สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ระบอบทักษิณกำลังเดินตามรอยระบอบนาซี

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...บรรเจิด สิงคะเนติ

ระบอบนาซีได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญให้แก่มนุษยชาติเป็นประวัติ ศาสตร์แห่งความขมขื่น ที่ไม่มีผู้ใดอยากให้หวนคืน ในขณะที่ระบอบทักษิณกำลังสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่สังคมไทย แต่ประวัติศาสตร์หน้านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างไร ลองย้อนมองระบอบนาซีแล้วเหลียวมามองระบอบทักษิณ อาจทำให้คาดหมายได้ว่าประวัติศาสตร์หน้านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างไร

1.ระบอบนาซี

ภายหลังจากที่ประเทศเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1918 (2461) นำมาสู่การประกาศให้ประเทศเยอรมนีปกครองแบบ “สาธารณรัฐ” และนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญไวมาร์” 1919 (2462) การเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายขวา (พรรคนาซี) กับพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย (พรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์) เกิดวิกฤตในทางเศรษฐกิจ มีคนว่างในช่วงนั้นประมาณ 6 ล้านคน พรรคนาซีของฮิตเลอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงนั้น การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1933 (2476) พรรคนาซีได้ที่นั่ง 44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคนาซีจึงได้ดึงพรรคประชาชนเยอรมันซึ่งได้ 8 เปอร์เซ็นต์ เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล เมื่อจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้วความมุ่งหมายประการสำคัญของพรรคนาซี คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไวมาร์ 1919 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ต่อเมื่อมีคะแนนเสียง 2 ใน 3 ซึ่งพรรครัฐบาลมีคะแนนเสียงไม่พอ พรรค| นาซีจึงพยายามหาทางขอคะแนนเสียงจากพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สำเร็จ ท้ายที่สุดพรรคการเมืองอื่นก็เห็นชอบตามพรรคนาซี ยกเว้นพรรค SPD (พรรคสังคมนิยม) และพรรค KPD (พรรคคอมมิวนิสต์) เท่านั้นที่ไม่เห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว

สาระสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ การมอบอำนาจในการตรากฎหมาย ซึ่งเดิมเป็นอำนาจของสภา โดยมอบอำนาจดังกล่าวให้แก่ “ฝ่ายบริหาร” ซึ่งมีผลทำให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายใดๆ ก็ได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร การออกกฎหมายมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารดังกล่าว เท่ากับเป็นการตัดอำนาจของสภาและของพรรคการเมืองทั้งหลาย และในวันที่ 14 กรกฎาคม 1933 (2476) รัฐบาลได้ออกกฎหมายให้พรรคนาซีเป็นพรรคการเมืองที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงพรรค เดียว และต่อมาได้ออกกฎหมายห้ามการมี “สหภาพแรงงาน” ยกเลิกองค์กรที่ทำงานในทางสังคม|ทั้งหลาย และยกเลิกโครงสร้างของระบบมลรัฐ

หลังจากที่ประธานาธิบดี Hindenburg ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 2 สิงหาคม 1934 (2477) ฮิตเลอร์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีก็เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวแทน และได้เรียกตำแหน่งดังกล่าวว่า “ท่านผู้นำ” พรรคนาซีภายใต้การนำของฮิตเลอร์ก็เข้าสู่ “เผด็จการเต็มรูปแบบ” เรียกได้ว่าฮิตเลอร์ได้อาศัยบันไดประชาธิปไตยขึ้นสู่เผด็จการและนำประเทศ เยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาสู่ความพ่ายแพ้และนำมาสู่การปฏิรูประบบรัฐสภาแบบเสียงข้างมาก เป็นระบบรัฐสภาแบบเสียงข้างมากที่ถูกถ่วงดุลโดยศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 1949 (2492) ที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้

2.ระบอบทักษิณ

ได้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช ... (ที่มาของวุฒิสภา) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยร่างแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ ยกเลิกความในมาตรา 111 ถึง มาตรา 118 และมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2250 ซึ่งบัญญัติถึงที่มาและคุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา แล้วใช้ข้อความใหม่ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และไม่กำหนดลักษณะต้องห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาหลายประการ ทำให้เกิดผลประโยชน์กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้เกี่ยวข้อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทบต่อมาตรา 291 (1) ของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นการแก้ไขที่กระทบต่อ “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

การแก้ไขดังกล่าวย่อมส่งผลต่อดุลยภาพของการถ่วงดุลระหว่างอำนาจของฝ่าย ข้างมาก (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ) โดยเฉพาะในเรื่องการถอดถอน การแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันจะส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่อย่างอิสระขององค์กรดังกล่าว นอกจากจะกระทบต่อดุลยภาพดังกล่าวแล้ว ประการสำคัญจะกระทบต่อดุลยภาพ|ของอำนาจในการถ่วงดุลของประมุขของรัฐ (พระมหากษัตริย์) ในกระบวนการตรากฎหมาย

ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 151 ซึ่งบัญญัติว่า “ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมาจะต้องปรึกษาร่างพระราช บัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็น กฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแล้ว”

บทบัญญัติมาตรา 151 เป็นกระบวนการถ่วงดุลในการตรากฎหมายโดยองค์พระมหากษัตริย์ แต่หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้สำเร็จ ย่อมมีผลทำให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากในสภาบวกกับจำนวน สมาชิกวุฒิสภาที่มีฐานทางการเมืองเดียวกับพรรคฝ่ายข้างมาก ย่อมมีเสียงในรัฐสภาเกินกว่าสองในสาม ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้คือการกรุยแนวทางที่จะนำไปสู่การเกิด เผด็จการโดยรัฐสภาแบบเบ็ดเสร็จ และในขณะเดียวกันย่อมเป็นการทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข การแก้ไขในครั้งนี้จึงเป็นการแก้ไข|ที่ส่งผลกระทบต่อหลักการตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 291 (1) ของรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การทำลายหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญโดยสิ้น เชิง

3.บทสรุป 

“ระบอบนาซี” ใช้เสียงสองในสามแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ “ระบอบทักษิณ” ใช้เสียงสองในสามลบ ล้างอำนาจของประมุขแห่งรัฐในการถ่วงดุลในกระบวนการตรากฎหมาย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ก. ทั้งสองแนวทางนำไปสู่การทำลาย “หลักความเป็นกฎหมายสูงสุด” เหมือนกัน ข. ทั้งสองแนวทางจะทำให้เกิด “ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ” เหมือนกัน และ ค. ทั้งสองแนวทางจะนำไปสู่วิกฤตของสังคมและการเมือง “ระบอบทักษิณ” กำลังนำพาสังคมไทยเข้าสู่โค้งสุดท้าย สิ่งที่ท้าทายต่อการพิสูจน์ คือ ระบอบทักษิณจะจอดหรือสังคมไทยจะจบ

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ระบอบทักษิณ เดินตามรอย ระบอบนาซี

view