรีย ควีนอลิซาเบธที่ 1 และที่ 2
"ผมรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่ง ของรัฐสภาอังกฤษ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นยุคแห่งการยุติการแบ่งแยกทางเพศและศาสนา" นายนิก เคล็ก รองนายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าว
ข่าวดีนี้มาในช่วงที่แคตเธอรีน ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม เสด็จงานการกุศลหลายงานในชุดคลุมท้อง พระพักตร์อิ่มเอิบ จนทำให้หลายๆ คนคาดเดากันว่าจะมีประสูติกาลพระธิดา
หากเป็นตามนี้จริง ก็มีแนวโน้มที่พระธิดาของเจ้าชายวิลเลียมและดัชเชสเคตจะได้สืบสันตติวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีของอังกฤษ เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ
ก่อน หน้านี้ สภาเมืองผู้ดีเพิ่งแก้ไขกฎการสืบราชสันตติวงศ์ในข้อห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ แต่งงานกับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอย่างเด็ดขาด เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมเดิมของราชวงศ์ไว้
1.เสด็จโรงเรียนที่แมนเชสเตอร์ 2.ที่เนชั่นแนล พอร์เทรต แกลเลอรี่ 3.-4.เสด็จพร้อมเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ 5.ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ 6.ทรงทักทายลูกเสือที่วินด์เซอร์ |
การแก้ไขทำให้ปัจจุบันพระบรมวงศานุวงศ์ปัจจุบันสามารถ เสกสมรสกับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยดำรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์
ขณะเดียวกันประเทศใน เครือจักรภพรวมถึงแคนาดายังเล็งเห็นความสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน เพื่อจะสร้างและต่อขยายความเท่าเทียมทางเพศให้มากขึ้น ตามอย่างประเทศออสเตรเลียที่นำร่องเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อความเสมอภาคทางเพศ ไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม 2554
จากผลสำรวจของนิตยสารในปัจจุบันพบว่า ช่องว่างทางอัตรารายได้พื้นฐานระหว่างชายและหญิงชาวอังกฤษยังแตกต่างกันอยู่ พอสมควร ผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสังคมอังกฤษต้องการ การเปิดกว้างมากขึ้นในการยอมรับความเท่าเทียมกันทางเพศ
เมื่อมองถึงการเปลี่ยนแปลงในกฎการสืบราชสันตติวงศ์ครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมอังกฤษเลยก็ว่าได้
เพราะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแสดงถึงค่านิยมเก่าแก่ที่จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบันให้ได้
แน่ นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้หญิงอาจจะได้แสดงความสามารถเต็มที่ เพราะการยอมรับทางสังคมไม่เพียงแต่สร้างความเชื่อมั่นให้พวกเธอเท่านั้น แต่ยังดึงศักยภาพต่างๆ ที่พวกอาจถูกมองข้ามในอดีตมาสร้างสรรค์สังคมท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์
เพราะ การ "ไม่ได้ทำ" ไม่ได้หมายความว่า "ทำไม่ได้" แม้โอกาสเป็นเพียงปัจจัยเสริมก้าวแรก แต่การยอมรับความแตกต่างและความเชื่อมั่นในความสามารถของทุกคนอย่างเท่า เทียมกันนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคม ที่สร้างโดยใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ หากแต่คนในสังคมต้องช่วยกัน
ที่มา : นสพ.ข่าวสด
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน