จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา
ตกอยู่ในอาการระส่ำระสายหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน เมื่อ ชาร์ลส อีแวนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก ออกมาส่งสัญญาณเป็นนัยว่า เฟด อาจจะยุติการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) รอบล่าสุดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยมีแววว่าอาจจะหยุดใช้คิวอีทันทีภายในฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงประมาณเดือน ต.ค.นี้
เห็นได้จากปฏิกิริยาตอบสนองในตลาดพันธบัตรสหรัฐเพียงไม่กี่ชั่วโมงภาย หลังจากที่อีแวนซ์แสดงความเห็นออกมา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับเกือบสูงที่สุดในรอบ 2 เดือน หรืออยู่ที่ 1.972%
และกลายเป็นคำถามสำคัญที่นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจทั่วโลกต่างหันมาจับตามองสถานการณ์และทีท่าของ เฟดอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถคาดเดาคาดการณ์แนวโน้มการตัดสินใจของเฟดที่พอ จะเป็นไปได้และใกล้เคียงมากที่สุด
ระหว่างการที่เฟดจะคงการใช้นโยบายคิวอีต่อไปกับการเลือกยุติการใช้นโยบายดังกล่าวตามที่ผู้ว่าการเฟดสาขาชิคาโกส่งสัญญาณมา
ต้องยอมรับว่า เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบันที่ฟื้นตัวได้ดีเกิน คาด ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการว่างงานที่ลดลงเหลือระดับ 7.5% หรือต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี หรือการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่าอยู่ที่ 2.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 2.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ที่อยู่ที่เพียง 0.4% และการลงทุนในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น 12.6% และปริมาณการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น 3.2%
เรียกได้ว่า สถานการณ์ค่อนข้างเป็นใจให้เฟดสามารถยุติมาตรการคิวอี 3 ที่รวมถึงการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลและตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุน หลัง (เอ็มบีเอส) รวมเดือนละ 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามที่ได้เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะใช้มาตรการดังกล่าวจนกว่าตัวเลขการว่างงานจะลด ลงมาอยู่ที่ระดับ 6.5%
สำหรับสาเหตุที่ต้องลดหรือเลิกคิวอีเป็นเพราะคณะกรรมการเฟดหลายราย รวมถึงริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้ว่าการเฟดประจำดัลลัสเห็นว่า ขณะที่มาตรการคิวอี3 ช่วยให้ตลาดหุ้นคึกคัก และเสริมให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภค และบริษัทเกิดสภาพคล่อง แต่ผลลัพธ์ที่มีต่อการจ้างงานและการฟื้นของเศรษฐกิจในวงกว้างยังไม่ชัดเจน เท่ากับผลเสียของการใช้มาตรการคิวอีที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐแบกรับภาระหนี้มาก ขึ้น และเสี่ยงกับภาวะเงินเฟ้อซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เศรษฐกิจแดนลุงแซมในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสความเห็นที่ออกมาจากบรรดาคณะกรรมการเฟดจะชี้ให้เห็นว่าสนับสนุนการ เลิกใช้สารพัดนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณต่างๆ เพื่อไม่ให้เฟดต้องรับภาระหนักหนาสาหัสเกินไป แต่นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่งยังคงเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐยังไม่น่าจะเลือกแนวทางดังกล่าวในขณะนี้ หรือภายในปีนี้อย่างแน่นอน และตัวเลขการจ้างงานก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวตัดสินให้เฟดยก เลิกคิวอี 3 ในเมื่อสหรัฐยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคำนึงอย่างเรื่องการขาดดุลงบประมาณ และผลตอบแทนในตลาดพันธบัตร
ทั้งนี้ แม้รายงานจากสำนักงบประมาณสภาคองเกรส (ซีบีโอ) แสดงให้เห็นว่าการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐลดลงมาอยู่ที่ 6.42 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเป็นเพียงแค่ 4% ของจีดีพี แต่การลดลงดังกล่าวเป็นผลจากมาตรการซีเควสเตรชั่นมูลค่า 8.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.46 ล้านล้านบาท) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่รวมถึงการตัดลดรายจ่ายของภาครัฐและการขึ้นภาษี มากกว่าจะเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
บรรดานักวิเคราะห์จากดีบีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ รวมถึง เดวิด คาร์บอน ในสิงคโปร์ อธิบายว่า มาตรการดังกล่าวมีแนวโน้มจะกลายเป็นสาเหตุที่ฉุดรั้งการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของสหรัฐในอนาคต เนื่องจากภาครัฐลดการใช้จ่าย โดยงบประมาณของรัฐบาลประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในไตรมาสแรกตัดลดลงไปแล้ว 8.4% ซึ่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐโดนตัดงบประมาณมากที่สุด โดยรัฐบาลสหรัฐหั่นไปแล้ว 11.5%
ด้าน มูดี้ อินเวสเตอร์ แจกแจงว่าสหรัฐไม่อาจอาศัยมาตรการรัดเข็มขัดแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจได้ และการที่สหรัฐจะเติบโตได้ สหรัฐจะต้องหันมาปรับขยายเพดานหนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายที่จะทำให้ เศรษฐกิจขยับขับเคลื่อนไปข้างหน้าอีกครั้ง
ไม่เช่นนั้น สหรัฐอเมริกาอาจต้องเผชิญกับการโดนหั่นลดอันดับสถานะความน่าเชื่อถือทาง เศรษฐกิจของตนเอง เมื่อไม่อาจแสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืนได้
ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเมื่อตลาดพันธบัตรเกี่ยวข้องกับความ สามารถในการระดมทุนของธุรกิจองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น ปัจจัยใดก็ตามที่จะกระเทือนความเชื่อมั่นจนทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูง ขึ้นกลายเป็นภาระในการกู้ยืม ย่อมกระทบต่อการบริหารจัดการขององค์กร จนส่งผลต่อการจ้างงานในที่สุด
ร็อบเบิร์ต แวน บาเต็นเบิร์ก ผู้อำนวยการกลยุทธ์การตลาดจากบริษัท นิวเอ็ดจ์ แอลแอลซีในนิวยอร์ก กล่าวว่า เพียงแค่มีกระแสข่าวระบุว่าเฟดจะเลิกซื้อพันธบัตรก็เกิดปฏิกิริยาทางลบตอบ สนองจากตลาดแทบจะในทันที เห็นได้จากผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือนแทบจะทันที
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นต่อตลาดพันธบัตรสหรัฐที่ลดลงยังทำให้นักลงทุนเลือกที่จะกระจาย ความเสี่ยงในการลงทุนของตนเอง ซึ่งหมายถึงการลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลง โดยข้อมูลจากไฟแนนเชียลไทมส์ระบุว่า นักลงทุนรายใหญ่ในตลาดพันธบัตรสหรัฐเริ่มลดการถือครองพันธบัตรแล้ว ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ จีน
จีน ซึ่งอยู่ในสถานะเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐได้ลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐ แล้วจากเดิมที่เคยอยู่ในระดับสูงสุดถึง 1.31 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 แต่เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา จีนลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐลงมาอยู่ที่ 1.25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเริ่มหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ เพื่อกระจายความหลากหลายของสินทรัพย์ของตนเองมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวข้างต้นยังสอดคล้องกับรายงานดัชนีพันธบัตรของแบงก์ออ ฟอเมริกา เมอร์ริล ลินช์ ที่ระบุว่านักลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในเดือนนี้ ต้องเผชิญหน้ากับการขาดทุนไปแล้ว 1.1%
ดังนั้น นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งจึงเริ่มคาดการณ์ว่า การยุติคิวอี 3 ของเฟดย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความปั่นป่วนวุ่นวายในสหรัฐ รวมถึงในตลาดทั่วโลกได้แน่นอน
ทั้งนี้ ตราบใดที่สถานการณ์เศรษฐกิจภายในสหรัฐยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ยั่งยืน ตราบนั้นเฟดย่อมไม่อาจเลือกเสี่ยงกับแนวทางใดๆ ก็ตามที่จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจจนกระเทือนต่อการ ฟื้นฟูโดยรวมได้ ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่ว่า ย่อมรวมถึงการคงการใช้มาตรการคิวอี 3 ต่อไปด้วยเช่นกัน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน