สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Currency Futures the First Financial Futures

Currency Futures the First Financial Futures

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




หากกล่าวถึงเรื่องราวของ การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ การซื้อขายตราสารอนุพันธ์

สินค้าอ้างอิงที่ปัจจุบันผู้คนจะนึกถึงก็คงหนีไม่พ้น สินค้าจำพวกสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวโพด ข้าวสาลี โลหะมีค่าอย่างทองคำ เงิน หรือ แพลทินัม หรือพวกดัชนีต่าง ๆ เช่น S&P500 Dow หรือแม้กระทั่งดัชนีหุ้นบ้านเราอย่าง SET50

เป็นที่ทราบกันดีว่า การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ Futures Trading นี้มีจุดเริ่มมาจากความจำเป็นในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติมากมาย ซึ่งแม่แบบของการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า หรือ Futures Trading ในปัจจุบันเกิดขึ้นที่เมืองชิคาโก มลรัฐอิลินอยส์ของสหรัฐ ในค.ศ. 1852

ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐกำลังขยายตัว ตลาดสินค้าล่วงหน้าแห่งแรกในสหรัฐ ที่ชื่อว่า ตลาดหอการค้าแห่งชิคาโก หรือ Chicago Board of Trade (CBOT) ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพ่อค้าในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์

สินค้าชนิดแรกที่มีซื้อขายโดยการนำมาทำเป็นสัญญาซื้อขายคือข้าวโพด ซึ่งเป็นผลผลิตทางเกษตรหลักในบริเวณนั้น โดยการซื้อขายช่วงแรกเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ Forward Contracts (ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงคุณลักษณะของสินค้า Spec กันเอง) ที่ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ซึ่งความไม่เป็นมาตรฐานนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย

ดังตัวอย่างเช่น ชาวนาแถบชนบทชานเมือง CHICAGO ที่มักจะตกลงทำสัญญา FORWARD กับพ่อค้าในเมือง และเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่จะขนผลผลิตของตนด้วยรถม้า มาส่งให้กับผู้ซื้อตามสัญญา FORWARD ที่ทำกันไว้...แต่เมื่อเดินทางมาถึง หากผู้ซื้อปฏิเสธที่จะรับมอบและจ่ายเงินตามสัญญา FORWARD นั้น ทำให้ชาวนารู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนผลผลิตมาตั้งไกล มีกรณีที่ชาวนาที่ไม่มีทางเลือกบางรายถึงกับต้องชักปืนออกขู่ผู้ซื้อว่า "เลือกเอาละกันว่า จะรับสินค้าหรือ จะรับลูกปืน"

ด้วยเหตุนี้ CBOT จึงได้เริ่มพัฒนารูปแบบการซื้อขายของตนให้เป็นสัญญาที่มีมาตรฐาน (Standardized Contracts) ในรูปแบบของ Futures Contract สินค้าข้าวโพดเป็นครั้งแรกในค.ศ.1865 ซึ่งรูปแบบดังที่กล่าวนี้ได้ถูกยกให้เป็นแม่แบบของการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีการวิวัฒนาการต่อ ๆ กันมา

แต่ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ครับว่า หลังจากที่ Futures Trading ได้ถูกริเริ่มที่ Chicago เป็นต้นมาตั้งแต่ค.ศ. 1865 และหลังจากเหตุการณ์สำคัญๆที่ได้เกิดขึ้นมาในโลกของเรา อาทิ การจัดตั้ง US Federal Reserve ณ Jekyll Island (ค.ศ. 1910 - 1913) สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918) Great Economic Depression (ค.ศ.1929-33) สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-45) ระบบการเงินแบบ Bretton Woods System (ค.ศ. 1944-71) การ Shut Down US Gold Window ของประธานาธิบดี Nixon เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1971

Futures Trading ต้องรอเวลากว่า 100 ปี กว่าจะถึงเดือนพ.ค.ในค.ศ. 1972 เวลาที่ตลาด Chicago Mercantile Exchange (CME) มีขึ้นเพื่อเปิดให้มีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าอ้างอิงเป็นอัตราแลกเปลี่ยน หรือ Futures on Foreign Currency หรือ Currency Futures นับเป็น Futures Contract ที่มีสินค้าอ้างอิงสินทรัพย์ทางการเงินเป็นครั้งแรก (First Financial Futures) ของโลก

โดยจัดให้ซื้อขายกันในตลาดที่ได้จัดตั้งขึ้นไว้เทรดสินค้าด้านการเงินโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า International Monetary Market (IMM) อัตราแลกเปลี่ยนที่ทาง IMM นำออกมาให้ซื้อขายในค.ศ. 1972 ประกอบด้วย British Pound, Canadian Dollar, Deutsche Mark, Italian Lira, Japanese Yen, Swiss Franc, และ Mexican Peso ล้วนเป็นสกุลเงินของประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐ ณ ช่วงเวลาในขณะนั้น

มีหลายคน ณ ขณะนั้นเชื่อว่า Currency Futures หรือ FX Futures ( ที่ CME นำออกมาซื้อขายนั้น) ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจาก ณ ตอนนั้นระบบการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของธนาคาร หรือ Bank Forward Market for foreign Currency มีการพัฒนาอย่างค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว จนเชื่อกันว่าไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องมี Currency Futures ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ Currency Futures ได้มีเจริญเติบโตตามลำดับ จนปัจจุบันมี volumes การซื้อขายสูงเป็นอย่างมาก นับเป็นการพิสูจน์ว่า Currency Futures นั้นมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเหตุผลที่ Currency Futures สามารถแจ้งเกิดได้ (ทั้ง ๆ ที่มี FX Forward อยู่แล้วนั้น) น่าจะมีเหตุผลมากจากเรื่องของปริมาณขั้นต่ำในการซื้อขายซึ่งจะสูงมากในกรณีของ FX Forward ทำให้ลูกค้า Forward จำกัดเฉพาะพวกกลุ่มลูกค้าธนาคารที่มีเครดิตดี ๆ หรือมีวงเงินกับธนาคารแล้วเท่านั้น

แต่ FX Forward ก็มีข้อดีเหนือกว่า Currency Futures อยู่หลายประการเหมือนกัน อาทิ 1) สามารถกำหนดวันสิ้นอายุเมื่อไรก็ได้ 2) สามารถจะซื้อขายเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ (แต่ต้องสูงกว่าขั้นต่ำ) 3) ค่าธรรมเนียมเมื่อซื้อเยอะ ๆ จะถูกกว่า Futures และ 4) FX Forward โดยปกติแล้วจะมีเป็นแพคเกจควบคู่กับบริหารให้คำปรึกษาและบริหารให้กู้ยืมเงิน ซึ่งทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ที่มี Exposure เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนก็ยังคงให้ FX Forward กันอยู่

อย่างไรก็ดี Currency Futures ก็มีประโยชน์สำหรับบริษัทขนาดเล็ก ที่ยังไม่มีวงเงินกับธนาคารและประสงค์จะบริหารความเสี่ยงด้านค่าเงิน อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาลูกค้ากลุ่มสำคัญที่เข้ามาใช้ Currency Futures ของ CME อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ได้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่ทำการ arbitrage สินค้าเกษตร ข้ามระหว่างตลาด อาทิ สินค้า Wheat ระหว่าง US กับ Canada ก็นิยมจะให้ Currency Futures มากกว่า Forward เนื่องจากสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนและมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า

ปัจจุบัน Currency Futures ใน CME นี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกตลาดอัตราแลกเปลี่ยนโลกไปแล้ว เนื่องจากธนาคารต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมทำ arbitrage ระหว่าง Currency Futures และ Forward นี้โดยตรง ทำให้มีบางช่วง (อาทิ ช่วงบ่าย ๆ ในสหรัฐ) Futures จะมี Volumes มากกว่า Forward และเป็นตัวชี้นำราคาของการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน

สำหรับในประเทศไทยเรา บมจ. ตลาดอนุพันธ์ (จำกัด) มหาชน หรือ TFEX ก็ได้มีการจัดให้มีการซื้อขาย Currency Futures นั่นคือ USD/THB Futures ไว้เช่นกัน แต่เพิ่งเริ่มเมื่อปีที่แล้วใน 5 มิ.ย. 2555 ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยที่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าได้มีเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงด้านค่าเงิน และในอีกไม่นานนี้ก็จะมีบริการพิเศษผ่านทางธนาคารกรุงไทยสำหรับลูกค้า TFEX ให้สามารถแลกเปลี่ยนเงิน USD ได้ในอัตราพิเศษ อันจะเป็นการช่วยให้การบริหารความเสี่ยงผ่านเครื่องมือ Futures นี้สามารถกระทำได้สมตามวัตถุประสงค์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Currency Futures the First Financial Futures

view