จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจเอเชีย ธนาคารเอชเอสบีซี
เอเชียดูเหมือนจะอยู่ในภาวะติดหล่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าผิดหวังมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทำให้การควบคุมอัตราเงินเฟ้อทำได้ง่ายขึ้น
ในสถานการณ์แบบนี้บางคนอาจคิดว่าผู้บริหารธนาคารกลางต่างๆ คงกำลังเตรียมปรับลดดอกเบี้ยลงอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้ามองลึกๆ แล้วจะเห็นว่า
มีเพียงไม่กี่ประเทศที่จะผ่อนคลายนโยบายต่อไป เช่น ไทย ญี่ปุ่น และอาจรวมถึงจีนด้วย แต่ประเทศอื่นๆ
ในเอเชียอาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเล็กน้อยในช่วงก่อนสิ้นปี ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น ความกังวลเรื่องการรักษาวินัยเศรษฐกิจมหภาค ความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้าออก และการควบคุมดูแลเงินเฟ้อและราคาสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมจะเพิ่มอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เริ่มจากอินเดียที่ถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะออกมาดู ไม่แข็งแกร่งนัก แต่ราคาหุ้นในตลาดก็ยังอยู่ในระดับสูง และมีความคาดหวังมากว่ารัฐบาลใหม่ของอินเดียจะทำตามคำมั่นสัญญาที่จะดำเนินนโยบายปฏิรูป แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งคือ ธนาคารชาติอินเดียดูจะยืนหยัดในนโยบายที่จะคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงสองปีข้างหน้า
แรง กดดันด้านราคาที่มีต่อเนื่องคงจะทำให้ธนาคารชาติมีความจำเป็นต้องปรับขึ้น ดอกเบี้ยอีกครั้งในไม่กี่เดือนข้างหน้า ถึงแม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะยังไม่ค่อยสดใสนัก
ฟิลิปปินส์ก็อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยรวม 0.50% ในช่วงสองไตรมาสข้างหน้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ปรับเพิ่มสัดส่วนเงินทุนสำรองสำหรับธนาคาร พาณิชย์ขึ้นอีก 1% เป็น 19% อัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวขึ้นอย่างช้าๆ
แม้จะไม่น่าตกใจ แต่การไหลออกมากของเงินทุนได้ทำให้สกุลเงินเปโซอ่อนค่าลง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อไปอีกระยะหนึ่ง และการที่ธนาคารกลางได้ปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับปีหน้า (ลงมาเป็น 2-4%) ทำให้อัตราการขยายตัวของเงินให้กู้ยืมของธนาคารกำลังเร่งตัวขึ้น และมีความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า-ออกในตลาดหุ้น ทำให้ทางการได้ออกมาส่งสัญญาณเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น
ธนาคารกลาง มาเลเซียอาจจะเดินตามรอยฟิลิปปินส์ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยความกังวลเรื่องเงินเฟ้อเป็นเหตุผลเพียงครึ่งเดียว (ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลมาเลเซียจะตัดสินใจปรับมาตรการอุดหนุนและควบคุมราคา สินค้าต่อไปในปีนี้หรือไม่) อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยืนอยู่ในแดนลบท่ามกลางภาวะยอดหนี้สินที่ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าทางการได้เลือกใช้เครื่องมือกำกับดูแลเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบ ในช่วงหลายปีมานี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งก็น่าจะเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินได้
ส่วนธนาคารชาติอินโดนีเซียได้ใช้มาตรการเข้มงวดมาพอสมควรแล้วก่อน หน้านี้ โอกาสปรับอัตราดอกเบี้ยต่อไปน่าจะเป็นขาขึ้นมากกว่าลง แต่ก็เห็นว่ายังไม่น่าเป็นไปได้ เพราะอินโดนีเซียกำลัง เข้าสู่
ช่วง การเลือกตั้งซึ่งต้องใช้เวลานาน (รัฐบาลใหม่คงจะไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ได้จนกว่าจะถึงเดือนตุลาคม) แต่ภาวะตลาดยังคงเป็นปกติ และสกุลเงินอินโดนีเซียเคลื่อนไหวในระดับที่ดีขึ้นมากในระยะหลัง เนื่องจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติรอบใหม่
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด คาดกันว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นคงจะเลือกใช้มาตรการผ่อนคลายต่อไปในปีนี้ โดยอาจจะใช้วิธีรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยกองทุนรวมที่จดทะเบียน ซื้อขายในตลาด ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นราวๆ เดือนกรกฎาคม เมื่อการปรับขึ้นภาษีการค้าเริ่มส่งผลกระทบ ส่วนไทยคาดว่าอาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกในไตรมาสนี้ และด้วยปัญหาทางการเมืองที่ยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยคงจะพยายามสร้างความเชื่อมั่นโดยใช้มาตรการ ผ่อนคลายมากขึ้น
สำหรับจีนก็ได้ประกาศปรับมาตรการต่างๆ โดยเน้นด้านการคลัง (เช่น การยืดอายุมาตรการลดหย่อนภาษี) ซึ่งยังคงจะเป็นเครื่องมือหลักในการสนับสนุนเศรษฐกิจ ขณะที่มาตรการทางการเงินก็ยังจะมีบทบาทอยู่ เพียงแต่อาจจะไม่ได้เด่นชัดเหมือนที่แล้วมา จะเห็นได้ว่าธนาคารชาติจีนได้เริ่มสกัดการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงิน หยวนแล้ว (ถือเป็นมาตรการผ่อนคลายแบบหนึ่ง) และอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นก็ได้ปรับตัวลงในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดย สรุปแล้วภาพรวมมาตรการของธนาคารกลางต่างๆ ก็มีทั้งเข้มงวดและผ่อนคลาย แต่ก็คงจะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นมากนักในช่วงนี้ นอกเสียจากว่านายคุโรดะจะตัดสินใจกลับมาจุดชนวนใหม่อีกรอบหนึ่ง
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน