จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาค รัฐ- เอกชนเร่งเพิ่มศักยภาพคนพิการ เดินหน้าสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมปฏิบัติงานในสถานประกอบการ รับมือมาตรา 33 แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน องค์กรชั้นนำหลายแห่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันคนพิการทำได้ไม่แพ้คนปกติ “เอไอเอส”ยืนยันมีโอกาสก้าวหน้าเท่าคนปกติ “บิ๊กซี”ใช้หลักการเข้าใจ-เข้าถึง-เข้าสู่สังคม ปลื้มหลายคนถูกเสนอซื้อ สถานการณ์ด้านแรงงานในมุมของผู้พิการ ในปัจจุบันพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ “คนพิการ” จึงไม่มีความมั่นใจในการรับคนพิการเข้าทำงาน ประกอบกับคนพิการไม่มีความพร้อมในการทำงานในระบบสถานประกอบการทำให้ผู้ ประกอบการไม่สามารถจัดหาคนพิการเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้ตามที่ กฎหมายกำหนด |
||||
ขณะที่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 กำหนดว่า สถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ให้รับคนพิการที่สามารถทำงานได้เข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 เช่น หากบริษัทมีลูกจ้างไม่พิการทั้งหมด 100 -150 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 1คน แต่หากมี 151-250 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 2 คน สำหรับนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมายมีทางเลือก 2 ทาง คือทางแรก ต้อง ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี โดยคำนวณจากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงาน คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงานทั้งหมดในประเทศซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีคนพิการอยู่ทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน หรือทางที่สอง ให้สถานประกอบการแจ้งความจำนงต่อปลัดกระทรวงแรงงาน หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจัดสัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือบริการจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนได้ ทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้คนพิการมีสิทธิโอกาสในการเข้าทำงานสร้างหลักประกันความมั่นคงใน ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ แม้กฎหมายจะบังคับ แต่ที่ผ่านมาสถานประกอบการส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่แท้ จริงของกฎหมายได้ โดยส่วนใหญ่เลือกที่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนแทนที่จะรับคนพิการทำให้ยังมีคน พิการอีกมากที่ไม่มีโอกาสทำงาน การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะการที่สถานประกอบการให้โอกาสผู้พิการได้มีงานทำไม่เพียงจะเป็นการให้ สิทธิและโอกาสแก่ผู้พิการเท่านั้น กฎหมายยังมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับสถานประกอบการด้วย |
||||
สุรพล บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) เปิดเผยว่า คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่ากฎหมายคนพิการเป็นการช่วยเหลือเพราะสงสาร มากกว่าจะเข้าใจว่าเป็นสิทธิของคนพิการ ดังนั้น ในการเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์ คนในสังคมต้องเข้าใจก่อนว่าผู้พิการปัจจุบันมีความรู้ความสามารถบางอย่าง เท่าเทียมหรือมากกว่าคนปกติด้วยซ้ำ เพียงแต่เขามีร่างกายไม่ปกติ ในส่วนของพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการระบุไว้ชัดเจนหากสถานประกอบการทั้งภาครัฐหรือเอกชนไม่ให้ โอกาสและสิทธิกับผู้พิการ ตามกฎหมายมาตรา 33 กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 24(5) หากไม่ได้ส่งหรือส่งล่าช้าไม่ครบถ้วนให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินจำนวนที่ยังไม่ได้ส่งเข้ากองทุน แต่หากสถานประกอบรับคนพิการเข้าทำงานจะได้สิทธิรับยกเว้นภาษีร้อยละจำนวนค่า จ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ นอกจากนี้ มาตรา 38 ยังระบุด้วยว่าหากนายจ้างหรือสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงานมากกว่า ร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีใดก็มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นอีกด้วย มาตรา 38 นี้เองเป็นแรงจูงใจให้สถานประกอบการหลายแห่งเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการ ให้สิทธิคนพิการเข้ามาทำงานตามความสามารถที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ก็กลับกลายเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย เนื่องจากบางบริษัทอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการ ประกอบกับไม่รู้จะเริ่มต้นให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในตำแหน่งใด ที่สำคัญผู้พิการเองก็ยังอาจจะไม่มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการ กับสถานประกอบการบางประเภท มจธ.ย้ำบทบาทรับใช้สังคม ดังนั้น หน่วยงานภาคการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้ามาร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ พิการสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยหวังว่าจะช่วยให้ผู้พิการมีงานทำไปพร้อมๆ กับการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมได้แรงงานที่มีศักยภาพเหมาะ สมสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทัดเทียมกับคนปกติ |
||||
ทั้งนี้ มจธ.ได้เตรียมแผนการฝึกอบรมสำหรับผู้พิการไว้ 11 หลักสูตร และยังเตรียมสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการต่อคนพิการ รวมถึงการฝึกอบรมด้านวิชาการให้อาจารย์โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่และเครือข่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักศึกษาในโรงเรียน เอกชนแบ่งปันประสบการณ์ ด้านตัวแทนภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ใน การเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรมายาวนาน เช่น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยไปในทิศทางเดียวกันว่าการรับผู้พิการเข้าทำงานในองค์กรไม่ใช่เรื่อง น่ากังวล เพียงแต่ระยะเริ่มแรกต้องทำความเข้าใจกับคนในองค์กรให้เข้าใจร่วมกันอย่าง แท้จริงถึงนโยบายของบริษัท รวมถึงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อความพิการ ซึ่งหากมีสิ่งเหล่านี้แล้วผู้พิการก็สามารถทำงานได้เต็มความสามารถเช่นเดียว กับคนปกติ |
||||
ขณะที่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ใช้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง และเข้าสู่สังคม”เพื่อให้ผู้พิการสามารถทำงานได้ตามความถนัด ความสนใจ ภายใต้ข้อจำกัดของผู้พิการ รวมทั้ง เรียนรู้สิ่งที่ผู้พิการต้องการได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม ที่ผ่านมามีบริษัทหลายแห่งพยายามซื้อตัวด้วยการเสนอค่าจ้างที่สูงกว่า แต่พนักงานส่วนใหญ่ไม่ไป ทั้งนี้ การสร้างสังคมที่ดีด้วยการให้การยอมรับคนพิการเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การทำข้อตกลง ตั้งแต่แรกกับพนักงานทุกคนว่า จะต้องเรียกชื่อจริงหรือชื่อเล่นของเพื่อนเท่านั้น ไม่มีการเรียกความพิการแทนชื่อ การสร้างสังคมของเพื่อนร่วมงานที่ดีให้เกิดความรักความเข้าใจระหว่างคนปกติ กับผู้พิการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน นอกจากนี้ ยังพบว่าการมีผู้พิการเข้ามาทำงานร่วมกับคนปกติ ยังทำให้คนปกติบางคนที่ท้อแท้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานมากขึ้น บริษัท ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) มองว่าหลังการบังคับใช้กฎหมาย การสรรหาผู้พิการที่มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของภาคเอกชนมีความ ยากมากขึ้นหรือแทบจะไม่มี ดังนั้น ด้านวิชาการคือสิ่งสำคัญที่จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางฝึก สอนผู้พิการให้ตรงกับความต้องการของแต่ละสถานประกอบการ ทางด้านบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็น สถานประกอบการที่ยังไม่มีผู้พิการและต้องการรับผู้พิการเข้าทำงาน จึงต้องเริ่มจากการสำรวจสถานประกอบการของตนเองก่อนว่าหากมีผู้พิการเข้ามาทำ งานแล้วจะต้องปรับปรุงสถานที่อย่างไรเพื่อให้มีความสอดคล้อง และไม่คิดว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่า เพราะเมื่อคำนวณค่าลดหย่อนภาษีที่บริษัทจะได้รับคืนจากการสร้างอาชีพให้กับ ผู้พิการถือว่าคุ้มค่ามากกว่า ที่สำคัญเมื่อมีผู้พิการเข้ามาทำงานแล้วจะต้องให้โอกาสเรียนรู้งาน อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า ผู้พิการส่วนมากทำงานได้เท่าเทียมคนปกติในงานเดียวกัน และด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่ผู้พิการมีต่อหน้าที่การงานทำให้หลายคนทำงาน ได้มากกว่าคนปกติ ผู้บริหารจึงเริ่มเห็นศักยภาพและความคุ้มค่าของการรับผู้พิการเข้าทำงานมาก ขึ้น |
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน