สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประธาน ธปท. ตำแหน่งซ่อนเงื่อนล้วนทุนสำรองประเทศ

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ชลลดา อิงศรีสว่าง

รายชื่อของผู้มีคุณสมบัติจะได้รับ‌การคัดเลือกเป็นประธานคณะ กรรมการ‌ธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) คนใหม่ ‌ได้ถึงมือของคณะกรรมการคัดเลือก ที่มี ‌ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อดีตรองปลัดกระทรวง‌การคลัง เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว

ผู้ได้รับการเสนอชื่อจากฝั่งของ‌ธนาคารแห่งประเทศไทย 2 คน คือ ‌ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ‌ธปท. และรองนายกฯ ควบ รมว.คลัง ‌สมัยรัฐบาลขิงแก่

อีกคนคือ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ‌หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน ‌(กนง.) และอดีต รมว.พาณิชย์

ส่วนผู้ที่กระทรวงการคลังเสนอเข้าชิง‌คือ ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการ‌คณะรัฐมนตรี (ครม.) และหนึ่งในคณะ‌กรรมการนโยบายการเงิน อดีตเลขาธิการ‌สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ‌เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

การคัดเลือกประธาน กกธ.ครั้งนี้ ไม่‌แตกต่างจากเมื่อสองปีก่อน ที่มีการเสนอ‌ชื่อผู้เข้าชิงจาก ธปท. คือ ม.ร.ว.จัตุมงคล ‌โสณกุล เทียนฉาย กีระนันทน์ และ ดร.‌โกร่ง-วีรพงษ์ รามางกูร จากการนำเสนอ‌ของกระทรวงการคลัง และสุดท้ายคณะ‌รัฐมนตรี (ครม.) เลือกวีรพงษ์ขึ้นเป็น‌ประธาน กกธ.

แม้ ธปท.จะเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็น‌ประธาน กกธ. ได้ถึง 2 คน แต่ตามขั้น‌ตอนการอนุมัติที่จะต้องเข้าสู่การพิจารณา‌ของ รมว.คลัง และ ครม.ในทางพฤตินัย‌แล้วตำแหน่งนี้สามารถถูกการเมืองเข้า‌แทรกได้ตลอดเวลา

ดังนั้น การเลือกประธานบอร์ด ธปท.‌ครั้งนี้ ก็คงไม่แคล้วได้คนจากฝ่าย‌การเมืองเข้ามาอีกอย่างแน่นอน

ในครั้งที่รัฐบาลส่งวีรพงษ์เข้ามานั้น ก็‌สามารถผลักดันภารกิจที่ รมว.คลัง มอบ‌หมายได้สำเร็จคือ การโอนหนี้และภาระ‌ดอกเบี้ยของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ‌พัฒนาระบบสถาบันการ เงิน 1.4 ล้าน‌ล้านบาท ไปอยู่ในการดูแลของ ธปท. ตั้ง‌คณะกรรมการแก้ปัญหาขาดทุน ธปท.ขึ้น‌มาได้

แต่ประเด็นที่ถูกจับตามองคือ การตั้ง‌กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF) ที่จะ‌นำทุนสำรองของประเทศออกมาบางส่วน ‌เพื่อรองรับการลงทุนโครงการใหญ่ของรัฐ‌ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

เรื่องนี้ถือเป็นโชคดีของประธานบอร์ด ‌ธปท.คนเก่า ที่ไม่ต้องรับแรงกดดันจาก‌สังคมในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง

แต่สำหรับประธานบอร์ด ธปท.คน‌ใหม่ ที่จะถูกคัดเลือกในเร็วๆ นี้ ต้อง‌ดำเนินการเรื่องนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ‌เพราะรัฐบาลได้ตั้งแท่นเรื่องนี้ไว้แล้วอย่าง‌แยบยล ด้วยการทำเป็นแผน“กรอบการ‌รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ 2556”

“กรอบการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ‌2556”ได้รับการอนุมัติจากการประชุม‌คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2556  ‌จากการนำเสนอของ สศช.มีมาตรการ‌สำคัญ ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุน‌ด้านการเงินและการคลัง ซึ่งเป็น‌มาตรการที่มีผลเป็นการทั่วไปและ‌มาตรการเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีความเจาะ‌จงถึงกลุ่มเป้าหมายหรือสาขาการผลิต ‌และบริการเฉพาะด้าน

ข้อเสนอดังกล่าวประกอบด้วย 3 ‌มาตรการหลัก และ 22 มาตรการย่อย ‌ไฮไลต์อยู่ที่มาตรการทางด้านการเงิน 7 ‌ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการกำหนดการ‌

1. ดำเนินการซื้อขายเงินตราต่างประเทศใน

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินบาท แข็งค่ามากกว่าความสามารถในการปรับตัวของภาค การผลิตและบริการ หรือมีความผันผวนรุนแรงจนเป็นปัญหาในการกำหนดราคา การส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพและศักยภาพ ในการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้การดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท. โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

2. ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ให้มีความแตก ต่างของดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยพิจารณาปัจจัยรอบด้าน ทั้งการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และภาวะฟองสบู่ของการลงทุน ซึ่งการดำเนินการอยู่ในอานาจหน้าที่ ตามกฎหมายและความรับผิดชอบของ กนง.

3. ใช้มาตรการการกับดูแลสถาบันการเงิน (Macro Prudential Measures)เพื่อดูแลเสถียรภาพของสถาบันการเงินและของเศรษฐกิจโดยรวมเพื่อไม่ ให้มี การลงทุนที่เก็งกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจนเกินความ พอดีจนเกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ

4.พิจารณาใช้มาตรการจำกัดเงินทุนไหลเข้า อย่างระมัดระวังเมื่อมีความจำเป็น โดยมีการประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนการดำเนินการ และอยู่ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด

5.บริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่าง‌ประเทศ เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนของ‌สินทรัพย์ โดยเพิ่มประเภทสินทรัพย์ที่ ‌ธปท.สามารถลงทุนได้

มีการประเมินว่า นี่คือแผนงานล้วง‌ทุนสำรองที่ถือว่าเป็นเงินคลังหลวงมาใช้‌ลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการมานาน‌ตั้งแต่ยังเป็นพรรคไทยรักไทย แต่ต้อง‌เผชิญการต่อต้านจากสาธารณชน โดย‌เฉพาะคณะศิษย์ของหลวงตามหาบัว ‌ญาณสัมปันโน

ทว่า การผลักดันเรื่องนี้ผ่านทาง‌ประธานบอร์ด ธปท.ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

แม้ในทางกฎหมายตำแหน่งประธาน‌บอร์ด ธปท.ไม่ได้มีอำนาจสิทธิ์ขาดชี้ทิศ‌ทางนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างเบ็ดเสร็จ ‌เพราะตามกฎหมายใหม่แบงก์ชาตินั้น ‌บอร์ด ธปท.ทำหน้าที่เป็นบอร์ดผู้รู้ที่ให้คำปรึกษาแนะนำเท่านั้น

การตัดสินใจบริหารจัดการจริงนั้นเป็น‌ของคณะกรรมการอีก 3 ชุด คือ คณะ‌กรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการ‌นโยบายสถาบันการเงิน และคณะ‌กรรมการระบบการชำระเงิน ซึ่งมีผู้ว่าการ ‌ธปท.เป็นประธานในแต่ละคณะ

ขนาดรัฐบาลขัดแย้งกับ ธปท.มากมาย‌ในเรื่องนโยบายดอกเบี้ย ยังไม่สามารถที่‌จะบังคับให้ ธปท.ลดดอกเบี้ยตามต้องการ‌ของฝ่ายการเมืองได้

หรือแม้แต่การจะปลดผู้ว่าการ ธปท.‌ตามความต้องการทางฝ่ายการเมือง ‌ประธานบอร์ด ธปท.ก็ยังไม่ผลีผลาม‌ดำเนินการ เพราะหากผู้ว่าการ ธปท.ไม่‌มีความผิดอย่างชัดเจนแล้ว

การเสนอปลดผู้ว่าการ ธปท.ต่อ รมว.‌คลัง จะกลายเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ‌หากผู้ว่าการ ธปท.ฟ้องร้องต่อศาล‌ปกครอง ประธานบอร์ด ธปท.ก็จะเป็นคู่‌ความโดยตรง ไม่ใช่รัฐบาล


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ประธาน ธปท. ตำแหน่งซ่อนเงื่อน ทุนสำรองประเทศ

view