จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เปิดรายละเอียดคำพิพากษาศาลฎีกา ยืนยกฟ้อง คดี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร.ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล-นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ หมิ่นประมาท กรณีวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ ไม่เคารพองค์กรอิสระ ไม่สนใจไฟใต้ แต่งตั้งโยกย้ายไม่ถูกต้อง ผ่านรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” ทางช่อง 9 เมื่อปี 2547
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 21 ส.ค.ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.1469/2547 ที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฎิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดย การแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2547 โดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปัจจุบัน ณ วันฟ้องโจทก์ปฎิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2547 จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท กล่าวหาโจทก์ต่อหน้าประชาชนที่ชมรายการทั่วประเทศว่ายุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด โจทก์ไร้ประสิทธิภาพ แต่งตั้งตำรวจโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งไร้ประสิทธิภาพ และว่าโจทก์ไม่ให้ความเคารพในองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไม่เคารพกฎหมาย ละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม
โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยในฐานะสื่อมวลชนได้ติชมการทำงานของโจทก์ โดยชอบธรรม และอันเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำ และเป็นการติชมโดยมุ่งไปที่การทำงานของโจทก์ โดยไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องส่วนตัว ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชนเป็นส่วน ใหญ่ ดังนั้น จำเลยในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยแล้วไม่มีความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้อง โดยที่ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดหรือไม่ อีกทั้งก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการนำข้อความในรายการไปลงในอินเทอร์เน็ต ว่ามีความผิดหรือไม่เช่นกัน โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และต่อมาโจทก์ยื่นฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกามีคำพิพากษาโดยสรุปว่า “ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจกำกับดูแลการปฏบัติหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่ ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรมและย่อม วิพากษ์วิจารณ์ได้ เหตุคดีนี้เกิดจากการที่รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ตามเอกสารหมาย จ.๒ ให้โจทก์มาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะที่โจทก์ยังอยู่บน เครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศไทยโดยที่โจทก์ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน ซึ่งย่อมเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไปในขณะนั้น ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นในบ้าน เมืองให้ประชาชนทราบ จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ซึ่งถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๙ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ขึ้นในค่ำของวันเดียวกัน คือเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๒๑ นาฬิกา ตามปกติ โดยมีจำเลยที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นพิธีการผู้ถามคำถามและจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ตอบคำถาม โดยเป็นการนำเอาเรื่องต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่โจทก์เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงวันเกิดเหตุมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช่สาเหตุที่ทำให้โจทก์ถูกคำสั่งย้าย ครั้งนี้หรือไม่ อันเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการทราบในขณะนั้น กรณีหาใช่เรื่องที่จำเลยทั้งสองสร้างเรื่องขึ้นมาเองไม่ แม้ข้อความที่จำเลยที่ ๑ กล่าวบางส่วนจะเป็นข้อความหมิ่นประมาทบ้างก็ตาม แต่ก็คงถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ มิได้ถึงกับเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความรู้ความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้แต่อย่างใด จำเลยที่ ๑ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามฟ้อง และจำเลยที่ ๒ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถามคำถามให้จำเลยที่ ๑ ตอบจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย ที่โจทก์ฎีกาว่าเอกสารหมาย ล.๑ ถึง ล.๙ เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้ เพราะเอกสารบางฉบับเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุ และบางฉบับก็เป็นเพียงสำเนา จำเลยไม่ได้นำบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเบิกความประกอบ ข้อเท็จจริงตามเอกสารจะถูกต้องหรือไม่ โจทก์ไม่ทราบ จึงนำมารับฟังว่าถูกต้องแท้จริงไม่ได้นั้น เห็นว่า โจทก์มิได้คัดค้านการที่จำเลยทั้งสองนำเอกสารนั้นมาสืบก่อนการสืบพยานเอกสาร นั้นเสร็จ ทั้งมิได้รับอนุญาตจากศาลให้ยื่นคำร้องคัดค้านเอกสารนั้นก่อนศาลพิพากษาใน กรณีที่ไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น จึงต้องห้ามมิให้โจทก์คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นได้อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๒๕ วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๕ อีกประการหนึ่งศาลก็เพียงแต่รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบคำเบิกความของพยาน จำเลยทั้งสองเท่านั้น มิใช่รับฟังถึงขนาดว่าข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามที่เอกสารดังกล่าวระบุเรื่อง ไป จึงหาเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด ส่วนการที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยทั้งสองจัดทำโพลสำรวจ นำข้อความที่ออกรายการลงเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตตามเอกสารหมาย จ.๕ และจัดพิมพ์หนังสือเมืองไทยรายสัปดาห์พร้อมแผ่นซีดีออกจำหน่ายตามเอกสารหมาย จ.๒๒ เป็นการชี้นำ ตอกย้ำข้อเท็จจริงใส่ความโจทก์ ถือเป็นเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดซ้ำ และเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองนั้น เมื่อได้วินิจฉัยในข้างต้นแล้วว่าการกล่าวข้อความตามพ้องทุกข้อของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กรณีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฎีกาเป็นการกระทำผิดซ้ำหรือข้อบ่งชี้ให้เห็นถึง ความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยข้างต้นเปลี่ยนแปลงไปได้แต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำนั้นชอบแล้ว ดังนั้น แม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นหมิ่นประมาทอยู่บ้าง จำเลยทั้งสองก็ได้การยกเว้นความผิดตามประมาวนกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ (๑)และ(๓) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมินประมาทหรือดูหมินเจ้าพนักงานตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
รายละเอียดคำพิพากษา
คำพิพากษา
ที่ ๒๙๕๑/๒๕๕๖ ศาลฎีกา
วันที่ ๑๑ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
ระหว่าง พลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์ โจทก์
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ ๑
นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ที่ ๒ จำเลย
เรื่อง หมิ่นประมาท ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
โจทก์ ฎีกาคัดค้าน คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ ลงวันที่ ๑๑ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
ศาลฎีกา รับวันที่ ๒๓ เดือน กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลากลางคืน จำเลยทั้งสองร่วมกันใส่ความโจทก์โดยยืนยันข้อเท็จจริงในรายการเมืองไทยราย สัปดาห์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดสดเวลาประมาณ ๒๑ นาฬิกา ซึ่งมีข้อความอันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไร้ประสิทธิภาพ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่เคารพองค์อิสระ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่สนใจการแก้ปัญหา ๓ ชายแดนภาคใต้ ชอบเดินทางท่องเที่ยวและเป็นไม่ดี นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจที่ด้รับการแต่งตั้งในช่วงที่โจทก์เป็นผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีคุณภาพต่ำ โจทก์เลื่อนยศและแต่งตั้งตำแหน่งให้แก่เจ้าาพนักงานตำรวจหลายคนโดยไม่ถูก ต้อง และโจทก์ถูกปลดจากตำแหน้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งในการดำเนินรายการดังกล่าวมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยจำเลยทั้ง สองบิดเบือนความจริงด้วยการใช้คำว่า “ปลดโจทก์” ทำให้ผู้ชมรายการเข้าใจผิด จากนั้นจำเลยทั้งสองนำข้อความที่กล่าวในรายการดังกล่าวมาลงโฆษณาทางอินเตอร เน็ต ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จทั้งสิ้น เพราะโจทก์ปฏิบัตหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคบ กฎหมาย และคุณธรรม ได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างมีประสิทธิภาพจนมีผล งานมากมากโจทก์ไม่เคยใช้ตำแหน่งหน้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่เคยมีความประพฤติหรือกระทำการตามที่จำเลยทั้งสองกล่าว ก่อนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองไม่สอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์แต่อย่างอย่างใด ทั้งจำเลยที่ ๑ เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับโจทก์มาก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณา ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และประชาชนทั่วไป และเป็นการดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงงานที่ได้กระทำตามหน้าที่หรือเพราะ ได้กระทำตามหน้าที่ เหตุเกิดทั่วราชอาณาจักร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๖, ๓๒๖, ๓๒๘, ๘๓ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดในหนังสือพิมพ์รายวันไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ มติชน ข่าวสด กรุงเทพธุรกิจ บ้านเมือง และแนวหน้า หน้าข่าวทั้งกรอบเช้าและกรอบบ่าย โดยใช้ขนาดตัวอักษรสูง ๒ มิลลิเมตร กว้าง ๑.๕ มิลลิเมตร เป็นเวลา ๑๕ วันติดต่อกัน กับให้จำเลยทั้งสองแสดงตนเพื่อเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๓ ช่อง ๗ ช่อง ๙ และไอทีวี ในช่วงเวลาติดต่อหลังจากข่าวภาคค่ำ เป็นเวลา ๗ วัน วันละครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า ๓๐ นาที เพื่อแสดงการขอโทษโจทก์และโฆษณาคำพิพากษา ซึ่งข้อความการขอโทษ คำพิพากษา ภาพ และเสียงต้องได้รับการพิจารราเห็นชอบจากโจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชอบค่าโฆษณาหนังสือพิมพ์และค่า ใช้จ่ายในการดำเนินการออกอากาศทั้งหมด
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บังคับ บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เคยรับราชการและเป็นกรรมการในตำแหน่งต่างๆ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรมีคำสั่งให้โจทก์มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายก รัฐมนตรีตามสำเนาคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเอกสารหมาย จ.๒ ต่อมาในคืนวันเดียวกันจำเลยทั้งสองได้ออกอากาศแพร่ภาพและเสียงในรายการเมือง ไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๙ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย โดยกล่าวข้อความตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องข้อ ๓.๑ ถึง ๓.๑๒ ทั้งกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีการบันทึกการแพร่ภาพและเสียงของจำเลยทั้งสองไว้ในแผ่นซีดีและบันทึก ถอดข้อความหมาย จ.๑ นอกจากนี้มีการถอดข้อความที่จำเลยทั้งสองกล่าวแล้วนำไปลงเผยแพร่ทางอินเตอร์ เน็ตตามเอกสารหมาย จ.๕
มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นว่าจำเลยทั้งสองร่วม กันหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่เพียงแต่ว่าศาล อุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตเพื่อติชมการปฏิบัติ หน้าที่ของโจทก์ด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่เป็นการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงานดังที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้วนั้น เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๘๖ (๕) (๖) และ (๗) ประกอบมาตรา ๒๑๔ และมาตรา ๒๑๕ หรือไม่เห็นว่า เมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและวินิจฉัยปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาได้ทุก ประเด็นอยู่แล้ว และในประเด็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้า พนักงานหรือไม่นั้น โจทก์ได้ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาด้วย อันเป็นประเด็นที่สำคัญของคดีที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ไม่ว่าคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ในส่วนนี้จะชอบหรือไม่ด้วยกฎหมายก็ตาม จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรรณ์ใน ประเด็นนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อีก เพราะถึงอย่างไรก็ต้องวินิจฉัยให้ใหม่อยู่ดี ซึ่งศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหมิ่นประมาทหรือดู หมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นข้อๆ ตามห้องและฟ้องฎีกาของโจทก์ต่อไป
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปมีว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำสำนวนคดีอาญากฎหมายเลขแดงที่ ๑๓๙๑๒/๒๕๔๔ ของศาลชั้นต้นมาผูกรวมกับดคีนี้ และนำข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาวินิจฉัยใรคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ในปัญหานี้ปรากฏจากรายงานกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ว่าจากกาตรวจสำนวนของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้นำสืบถึงกรณีนายสมชาย ขวัญจุล ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในศาลชั้นต้นอันเกี่ยวเนื่องกับ ข้อความที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าหมิ่นประมาทตามฟ้องข้อ ๓.๑๐ โดยโจทก์และจำเลยที่ ๑ นำสืบได้ข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อมูลที่ปรากฎในสำนวนดังกล่าวสมควรจะนำมาเป็นข้อ ประกอบพิจารณาเกี่ยวกับการนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นกรณีที่ระหว่างพิจาณรณาศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติ ธรรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ เพิ่มเติม ซึ่งศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๘ อันหมายรวมถึงการนำถ้อยคำสำนวนของคดีอาญาดังกล่าวมาผูกรวมกับคดีนี้ เพื่อนำข้อเท็จจริงในคดีดังกล่วมาประกอบการพิจารณาคดีนี้ โดยได้แจ้งให้คู่ความมทราบก่อนแล้วด้วย ดังนั้น การดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปไม่ว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการบันทึกคำพยาน โดยไม่บันทึกการถามค้านและคำเบิกความของทนายโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ตามฎีกาในข้อ (๓.๑) ข้อย่อย ๑ ถึง ๘ และของทนายโจทก์กับจำเลยที่ ๒ ตามข้อย่อย ๑ ถึง ๒ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าคำถามค้านของทนายโจทก์ที่อ้างว่าศาลไม่บันทึกตามฎีกาในข้อ (๓.๑) ข้อย่อย ๑ ถึง ๘ และข้อย่อย ๑ ถึง ๒ ดังกล่าว เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพยานตอบว่า “ไม่ทราบ” ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะต้องบันทึกคำเบิกความดังกล่าวไว้ เพราะหากศาลจดบันทึกทุกคำถาม ก็จะเป็นการกว้างขวางไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดี ทั้งบางคำถามก็เป็นคำถามในเชิงความเห็นโดยต้องการให้พยานตอบเพื่อแสดงความ เห็นของพยาน ซึ่งพยานย่อมปฏิเสธที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ อีกทั้งขณะสืบพยานดังกล่าวศาลชั้นต้นก็ได้แจ้งให้คู่ความทราบแล้วว่า ข้อเท็จจริงที่พยานตอบว่ามิทราบ ศาลจะไม่บันทึกไว้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ไมมีขอบเขตจำกัดว่าจะเกี่ยวกับ ประเด็นหรือไม่ อย่างไร และจะนำมาใช้ในคดีไม่ได้ ซึ่วคู่ความก็ยอมรับดังที่ปรากฎตามรายงานกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘ ในสำนวน นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฎว่าในชั้นอุทธรณ์ ทนายจำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้อุทธรณ์ในข้อของโจทก์ว่าคำถามค้านของทนายโจทก์ และคำตอบของจำเลยที่ ๑ ที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์บางส่วนไม่ตรวงกับความจริง เช่นที่ทนายโจทก์ถามว่า “พยานทราบหรือไม่ว่าโจทก์ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ได้ไปให้ปากคำต่อ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ตอบว่า “ไม่ทราบ” เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงจำเลยที่ ๑ ตอบว่า “ไม่ทราบว่าโจทก์ได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ และแม้โจทก์จะได้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจแห่งชาติ โจทก์จึงควรจะต้องไปให้ปากคำต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” และที่ทนายโจทก์ถามว่าพยานทราบหรือไม่ว่าโจทก์เดินทางไปต่างประเทศจะต้องขอ อนุญาตท่านรัฐมนตรี จำเลยที่ ๑ ตอบว่า “ไม่ทราบว่าโจทก์จะต้องขออนุญาตจากท่านนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แต่อย่างไรเสียโจทก์ไม่ควรไปต่างประเทศในขณะที่กำลังเกิดความไม่สงบเรียบ ร้อย โจทก์มีตำแหน่งผู้บังคัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อนภายในประเทศโดยตรง จึงไม่ควรไปในเวลาดังกล่าว” เป็นต้น ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในหน้าที่ ๓๗ ถึง ๓๘ ในสำนวน ซึ่งเมื่อโจทก์ฎีกาก็มิได้ปฏิเสธหรือกล่าวแก้ถึงความในข้อนี้ว่าไม่ตรงกับ ความเป็นจริงแต่อย่างใด โดยฎีกาของโจทก์ในข้อนี้คงมีข้อความเหมือนกับข้อความอุทธรณ์ทุกประการ คำถามและคำตอบของทนายโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ดังกล่าวจึงไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสุจริตในการมีเจตนาที่จะใส่ความโจทก์ ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด แต่กลับจะเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ แสดงความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์โดยสุจริตเสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นนไม่บันทึกคำถามค้านและคำเบิกความของทนายโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ตามฎีกาในข้อ (๓.๑) ข้อย่อย ๑ ถึง ๘ และของทนายโจทก์กับจำเลยที่ ๒ ตามข้อย่อย ๑ ถึง ๒ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๐๔ วรรคหนึ่ง ประกอบประมาวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ แล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งในปัญหานี้ตามคำฟ้องฎีกาของโจทก์ได้กล่าวถึงข้อความที่อ้างว่าจำเลยที่ ๑ กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์แยกเป็นข้อๆไป เช่นเดียวกับคำฟ้องในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้เรียงเป็นข้อไปตามคำฟ้องของโจทก์ เว้นแต่ข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทในคำฟ้องข้อใดจะเป็นการกล่าวถึงข้อ ความในเรื่องเดียวกันกับข้ออื่นหรืออาจรวมถึงวินิจฉัยไปในคราวเดียวกันได้ เพื่อความสะดวก ศาลฎีกาก็จะพิจารณาและวินิจฉัยรวมกันไปในคราวเดียวกัน ดังนี้
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๓ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “หลังจากผ่านเหตุการณ์มาหลายเหตุการณ์แล้ว เราสรุปได้ว่า ในยุคที่ท่านเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งไร้ประสิทธิภาพ และก็ไม่มีประสิทธิผลในการทำงาน และที่ร้ายกาจที่สุดก็คือ เป็นยุคที่ท่านเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นยุคซึ่งตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด” นั้น เห็นว่า ข้อความดังกล่าวแม้ในตอนแรกจะกล่าวถึงตัวโจทก์ในฐานะเป็นผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ แต่ในข้อความต่อๆมาก็เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติใน ช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจำเลยที่ ๑ ต้องการแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีปัญหา ไร้ประสิทธิภาพไม่สามารถดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้ แต่กลับสร้างปัญหาในสังคมขึ้นมากมาย ดังที่จำเลยที่ ๑ มีข้อมูลที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานตำรวจกระทำความผิดเป็นจำนวนมากในระหว่างปี ๒๕๔๔ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ตามเอกสารหมาย ล.๒ แผ่นที่ ๑ ถึง ๗๓ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเลยที่ ๑ นำสืบว่าเคยนำไปบรรยายที่โรงเรียนผู้กำกับการและโรงเรียนผู้บังคับการของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติหลายครั้งในฐานะเป็นอาจารย์พิเศษ คำกล่าวของจำเลยที่ ๑ ดังกล่าวจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในตำแหน่งผู้ บังชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนลื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามพฤติกรรม และจำเลยทั้งสองในฐานะสื่อมวลชนย่อมวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปฏิบัติงานของโจทก์ ได้ ทั้งพิจารณาจากข้อความแล้วก็ไม่มีข้อความตอนใดที่เป็นการกล่าวร้ายใส่ความ โจทก์ในเรื่องส่วนตัวแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่าป็นการติชมการปฏิบัติงานของโจทก์โดยการสุจริตตามข้อมูลที่จำเลย ที่ ๑ มีอยู่ ด้วยความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์แก่ประชาชน หาเป็นการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้องไม่
ตามฟ้องข้อ ๓.๒ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ตัวผมกับตัวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการโดนท่านดำเนินคดีมาหลายเรื่อง โดยที่ท่านละเว้น และละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามกระบวนการตามกฎหมาย ตามขั้นตอน หลายต่อหลายเรื่อง” ซึ่งในข้อนี้จำเลยที่ ๑ นำสืบโดยมีนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ เป็นพยานบิกความว่า เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พยานถูกพนักงานสอบสวนรับตัวไปส่งพนักงานอัยการในคดีหมิ่นประมาทกรณีที่เป็น ข่าวเรื่องบิ๊กขี้หลีมีการนำหมายจับในคดีอื่นมาจับ ซึ่งพยานได้บอกแก่พนักงานสอบสวนว่าจะใช้หมายนี้ไม่ได้ เพราะผู้เสียหายกับพยานตกลงกันได้แล้ว หากไม่เชื่อให้โทรศัพท์สอบถามผู้เสียหายหรือทนายความ แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติและบอกว่าเจ้านายสั่งให้เอาตัวไปเป็นผู้ต้อง หา จากการตรวจสอบในภายหลังหมายจับดังกล่าวเป็นหมายที่ส่งมาทางโทรสาร ส่วนหมายจริงที่ศาลออกมาไม่ตรงกับโทรสารดังกล่าว การจับกุมดังกล่าวเนื่องมาจากคดีบิ๊กขี้หลี ซึ่งโจทก์ตั้งเจ้าพนักงานตำรวจเป็นทีมมาดำเนินคดีหมิ่นประมาทกับพยานเหมือน เป็นคดีใหญ่และอุกฉกรรจ์ โดยตำรวจที่มาจับกุมพยานก็เป็นคณะทำงานในคดีบิ๊กขี้หลีนั่นเอง พยานถูกกลั่นแกล้งจากโจทก์โดยโจทก์ใช้อำนาจเกินเหตุ ส่วนโจทก์นำสืบแต่แต่เพียงว่าตนได้รับความเสียหายจึงดำเนินคดีแก่หนังสือ พิมพ์ผู้จัดการ เมื่อพิจารณาคำเบิกความของนายตุลยประกอบเอกสารหมาย ล.๒ แผ่นที่ ๑๒๐ ถึง ๑๓๒ โดยเฉพาะสำเนาบันทึกการจับกุมในแผ่นที่ ๑๒๒ ทีมีการขีดฆ่าและแก้ไขสถานที่จับกุมแล้วจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องเจือสม กัน น่าเชื่อวาคำเบิกความของนายตุลย์ดังกล่าวเป็นความจริง ดังนี้กรณีจึงมีเหตุให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนายการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการอยู่ในขณะนั้นสงสัยว่าเป็น การจับกุมเพื่อไปดำเนินคดีตามกฎหมายจับในคดีของศาลจังหวัดฉะเชิงเทราจริง หรือไม่ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ เห็นว่ามีการละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจซึ่ง เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ การที่จำเลยที่ ๑ กล่าวข้อความตามคำฟ้องข้อ ๓.๒ จึงเป็นการกล่าวระบายความรู้สึกของจำเลยที่ ๑ ที่เข้าใจว่าถูกโจทก์กลั่นแกล้งดำเนินคดี และเป็นการวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งอยู่ใน อำนาจกำกับดูแลของโจทก์ อันเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือกล่าวข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จึงไมเป็นความผืดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาทำนองว่านายตุลย์เบิกความเลื่อนลอยไม่มีน้ำหนักกรับฟังนายตุลย์ ถูกโจทก์ดำเนินคดีหลายคดี แสดงให้เห็นว่ามีสาเหตุโกรธเคืองมาก่อน จึงอาจเบิกความปรักปรำโจทก์นั้น เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของโจทก์เอง จึงไม่อาจจะรับฟังหักล้างคำวินิจฉัยข้างต้นได้
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๓ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ท่าน ผบ.ตร.คนนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตั้งไม่รู้ต่อ กี่เรื่อง และที่สำคัญเขาเคยเชิญท่านไปให้การที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เขาเชิญท่านเกือบ ๖๐ ครั้ง ท่านไม่ยอมไปท่านไม่ให้ความเคารพในองค์กรอิสระ ไม่ให้ความเคารพในกฎหมาย และท่านมาเป็นผู้รักษากฎหมายได้ยังไง” นั้น ในข้อนี้โจทก์เบิกความว่า หลังจากเกิดกรณีท่อก๊าซที่อำเภอหาดใหญ่ มีกลุ่มผู้ต่อต้านจะบุกเข้าโรงแรมที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างไทย มาเลเซีย จึงเกิดเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เชิญโจทก์ไปให้ถ้อยคำที่สภาซึ่งโจทก์ก็ได้ไป จากนั้นปรากฎว่าคดีได้ขึ้นสู่ศาล ต่อมามีการทำหนังสือเชิญโจทก์อีก โจทก์จึงส่งหนังสือเชิญนั้นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาพิจารณาแล้วแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแล้ว ก็ไม่สมควรที่จะไปกล่าวเรื่องเดียวกันกับที่สภาอีก โจทก์จึงทำหนังสือเชิญรายงานต่อนายกรัฐมนตรีและแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษย ชนทราบแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๑ มีศาสตราจารย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ซึ่งเป็นกรรมการรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่ง และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและตรวจสอบการละเมิด สิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงของโครงการท่อก๊าซไทย – มาเลเซีย เบิกความว่า กรณีโครงการท่อก๊าซไทย – มาเลเซีย ที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ จึงหวัดสงขลานั้นในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น มีการเชิญโจทก์มาให้ข้อเท็จจริงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๖ แต่โจทก์อ้างว่า จำเป็นต้องไปคุมพื้นที่ไม่สามารถมาใหข้อมูลได้ ครั้งที่ ๒ โจทก์ต้องไปตรวจสถานที่อีกเช่นกัน ต่อมาโจทก์เร่งรีบส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการฟ้องคดี แล้วโจทก์ก็ได้ทำหนังสือแจ้งมาว่าได้มีการฟ้องเป็นคดีแล้ว ต้องตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่จำเป็นต้องมาให้การ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ความว่าได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างฝ่าย รัฐบาลโดยผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่จะมาตกลงกับฝ่ายชุมนุม จึงมีตำรวจนำคณะผู้ชุมนุมออกมาจากอำเภอจะนะไปยังโรงแรมเจบี และให้ตั้งฐานอยู่ห่างจากโรงแรมเจบีมากกว่า ๓๐๐ เมตร ขณะคณะผู้ชุมนุมทำละหมาดและรับประทานอาหาร นายตำรวจยศพลตำรวจโทคนหนึ่งซึ่งควบคุมอยู่บริเวณที่ชุมนุมได้รายงานโจทก์ว่า ผู้ชุมนุมกำลังรุกล้ำมาที่โรงแรมเจบี โจทก์จึงสั่งสลายม็อบโดยใช้วิธีความรุนแรงเป็นการทำลายทรัพย์สินและชีวิต ร่างกายของราษฎร ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนการฟ้องคดีผู้ชุมนุมนั้น ศาลจังหวัดสงขลามีคำพิพากษายกฟ้อง นอกจากนี้ยังได้ความจากพยานจำเลยปากนี้ต่อมาว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนประมาณ ๓,๐๐๐ เรื่อง โดยในส่วนที่เกี่ยวกับตำรวจได้เชิญโจทก์มาหลายครั้ง โดยมากโจทก์ปฏิเสธที่จะมา บางครั้งได้ไปขอพบโจทก์ โจทก์ก็ให้ไปพบแต่ตำรวจชั้นผู้น้อย เห็นว่า ศาสตราจารย์ประดิษฐ์พยานของจำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่นับหน้าถือตาของบุคคลทั่วไป ทั้งยังเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษาและตรวจสอบการละเมิด สิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงของโครงการท่อก๊าซไทย – มาเลเซีย ที่เชิญโจทก์ไปให้ถ้อยคำโดยตรง จึงย่อมทราบเรื่องราวความเป็นมาในเรื่องนี้โดยละเอียด ทั้งคำเบิกความของพยานจำเลยที่ ๑ ปากนี้ก็สอดคล้องกับหนังสือตรวจสอบการเชิญโจทก์ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรในรอบปี ๒๕๔๔ ถึง ๒๕๔๖ ตามเอกสารหมาย จ.๑๔ ที่ระบุว่ามีการเชิญโจทก์จำนวน ๘๗ เรื่อง และเจือสมกับคำเบิกความของพันตำรวจเอกนิธิ บัณฑุวงศ์ พยานโจทก์ที่ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ตามรายการที่คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของรัฐสภาเชิญโจทก์ไปชี้ แจงดังกล่าว โจทก์ไม่เคยไปชี้แจงแต่จัดให้ข้าราชการตำรวจคนอื่นไปชี้แจงแทน ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อตามคำพยานจำเลยที่ ๑ ยิ่งกว่าพยานโจทก์ และข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมทำให้วิญญูชนที่ได้รู้หรือเห็นการปฏิบัติหน้าที่ ของโจทก์ในสถานะดังกล่าวเข้าใจได้ว่าโจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติไม่ให้ความเคารพในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และไม่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการ ปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๔ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ปัญหาภาคใต้ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในยุคที่ท่านเป็นผบ.ตร.....ท่าน นายกฯ....บอกว่าปัญหาทาง ๓ จังหวัดภาคใต้นั้นเป็นปัญหาข้าราชการมาเฟีย ท่านพูดออกมาเสร็จแล้วท่านยังพูดต่อเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะจบได้ แต่มีคนสร้างสถานการณ์ไม่อยากให้จบ เพราะฉะนั้น แล้วเรื่องปัญหาภาคใต้มันเป็นเรื่องสลับซับซ้อน มันเป็นเรื่องที่ข้าราชการมาเฟีย ที่ปกปิดความผิดที่ตัวเองทำในขณะเดียวกัน มันก็เป็นเรื่องของคนซึ่งต้องการจะล้มล้างรัฐบาลชุดนี้ ดิสเครดิตท่านนายกฯก็ร่วมมือกับข้าราชการมาเฟีย ผสมผสานกับพวกโจรก่อการร้ายซึ่งมีอยู่แล้ว....บวกกับกระบวนการก่อการร้าย ต่างประเทศ ซึ่งต้องการจะจอยเข้ามาอีกทีหนึ่ง และหน่วยสืบราชการชลับทางตะวันตก ซึ่งไม่ต้องการให้เรื่องนี้จบ เพราะยิ่งสร้างเรื่องนี้ได้มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นประโยชน์กับเขา ส่วนประเทศไทยจะพินาศฉิบหายยังไงไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นแล้วคุณสโรชาจะเห็นได้ชัดว่า ถ้าเรื่องนี้ถ้าผบ.ตร.เป็นคนซึ่งลงไปทำงาน ทำจริงๆตั้งใจทำปัญหาไม่มี” นั้น โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า โดยข้อเท็จจริงทั้งรัฐบาล ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคงต่างๆ ได้พยายามอย่างสุดชีวิตที่จะทำให้สถานการณ์ภาคใต้ดี แต่ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนยืดเยื้อมาเป็นเวลาช้านานร้อยกว่าปี แล้ว ถ้าจะให้จบในพริบตาคงทำไม่ได้ และโจทก์เพียงคนเดียวในฐานะหัวหน้าตำรวจยิ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้ามาแก้ไข แม้จะมีความตั้งใจอย่างไรก็ตาม การแก้ไขดังกล่าวมีองค์กรหลายสิบองค์กรรวมทั้งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงต่างๆ ร่วมแก้ไข ส่วนจำเลยที่ ๑ เบิกความว่า จำเลยที่ ๑ กล่าวติชมในฐานะเป็นสื่อมวลชน เพราะคิดว่ามีเอกสารการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งรวมไปถึงศูนย์ ปฏิบัติการของตำรวจภูธรภาค ๙ ร่วมกันจัดทำในเอกสารนั้นมีการวิจัยโดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาภาคใต้เกิดขึ้นจาก การกระทำของตำรวจเสียส่วนใหญ่ ซึ่งรายงานการวิจัยตามเอกสารหมาย ล.๒ แผ่นที่ ๑๗๖ ถึง ๒๑๐ ก็กล่าวสรุปว่า ปัญหาเกิดจากความยุติธรรมที่คนใต้ได้รับจากผู้รักษากฎหมาย การที่จำเลยที่ ๑ วิจารณ์ว่า ถ้าท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติลงไปจัดการจริงๆ ก็ต้องแก้ไขได้จึงไม่ผิด นอกจากนี้จำเลยที่ ๑ ยังมีนายไพศาล พืชมงคล อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เบิกความสนับสนุนว่าก่อนหน้านั้นมีการรายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อ รัฐบาลว่า ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแต่โจรห้าร้อย โจรกระจอกงอกง่อย พวกขบวนการแบ่งแยกดินแดนเหลืออยู่เพียง ๑๒ คน สมควรให้ทหารพ้นหน้าที่ดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่นั้น และให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทน พลเอกชวลิตเคยปรารภกับพยานว่ารายงานเรื่องนี้ไม่ได้เสนอผ่านสภาความมั่นคง แห่งชาติและรองนายกฝ่ายความมั่นคงจึงเป็นผลให้ต่อมารัฐบาลมีคำสั่งยุบ ศอ.บต. และยุบหน่วยกำลัง พตท.๔๓ ให้ทหารพ้นจากหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ดังกล่าวและให้ตำรวจเข้ามา ปฏิบัติราชการแทน ต่อมาจึงมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นแก่บุคคลหลายฝ่ายรวมทั้งเหตุการณ์ปล้นปืน ที่กองพันทหารพัฒนา ประชาชนถูกฆ่าและกรณีของนายสมชาย นีละไพจิตร ที่หายตัวไป เห็นว่า พยานของจำเลยที่ ๑ นอกจากตัวจำเลยที่ ๑ ที่เบิกความว่า ได้รับข้อมูลผลงานวิจัยเรื่องทัศนคติชาวมุสลิมต่อตำรวจได้ ซึ่งลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ตามเอกสารหมาย ล.๒ แผ่นที่ ๑๗๖ ถึง ๒๑๐ แล้ว ยังมีนายไพศาลมาเบิกความให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันสืบเนื่องมาจากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในยุคที่มีโจทก์เป็นผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว อันสอดคล้องกับรายงานผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ข้อมูลดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามและมีเหตุให้จำเลยที่ ๑ เชื่อได้ว่า หากโจทก์ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติโดยการลงไป แก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่เพียงแต่รับฟังจากรายงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแล้ว ปัญหาความรุนแรงต่างๆ ก็คงไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๑ กล่าวข้อความตามคำฟ้องข้อ ๓.๔ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นจากพื้นฐานความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วในภาคใต้นำ มาวิพากษ์วิจารณ์ หาใช่เรื่องที่จำเลยที่ ๑ สร้างเรื่องราวขึ้นมาเองไม่ จึงเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริตเพื่อติชมการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ด้วย ความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๕ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ท่านไม่อยู่เมืองไทย ท่านท่องเที่ยวตลอดเวลา ท่านจะบินไปโน่น ท่านจะบินไปนี่” นั้น ได้ความตามเอกสารหมาย จ.๑๕ ซึ่งเป็นบันทึกเรื่องข้อมูลการเดินทางไปราชการต่างประเทศของโจทก์ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานต่อศาลเองว่า ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ ถึงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ โจทก์เดินทางไปราชการต่างประเทศจำนวนถึง ๑๒ ครั้ง ซึ่งนับเป็นจำนวนมากเฉลี่ยแล้วโจทก์จะเดินทางเกือบทุก ๓ เดือน แม้โจทก์จะนำสืบว่าในการเดินทางไปต่างประเทศแต่ละครั้งโจทก์จะต้องได้รับ อนุมัติเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมายจากนายก รัฐมนตรีก็ตาม แต่การเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความไม่ สงบเรียบร้อยขึ้นอย่างรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายครั้งหลายหน แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีหน้าที่ ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศและดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง กลับเดินทางไปราชการต่างประเทศบ่อยครั้ง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่าการเดินทางไปต่างประเทศในแต่ละครั้งจะช่วย แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ได้หรือไม่เพียงใด เช่นนี้จึงเพียงพอที่จะให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สื่อมวลชนมีเหตุเข้าใจไปได้ว่าโจทก์ไม่สนใจที่จะอยู่แก้ไข ปัญหาทางภาคใต้ แต่กลับให้ความสำคัญที่จะไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศมากกว่า คำกล่าวของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ว่าไม่เหมาะสมไม่ควรเท่า นั้น อันเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่เป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๖ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ผมถึงบอกว่าท่านไปดีแล้ว ท่านไปตอนนี้ดีกว่าที่จะให้ ท่านเกษียณไปแล้ว คนจะสาปแช่งท่านทีหลัง บรรดาผู้ซึ่งไม่ได้รับความยุติธรรมจากการทำงานของท่านครั้งนี้และครั้งก่อนๆ จะยุติการกระทำอะไรก็ตามที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ” นั้น เห็นสมควรนำไปรวมวินิจฉัยในตอนสุดท้ายกับคำกล่าวในคำฟ้องข้อ ๓.๑๒ เพราะเป็นคำกล่าวสรุปในทำนองเดียวกัน
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๗ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “นายตำรวจที่มีการแต่งตั้งในยุคท่านผบ.ตร.คนนี้ คุณภาพนายตำรวจต่ำมาก” คำฟ้องข้อ ๓.๘ ที่กล่าวว่า “ผมรู้จักผู้บัญชาการตำรวจภาคหลายคน อย่าให้ผมพูดเลยว่าใคร ผมเจอหน้าบ่นกับผม คุณสนธิรู้ไหมว่าตำรวจที่ตั้งระดับผู้กำกับ ระดับรองผู้กำกับ ระดับรองผู้การ สมมุติว่ามีตำแหน่งอยู่ ๖ ตำแหน่ง ผมมีสิทธิเลือกตำแหน่งเดียว นอกนั้น จากหน่วยเหนือจากหน่วยกลางกรุงเทพฯ ส่งมาหมด ระบุมาเสร็จเลยว่าจะให้คนนี้ให้คนนั้น จะให้คนโน้น ให้คนนี้ ผมถามว่า แล้วทำไมไม่ขวางเขาละ บอกว่า ถ้าขวางไม่ได้ เพราะถ้าขวางเขาบอกว่าเขายึดโควตาคืนหมด” และคำฟ้องข้อ ๓.๑๑ ที่กล่าวว่า “...พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ท่านก็ถูก พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ แต่งตั้งให้มาเป็นผู้บังคับการตำรวจจังหวัดนราธิวาสตั้งมาในขณะนั้นด้วยยศ พ.ต.อ.พิเศษ รองผู้บังคับการ หลักเกณฑ์ไม่ถึงจำนวนปีที่กำหนดเอาไว้ ท่านผบ.ตร.ท่านน่ารักมาก พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ท่านบอกว่าเนื่องจากคนคนนี้มีความรู้ทางภาคใต้มาก อยากให้ยกเว้นไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ ให้เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ลงมือทำงาน” นั้น ศาลเห็นควรพิจารณารวมกันไปในคราวเดียวกัน ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ข้อความทั้งสามดังกล่าวแล้ว เห็นว่า เป็นข้อความทั่วๆไปที่วิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการ คัดเลือกตัวบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งสำคัญในสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าควรจะ คัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพเข้ารับตำแหน่งโดยไม่มีการเล่นพวกเล่นพ้อง โดยให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งเป็นสำคัญ เหมือนเช่นที่เคยถูกสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งเท่า นั้น โดยไม่มีข้อความใดที่จะทำให้ผู้ชมและผู้ฟังเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนไม่ซื่อ สัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอันจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด แม้ในการวิจารณ์การแต่งตั้งพล.ต.ต.คำรณวิทย์ จำเลยที่ ๑ จะกล่าวข้อความทำนองว่าโจทก์เสนอแต่งตั้งโดยให้ยกเว้นไม่ต้องทำตามหลักเกณฑ์ อ้างว่าเพราะมีความรู้ทางภาคใต้มาก อันจะเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหาโจทก์ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบอยู่ บ้างก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ได้ความจากทางนำสืบของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเจือสมกับคำเบิกความของพล.ต.ต.คำรณวิทย์เองว่า พล.ต.ต.คำรณวิทย์ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการจังหวัดนราธิวาสได้ประมาณ ๔ เดือน ก็ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่จังหวัดตราด และอีก ๖ เดือน ก็ย้ายไปเป็นผู้บังคับการตำรวจ ๑๙๑ ในกรุงเทพมหานคร และเหตุการณ์ที่ภาคใต้ก็ยังไม่สงบ จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งติดตามข่าวการโยกย้ายนายตำรวจรายนี้เชื่อว่าการแต่งตั้งและเลื่อน ตำแหน่งให้พล.ต.ต.คำรณวิทย์เป็นการแต่งตั้งที่ไม่ชอบธรรม เป็นการแต่งตั้งเพื่อพวกพ้องของโจทก์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ ดังนี้การกล่าวข้อความตามข้อ ๓.๗, ๓.๘, และ ๓.๑๑ ของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดนสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๙ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “เรื่องคุณสมชาย นีละไพจิตร ผมมีความเชื่อว่าคุณสมชาย นีละไพจิตร หายไปนี่ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ได้ภายใน ๑ – ๒ วัน มันต้องใช้เวลาในการสืบสวน ตอนนี้อาจจะรู้แล้วว่าอาจจะหายไปใครเป็นคนอุ้มหรือหายไปแบบไหน...ในการทำงาน ครั้งนี้อุกอาจมาก...ผมเชื่อว่าอันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ในที่สุดแล้ว ฟางเส้นสุดท้ายที่อยู่บนหลังอูฐ ก็เลยทำให้มีการปลด” นั้น โจทก์นำสืบว่า กรณีนายสมชาย นีละไพจิตร นั้น เหตุการณ์ปรากฏขึ้นมาหลังจากที่โจทก์ได้เดินทางไปประชุมหัวหน้าเจ้าพนักงาน ตำรวจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคที่กรุงซิดนี่ ประเทศออสเตรเลีย จึงไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย เรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวกับสาเหตุที่โจทก์ต้องไปช่วยราชการที่สำนักนายก รัฐมนตรี จำเลยที่ ๑ ใส่ความให้ผู้ชมเชื่อว่า โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์ไม่มีความรู้ความสามารถในการสืบสวน โจทก์มีความบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง ส่วนจำเลยที่ ๑ เบิกความว่า ที่ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นฟางเส้นสุดท้ายบนหลังอูฐ เป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น เพราะจำเลยที่ ๑ เห็นว่า มีเรื่องร้ายมาตลอดและมาจบลงที่เรื่องนายสมชาย จึงอาจเป็นไปตามที่จำเลยที่ ๑ คิดเห็นก็ได้ ซึ่งในเรื่องเดียวกันนี้ นายไพศาล พืชมงคล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ ๑ ก็ได้เบิกความไว้ตอนหนึ่งว่า เหตุที่มีการย้ายหรือปลดโจทก์นั้น มีเหตุมาจากมีเรื่องสะสมมาหลายเรื่อง แต่เรื่องที่เป็นประเด็นในการตัดสินใจที่ทำให้โจทก์ถูกย้ายก็คือเรื่องของ นายสมชาย นีละไพจิตร นายสมชายเป็นทนายความของชาวมุสลิม ก่อนเกิดเหตุได้ไปว่าความให้แก่ผู้ต้องการ ๔ ถึง ๕ คน ซึ่งก่อเหตุเกี่ยวกับความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายสมชายไปร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจซ้อมผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ต่อมานายสมชายก็หายตัวไปทำให้มีการต่อต้านและตำหนิติเตียนรัฐบาลทั้งในและ ต่างประเทศ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้าไปแก้ปัญหา เหตุที่ว่ากรณีนายสมชายเป็นฟางเส้นสุดท้ายนั้นถือเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่ทั่ว ไป ต่อมาพลเอกชวลิตสั่งให้มีการดำเนินคดีในเรื่องนี้ให้ได้ ซึ่งหัวหน้าพนักงานสอบสวนคือผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและผู้ช่วยผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติที่รับผิดชอบขอเข้าพบพลเอกชวลิตในที่ลับรายงานว่ามีอุปสรรคใน การดำเนินคดีมาก ขอให้พลเอกชวลิตให้การสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยคุ้มครองไม่ให้พวกเขา ถูกกดดัน ซึ่งพลเอกชวลิตสั่งให้เดินหน้าด้วยความยุติธรรม เมื่อนำคำเบิกความของจำเลยที่ ๑ ข้างต้นมารับฟังประกอบกับคำเบิกความของนายไพศาลดังกล่าวแล้ว ย่อมมีเหตุให้จำเลยที่ ๑ เชื่อหรือคาดคะเนเอาได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องและเข้าไป กดดันการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนชุดนี้อันเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำ ให้มีคำสั่งย้ายโจทก์ออกจากตำแหน่งการกล่าวของจำเลยที่ ๑ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริง หาใช่เรื่องที่จำเลยที่ ๑ สร้างขึ้นมาเองไม่ ถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อติชมการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ด้วยความเป็น ธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตาม ฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๑๐ เลยที่ ๑ กล่าวว่า “ประมาณปี ๒๕๔๓ มีเด็กนิสิตจุฬาฯ คณะเทคนิคการแพทย์ ชื่อคุณสมชาย ขวัญจุล โดนตำรวจสน.ทองหล่อ อ้างว่าจับยาบ้าได้ ๑ เม็ด ในตัวคุณสมชาย ขวัญจุล ...โดยยัดยาบ้าเข้าไป ๑ เม็ด โดยตำรวจสน.ทองหล่อ เสร็จเรียบร้อยก็ไปดำเนินคดี...ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องว่า เด็กคนนี้ไม่ผิด โดยยัดยาบ้า...ตำรวจที่ทำความชั่วนี้ก็ยังมีความสุข ความสบายอยู่ ยังได้รับตำแหน่งได้เลื่อนตำแหน่งในยุคของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สันต์ ศรุตานนท์ ถ้าผมเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่รักษาความถูกต้อง เมื่อคดีนี้จบเอายาบ้า ๑ เม็ด ไปยัดให้กับเด็กจุฬาฯ และศาลยกฟ้องว่าตำรวจทำผิด ผมต้องดำเนินคดี ปลดตำรวจคนนั้นออก และแทนที่จะให้พ.ต.ต.ให้ยศเป็นสารวัตร และยังลอยหน้าลอยตาทำงานอยู่ที่สน.ทองหล่อ หรือว่า สน.แถวไหนผมก็ไม่รู้” นั้น ศาลพิเคราะห์จากข้อความที่จำเลยที่ ๑ กล่าวข้างต้นแล้ว เห็นว่า ไม่มีข้อความตอนใดที่กล่าวหาโจทก์ว่าปฎบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีส่วนรู้เห็น หรือสั่งการให้เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลทองกล่อกลั่นแกล้งจับกุมนาย สมชาย ขวัญจุล ในคดียาเสพติดให้โทษแต่อย่างใด หากจะมีข้อความใดที่เป็นหมิ่นประมาทก็น่าจะเป็นการหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลทองหล่อผู้จับกุมและดำเนินคดีกับนายสมชายเสียมากกว่า ส่วนข้อความที่จำเลยที่ ๑ กล่าวในตอนท้ายเป็นทำนองว่าโจทก์ไม่ลงโทษและไม่ดำเนินคดีกับเจ้าพนักงาน ตำรวจที่แกล้งจับกุมนายสมชาย แต่กลับให้ได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้น ข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อความที่จำเลยที่ ๑ วิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของโจทก์ว่า ไม่เหมาะไม่ควรเท่านั้น ซึ่งในข้อนี้โจทก์เองก็นำสืบชี้แจงได้ว่า การแต่งตั้งนายตำรวจระดับสารวัตรเป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ไม่ใช่อำนาจของโจทก์ ดังนี้จึงไม่มีข้อความใดที่เป็นการใส่ความโจทก์อันจะทำให้โจทก์เสียชื่อ เสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ตามคำฟ้องข้อ ๓.๖ ที่จำเลยที่ ๑ กล่าวว่า “ผมถึงบอกว่าท่านไปดีแล้ว ท่านไปตอนนี้ดีกว่าที่ให้ท่านเกษียณไปแล้ว คนจะสาปแช่งท่านทีหลัง...บรรดาผู้ซึ่งไม่ได้รับความยุติธรรมจากการทำงานของ ท่าน ครั้งนี้ และครั้งก่อนๆ จะยุติการกระทำอะไรก็ตาม ที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ...” กับคำกล่าวของจำเลยที่ ๑ ในคำฟ้องข้อ ๓๑๒ ที่ว่า “...เป็นเรื่องสิริมงคลกับสังคมมากที่คุณสันต์ถูกปลด ผมถือว่าเป็นสิริมงคล...” มีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นในทำนองเดียวกัน จึงเห็นควรวินิจฉัยไปพร้อมกันโดยศาลเห็นว่า จากข้อมูลต่างๆ ที่จำเลยที่ ๑ ได้ประสบและรวบรวมมาเมื่อรับฟังประกอบกับข้อความที่จำเลยที่ ๑ กล่าวในคำฟ้องข้ออื่นๆแล้ว ย่อมจะทำให้จำเลยที่ ๑ มีความเชื่อว่าในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งโจทก์ไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากโจทก์ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชการตำรวจแห่งชาติไป สถานการณ์ต่างๆ ก็คงจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับการที่รองนายกรัฐมนตรีซึ่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ มีคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.๒ ให้โจทก์มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีโดยให้รองผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติเป็นผู้รักษาราชการแทน โดยที่โจทก์ยังคงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นข้อแสดงได้ว่าผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็คงพิจารณาเห็นว่าถ้าโจทก็ยังคง ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อไป ก็อาจจะเกิดความเสียหายต่อราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ จึงมีการออกคำสั่งดังกล่าวอย่างเร่งด่วน อันสอดคล้องกับความคิดเห็นของจำเลยที่ ๑ ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นการที่จำเลยที่ ๑ กล่าวข้อความตามฟ้องข้อ ๓.๖ และ ๓.๑๒ ดังกล่าว จึงย่อมเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการปฏิบัติ หน้าที่ของโจทก์ที่ปรากฏอยู่อันถือเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ส่วนการที่จำเลยที่ ๑ ให้คำว่าโจทก์ถูกปลดซึ่งโจทก์นำสืบว่าเป็นการกล่าวให้ผู้ชมเกลียดชังโจทก์ เพราะการถูกปลดต้องมีการกระทำความผิดโดยมีการสอบสวนและลงโทษปลดออกจากราชการ แต่สำหรับโจทก์เพียงแต่ให้ไปช่วยราชการสำนักนายรัฐมนตรี และโจทก์ยังคงมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอยู่นั้น เห็นว่าคำว่า “ปลด” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายความว่า“...ทำให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ...” แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าโจทก์ยังคงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อยู่ แต่ก็เห็นได้จากคำสั่งมอบหมายงานโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.๒๐ ว่า โจทก์ไม่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ แล้ว ซึ่งมีความหมายว่าโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่ง ชาติไปแล้วนั่นเอง การที่จำเลยที่ ๑ ให้คำว่า “ปลด” จึงน่าจะเป็นการกล่าวเพื่อให้ผู้ชมรายการซึ่งมีระดับความรู้แตกต่างกันเข้า ใจได้ง่ายขึ้น หามีเจตนาที่จะใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานตามฟ้องไม่
กล่าวโดยสรุปแล้ว ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจกำกับดูแลการปฏบัติหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่ ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรมและย่อม วิพากษ์วิจารณ์ได้ เหตุคดีนี้เกิดจากการที่รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ตามเอกสารหมาย จ.๒ ให้โจทก์มาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีในขณะที่โจทก์ยังอยู่บน เครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศไทยโดยที่โจทก์ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน ซึ่งย่อมเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไปในขณะนั้น ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองในฐานะสื่อมวลชนมีหน้าที่เสนอข่าวสารที่เกิดขึ้นในบ้าน เมืองให้ประชาชนทราบ จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ซึ่งถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๙ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ขึ้นในค่ำของวันเดียวกัน คือเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๒๑ นาฬิกา ตามปกติ โดยมีจำเลยที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นพิธีการผู้ถามคำถามและจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ตอบคำถาม โดยเป็นการนำเอาเรื่องต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่โจทก์เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงวันเกิดเหตุมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช่สาเหตุที่ทำให้โจทก์ถูกคำสั่งย้าย ครั้งนี้หรือไม่ อันเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการทราบในขณะนั้น กรณีหาใช่เรื่องที่จำเลยทั้งสองสร้างเรื่องขึ้นมาเองไม่ แม้ข้อความที่จำเลยที่ ๑ กล่าวบางส่วนจะเป็นข้อความหมิ่นประมาทบ้างก็ตาม แต่ก็คงถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ มิได้ถึงกับเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความรู้ความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ได้แต่อย่างใด จำเลยที่ ๑ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามฟ้อง และจำเลยที่ ๒ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถามคำถามให้จำเลยที่ ๑ ตอบจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย ที่โจทก์ฎีกาว่าเอกสารหมาย ล.๑ ถึง ล.๙ เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้ เพราะเอกสารบางฉบับเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุ และบางฉบับก็เป็นเพียงสำเนา จำเลยไม่ได้นำบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเบิกความประกอบ ข้อเท็จจริงตามเอกสารจะถูกต้องหรือไม่ โจทก์ไม่ทราบ จึงนำมารับฟังว่าถูกต้องแท้จริงไม่ได้นั้น เห็นว่า โจทก์มิได้คัดค้านการที่จำเลยทั้งสองนำเอกสารนั้นมาสืบก่อนการสืบพยานเอกสาร นั้นเสร็จ ทั้งมิได้รับอนุญาตจากศาลให้ยื่นคำร้องคัดค้านเอกสารนั้นก่อนศาลพิพากษาใน กรณีที่ไม่อาจยกข้อคัดค้านได้ก่อนนั้น จึงต้องห้ามมิให้โจทก์คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นได้อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๒๕ วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๕ อีกประการหนึ่งศาลก็เพียงแต่รับฟังเอกสารดังกล่าวประกอบคำเบิกความของพยาน จำเลยทั้งสองเท่านั้น มิใช่รับฟังถึงขนาดว่าข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามที่เอกสารดังกล่าวระบุเรื่อง ไป จึงหาเป็นการไม่ชอบแต่อย่างใด ส่วนการที่โจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยทั้งสองจัดทำโพลสำรวจ นำข้อความที่ออกรายการลงเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตตามเอกสารหมาย จ.๕ และจัดพิมพ์หนังสือเมืองไทยรายสัปดาห์พร้อมแผ่นซีดีออกจำหน่ายตามเอกสารหมาย จ.๒๒ เป็นการชี้นำ ตอกย้ำข้อเท็จจริงใส่ความโจทก์ ถือเป็นเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดซ้ำ และเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองนั้น เมื่อได้วินิจฉัยในข้างต้นแล้วว่าการกล่าวข้อความตามพ้องทุกข้อของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กรณีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฎีกาเป็นการกระทำผิดซ้ำหรือข้อบ่งชี้ให้เห็นถึง ความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยข้างต้นเปลี่ยนแปลงไปได้แต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำนั้นชอบแล้ว ดังนั้น แม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นหมิ่นประมาทอยู่บ้าง จำเลยทั้งสองก็ได้การยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ (๑)และ(๓) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมินประมาทหรือดูหมินเจ้าพนักงานตามฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน