จากประชาชาติธุรกิจ
โดย สุชาติ ธนฐิติพันธ์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
เป็น ที่ชัดเจนว่ากระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยในขณะนี้ เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐและญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่ามาตรการเหล่านี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
โดยใน ส่วนของประเทศสหรัฐ Fed พร้อมจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวหากตัวเลขการจ้างงานรวมถึงดัชนีชี้วัดอื่น ๆ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งนักลงทุนในตลาดรวมถึงนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2556-2557
ขณะที่มาตรการอัดฉีดของประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือน เม.ย. 2556 มีกำหนดการที่จะสิ้นสุดลงในอีก 2 ปีข้างหน้า
ดัง นั้น หากภาวะพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ แล้ว คาดว่าในช่วงระยะเวลาอย่างน้อยอีก 1 ปีนับจากนี้ไป ประเทศไทยจะยังต้องเผชิญกับสถานการณ์เงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการเข้ามาลงทุนทางตรง (FDI) และการเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน (Portfolio Investment) ซึ่งจะมีผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ใน สถานการณ์เช่นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง จำเป็นต้องร่วมมือกันทั้งในเชิงนโยบาย และออกมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม โดยปัจจุบันข้อถกเถียง
ระหว่างความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของ การปรับลดดอกเบี้ย ได้กลายมาเป็นประเด็นที่สร้างความสับสนและลดความมั่นใจของนักลงทุนในตลาด ทั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (RP 1 Day) จะสามารถช่วยชะลอการไหลเข้าของกระแสเงินทุนได้หรือไม่นั้น อาจแยกวิเคราะห์ได้เป็น 4 เหตุผลดังนี้
1.ดอกเบี้ยนโยบายของไทย ถือเป็นดอกเบี้ยระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินในระยะเวลา 1 วัน (RP 1 Day) และสถิติที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแสดงให้เห็นว่า การปรับลด RP อาจจะทำให้ผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับตัวลดลงตามไปด้วย แต่ไม่ได้ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวลดลงด้วยเสมอไป (ลดลงในบางครั้ง) ขณะที่กระแสเงินที่เข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเข้าซื้อในพันธบัตรระยะยาวเป็นหลัก การปรับลด RP อาจจะไม่ช่วยลดความน่าดึงดูดใจต่อการเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ได้มากเท่า ที่ควร
2.อย่างไรก็ตาม หากการลด RP มีผลทำให้ Yield ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับตัวลดลงตามไปด้วยแล้ว จะกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตราสารหนี้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากราคาของตราสารหนี้ระยะยาวที่ถือครองอยู่ใน ช่วงก่อนหน้านี้จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (ถ้า Yield ปรับตัวลดลง) กำไรที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงสั้น ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดแรงขายและเกิดการไหลออกของเงินทุน และอาจนำไปสู่ความผันผวนของค่าเงินได้ในที่สุด
3.นอกจากนี้แล้ว RP ยังเป็นดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินในประเทศใช้อ้างอิงในการกำหนดดอกเบี้ยเงิน ฝาก-เงินกู้ การลด RP จะมีผลทำให้ผู้ฝากเงินนำเงินออกไปใช้จ่ายหรือไปลงทุนในช่องทางอื่น ๆ มากขึ้น
(เพราะฝากเงินแล้วได้ผลตอบแทนต่ำ) ขณะที่ผู้ต้องการเงินจะกู้ยืมมากขึ้น (เพราะต้นทุนของการกู้เงินถูกลง) ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการต่างก็พึ่งพิงสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็น หลัก
4.ท้ายที่สุดแล้ว หากมีความจำเป็นต้องปรับลด RP จริง จะต้องปรับลดเท่าไรจึงจะช่วยชะลอการไหลเข้าของกระแสเงินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนต่างของผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรไทย เทียบ กับการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐและญี่ปุ่น มีค่าอยู่ในช่วงประมาณ 2-2.5% ขณะที่ RP ของไทยอยู่ที่ 2.75% การปรับลด RP เพียง 0.25-0.5% อาจไม่ช่วยชะลอการไหลเข้าของกระแสเงินทุนได้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้แล้วดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปัจจุบันถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
การ ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการไหลเข้าของกระแสเงินทุนจึงเป็นประเด็นที่ต้อง พิจารณาถึงความเหมาะสมในแง่ของประสิทธิภาพ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาอย่างถี่ถ้วน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน