3ชม-ครึ่งพลิกสถานการณ์ยึดอำนาจ
จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวการเมือง
ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน โดยตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ .โดยมีลำดับเหตุการณ์ดังนี้
14.00 น.พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มเปิดการประชุม 7 ฝ่าย โดยกล่าวปรารภในที่ประชุมว่า “สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เป็นห่วง คือความขัดแย้ง ที่จะยืดเยื้อต่อไปโดยไม่มีทางออกพร้อมทำทุกอย่างร่วมกับทุกคนเพื่อให้เกิดสันติสุขโดยเร็ว พร้อมกับกล่าวขอโทษทุกคนที่อาจจะล่วงเกินอำนาจไปบ้าง และหากเกิดอะไรขึ้น ขอรับผิดชอบเพียงคนเดียว”
จากนั้นการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายดำเนินไปอย่างเคร่งเครียด เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างมีจุดยืนข้อเสนอไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้การบ้าน 5 ข้อที่พล.อ.ประยุทธ์ รอคำตอบไม่อาจได้ข้อสรุป
ก่อนที่การประชุมจะยืดเยื้อไปกว่านั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้หันไปถาม ชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม เป็นประโยคสุดท้าย ว่า "ตกลงว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่"
ชัยเกษมตอบว่า "นาทีนี้ไม่ลาออก"
ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น ห้วนสั้น "ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่นาทีนี้ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง เชิญทหารจับแกนนำทั้งหมดไว้บ้านรับรองใน ร.1 รอ."
"ทะเลาะกันนัก ให้อยู่ด้วยกัน จนกว่าจะรักกัน"
สิ้นเสียงพล.อ.ประยุทธ์ บรรยากาศภายนอกห้องประชุมมีความเคลื่อนไหวผิดสังเกตทันที
15.50 น. ทหารเริ่มตั้งแนวโล่ บริเวณหน้าสโมสรทหารบก เริ่มแจ้งผู้สื่อข่าวว่าการประชุมใกล้จบแล้ว
16.35 น. ขบวนรถของพล.อ.ประยุทธ์ เคลื่อนออกจากสโมสรทหารบกเป็นคันแรก โดยแล่นเข้าไปใน ร.1 รอ.ทันที ตามด้วยรถขบวนของผู้นำเหล่าทัพ และรถตู้ติดฟิล์มดำ ทราบภายหลังว่ามีแกนนำกปปส. และแกนนำนปช. รวมถึงตัวแทนจากรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ไม่มีการเชิญ กกต.และสว. ร่วมขบวนไปด้วย
16.40 น. ทหารนำรถยีเอ็มซี 3 คัน จอดปิดทางเข้าออกบริเวณ ถ.วิภาวดีรังสิต ผู้สื่อข่าววิ่งเข้าไปเก็บภาพ อย่างไรก็ตาม ทหารได้กันผู้สื่อข่าวออกไปโดยตะโกนบอกว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น อาจเกิดอันตรายได้ หลังจากนั้น ทหารพร้อมอาวุธปืนเอ็ม 16 ได้ไล่ผู้สื่อข่าวกลับไปบริเวณศูนย์ประสานงานสื่อ อาคารกำลังเอก
17.00 น. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(คสช.) ประกาศยึดอำนาจ
17.30 น. ทหารให้ผู้สื่อข่าวและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่สโมสรทหารบก โดยระบุว่าจะเปิดประตูให้ออกด้านนอกในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น และตรวจค้นรถที่ออกอย่างละเอียด ขณะเดียวกัน มีการพบอาวุธปืนในรถโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์คันหนึ่ง ขณะที่พื้นที่ทางเข้าร.1รอ.มีกำลังเจ้าหน้าที่คุมเข้ม ไม่ให้รถเข้า-ออก
นั่นคือ 3 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนพลิกสู่สถานการณ์ใหม่ ยึดอำนาจการปกครอง !!!
เปิดคำพูดสุดท้ายผบ-ทบ-ก่อนประกาศรัฐประหาร
จาก โพสต์ทูเดย์
เปิดคำพูดสุดท้าย "ผบ.ทบ." ถามคู่ขัดแย้งในการประชุมก่อนประกาาศรัฐประหาร ย้ำ 2 ครั้ง"รัฐบาลยืนยันที่จะไม่ลาออกใช่หรือไม่"
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. บรรยากาศการประชุมก่อนการตัดสินใจยึดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาทหารบก (ผบ.ทบ.) ในระหว่างที่กำลังจะได้ข้อสรุป แต่ผู้แทนรัฐบาลกลับไม่ยอมรับข้อเสนอจากผู้บัญชาการทหารบกคือ “ให้รัฐบาลรักษาการลาออก”
“คุณพูดกันแต่กฎหมาย ยังไงมันก็เถียงกันไม่จบ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว และสั่งพักการประชุมชั่วคราว ก่อนจะเชิญฝ่ายการเมืองและแกนนำมวลชนทั้ง 2 ฝ่าย ประชุมส่วนตัว
ขณะที่ผู้แทนของวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อนุญาตให้ออกจากที่ประชุมได้
“ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่องก็ไม่ต้องกลับบ้าน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ท่ามกลางบรรยากาศอันตรึงเครียด และกำลังทหารถือปืนอยู่ในห้องประชุม และวางกำลังประจำการทุกบันไดขึ้นลงทุกแห่ง
หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ถามต่อที่ประชุมอีกครั้ง ซึ่งเป็นการถามย้ำเป็นครั้งที่ 2 ว่า “รัฐบาลยืนยันที่จะไม่ลาออกใช่หรือไม่”
นายชัยเกษม นิติสิริ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาล กล่าวตอบว่า “นาทีนี้ยังไม่ลาออก”
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวสวนคำว่า “อย่างนั้นตั้งแต่นาทีนี้ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง”
รัฐประหาร!! “บิ๊กตู่” ตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ด่วน!! “ประยุทธ์” นำเหล่าทัพแถลง ทรท.ยึดอำนาจ ตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
วันนี้ (22 พ.ค.) เมื่อเวลา 16.59 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แถลงการณ์ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ความว่า
“ตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆ พื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น
เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคีเช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบ ดำเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพต่อไปตามปกติ ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการดังที่เคยปฏิบัติ
สำหรับข้าราชการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ที่มีอาวุธเพื่อใช้ในราชการของหน่วย ห้ามเคลื่อนย้ายกำลังและอาวุธโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่เพียงผู้เดียว
สำหรับคณะทูตานุทูต สถานกงสุล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะได้ให้ความคุ้มครอง และขอยืนยันว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยังเป็นไปตามปกติ ตามที่รัฐบาลชุดเดิมดำเนินการไว้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะยึดมั่นในความจงรักภักดี และจะปกป้องเทิดทูนดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทย และทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง
ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557”
คสช.ตั้ง “บิ๊กตู่” หัวหน้าคณะ ให้ รธน.สิ้นสุดชั่วคราว ครม.หมดอายุ วุฒิฯ-องค์กรอิสระยังอยู่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศฉบับ 5 ให้ รธน.ปี 50 สิ้นสุดชั่วคราว ครม.รักษาการสิ้นสุดลง วุฒิสภา-องค์กรอิสระยังอยู่ ศาลมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมาย
วันนี้ (22 พ.ค.) พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อ่านประกาศฉบับที่ 5 ระบุว่า ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2550 สิ้นสุดลงชั่วคราว ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ ให้วุฒิสภาที่เหลืออยู่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ให้ศาลคงมีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมาย และให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ฉบับที่ 5/2557 เรื่อง การสิ้นสุดชั่วคราวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่ คสช.ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศตามประกาศฉบับที่ 1/2557 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น.แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารราชการภายในราชอาณาจักร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ดำเนินการดังนี้
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงชั่วคราว เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์
2.คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่
3.วุฒิสภายังคงปฏิบัติหน้าที่ตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มีอยู่ ณ วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
4.ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณา และพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
5.องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เวลา 19.17 น. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่องแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาสงบแห่งชาติ ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, พล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เวลา 19.26 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 1/2557 โดยให้คณะรัฐมนตรีรักษาการที่เหลือทั้งหมด นำโดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทั้งหมด มารายงานตัว ณ กองบัญชาการรักษาความสงบแห่งชาติ (กองบังคับการมหาดเล็กที่ 1 รักษาพระองค์)
เวลา 19.36 น. คสช. ได้ออกประกาศฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยห้ามมั่วสมุหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน สำหรับผู้ชุมนุมที่มีอยู่ในขณะนี้ ให้เดินทางกลับ
เวลา 20.55 น. คสช. ออกประกาศฉบับที่ 8/2557 เรื่องข้อยกเว้นการออกนอกเคหะสถาน ตามฉบับ ที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบการประกอบอาชีพ ให้ยกเว้น 1. ผู้ที่เดินทางเข้าออกประเทศ 2. เจ้าหน้าที่พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานเป็นห้วงเวลา หรือเป็นผลัด 3. การเดินทางขนส่งสินค้ากิจการห้องเย็น นำเข้าส่งออกสินค้าที่มีอายุจำกัด 4. ผู้มีธุระจำเป็น เช่น ผู้ป่วย 5. ผู้มีกิจธุระจำเป็นอื่นๆให้ขออนุญาตทหารในเขตพื้นที่นั้นๆ
ล็อก 5 ฝ่ายไป พัน.1 รอ. ปล่อย ส.ว.-กกต. แฉ “ชัยเกษม” ดื้อต้นเหตุรัฐประหาร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ประชุม 7 ฝ่ายเริ่มวุ่น!! “ประยุทธ์” ชิ่งออกสโมสร ทบ. “สุเทพ” พร้อมแกนนำ กปปส.ถูกคุมขึ้นรถตู้ คาดไปกองพันทหารราบที่ 1 รอ. ส่วนฝ่ายอื่นยังไม่พบตัว พร้อมกักสื่อไม่ให้เข้าพื้นที่ ขณะ ทรท.เตรียมแถลงแล้ว
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่สโมสรทหารบก เมื่อเวลา 16.45 น. มีรายงานว่า การประชุมร่วมระหว่างผู้นำเหล่าทัพกับ 7 ฝ่าย ได้มีการพักชั่วคราว แต่ปรากฏว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกจากสโมสรทหารบก ได้นั่งรถประจำตำแหน่ง ออกจากสโมสรทหารบก เป็นเป็นคันแรก ไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์(ร.1 รอ.) จากนั้นมีรถประจำตำแหน่งของผบ.เหล่าทัพ ได้แก่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. และพล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. ตามขบวนกันออกไป
กระทั่งเวลา 16.40น. ผู้สื่อข่าวที่ยืนรอทำข่าวการหารือตัวกลุ่ม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกประเทศ ต้องอยู่ในอาการตกตะลึง เมื่อทหารนำรถจีเอ็มซี จำนวน 3 คันมาปิดที่บริเวณถนนเข้าออกสโมสรทหารบก และอีก 2 คันปิดที่ทางแยกไปยังอาคารกำลังเอก ที่ใช้ทำงานของสื่อมวลชน รวมไปถึงจอดขวางบนเส้นทางที่จะออก ถ.วิภาวดีรังสิตด้วย
จากนั้นก็มีทหารจำนวนมาก พร้อมอาวุธครบมือมายืนตั้งแถวกันผู้สื่อข่าวและช่างภาพให้ออกห่างจากจุดดัง กล่าวและให้ไปรวมตัวอยู่ที่อาคารกำลังเอก และให้รอฟังแถลงการณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. แต่ปรากฎผู้สื่อข่าวยังต้องการปฏิบัติหน้าที่บริเวณดังกล่าว ทำให้ทหารต้องเรียกกำลังมาเพิ่มเติมและให้อยู่ห่างจากถนน
ต่อมมีรถตู้สีขาวจำนวน 5 คันปิดแผ่นป้ายทะเบียนได้ทยอยออกมาจากลานจอดรถด้านใต้สโมสรทหารบก ผ่านด้านหน้าอาคารและผ่านหน้าผู้สื่อข่าวไป แต่ระหว่างที่ผ่านผู้สื่อข่าวทำให้ขบวนรถตู้ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากรถติด ขณะที่ผู้สื่อข่าวและช่างภาพได้เข้าไปล้อมรถตู้บางคันเอาไว้ เพื่อดูว่าใครอยู่ภายใน ทำให้เห็นว่ารถตู้ทุกคันมีทหารนั่งอยู่ด้วย และพบว่ารถตู้คันแรก มีแกนนำ นปช. นั่งอยู่ภายในและสังเหตุเห็นได้ว่ามีการนำผ้าสีดำมาปิดตา พร้อมมีทหารนั่งควบคุมตัวภายในรถด้วย คันถัดไปเป็นรถที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. แต่ไม่มีนำผ้าสีดำมาปิดตาแกนนำ กปปส. มีเพียงทหารพร้อมอาวุธครบมือนั่งควบคุมตัวอยู่
ทั้งนี้ระหว่างที่ขบวนรถตู้นายสุเทพ หยุดชะงักนั้น ผู้สื่อข่าวสังเหตุเห็นว่านายสุเทพนั่งอยู่ภายในรถอย่างชัดเจน จึงกรูกันเข้าไปตะโกนสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้ทหารรีบใช้ตัวบังนายสุเทพ เอาไว้ เพื่อไม่ให้ผู้สื่อข่าวถ่ายภาพได้ โดยนายสุเทพ โบกมือกับผู้สื่อข่าวเท่านั้น ขณะเดียวกันบริเวณดังกล่าวมีทหารจากกองพลทหารม้าที่2 รักษาพพระองค์(พล.ม.2 รอ.) เข้ามาควบคุมพื้นที่และกักบริเวณผู้สื่อข่าวพร้อมอาวุธครบมือ และใช้มาตรการควบคุมสูงสุด
สำหรับผู้เข้าร่วมการหารือจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย รัฐบาล วุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)นั้น ยังไม่ได้รับบการยืนยันว่าถูกควบคุมตัวออกไปหรือไม่ ซึ่งจากการที่ผู้สื่อข่าวพยายามติดตามไปยังโทรศัพท์ของแต่ละคนที่เข้าร่วม หารือนั้น พบว่าไม่สามารถติดต่อไป
ทั้งนี้ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ตัดภาพมาที่กองอำนวยการรักษาความสงบ พร้อมเตรียมออกแถลงการณ์
แหล่งข่าวจากที่ประชุม 7 ฝ่ายที่กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้กล่าวถึงบรรยากาศก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะประกาศยึดอำนาจว่า ผู้เข้าร่วมประชุมชุดเดิมที่เดินทางไปต่างรู้สึกได้ถึงความแตกต่างของ บรรยากาศการรักษาความปลอดภัยในวันนี้ ที่ทางกองทัพได้จัดกำลังทหารเข้ามาดูแลภายในตัวอาคารสโมสรกองทัพบกที่ใช้ เป็นสถานที่หารือจำนวนมาก และแต่ละคนจะพกอาวุธประจำกาย ขณะเดียวกันบรรดาเสนาธิการทหาร ก็ได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ขณะที่วันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา แม้จะมีเจ้าหน้าที่ทหารประจำการในอาคารแต่ก็ไม่มีการพกพาอาวุธ และแต่ละเหล่าทัพก็มีเพียงผู้นำ หรือตัวแทนเหล่าทัพบางคนเท่านั้น นอกจากนี้ก่อนการหารือยังได้มีการขอเก็บเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดของผู้เข้า ร่วมประชุม เนื่องจากการหารือเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ได้มีภาพภายในห้องประชุมออกไปเผยแพร่ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่อยากให้มีภาพในลักษณะดังกล่าวหยุดออกไปอีก และได้กันผู้ติดตามให้ไปรอผู้ร่วมประชุมอีกชั้นหนึ่ง
อย่างไรก็ตามเมื่อการประชุมเริ่มขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางตามที่ได้ให้การบ้านไปก่อนหน้านี้ โดยแต่ละฝ่ายก็ยังคงนำเสนอแนวทางในมุมของตัวเองซึ่งเห็นว่าเป็นทางออกที่ดี ที่สุดของประเทศแล้ว เมื่อแต่ละฝ่ายไม่มีจุดร่วมที่ตรงกัน พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอพักการประชุม และเชิญ แกนนำฝ่าย นปช. และ กปปส. ไปหารือร่วมกันอีกห้องหนึ่ง ประมาณ 45 นาที เมื่อกลับมาที่วงหารือแล้วก็ยังได้เชิญเฉพาะ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ไปพูดคุยกันส่วนตัวประมาณ 1 นาที ก่อนที่จะกลับมาที่วงหารือและได้สอบถาม นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช้หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษม ระบุว่านาทีนี้ไม่ลาออก พล.อ.ประยุทธ์ จึงบอกว่า “ถ้างั้นตั้งแต่นาทีนี้ ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง”
จากนั้นก็ได้เชิญ ตัวแทน ส.ว. และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกจากที่ประชุม โดยไม่มีการควบคุมตัวไว้แต่ขอให้ยังอยู่ในพื้นที่สโมสรทหารบกเพื่อรอเคลียร์ บุคคลไม่เกี่ยวข้องให้ออกจากพื้นที่ก่อน ส่วนตัวแทนจากฝ่ายอื่นๆ ก็ได้ถูกควบคุมตัวไปยังสถานที่สถานที่หนึ่ง
ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปประกอบด้วย 1.ฝ่ายรัฐบาล นายชัยเกษม นิติสิริ, นายวราเทพ รัตนากร, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์, นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย,
2.พรรคเพื่อไทย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์, นายภูมิธรรม เวชยชัย, นายชูศักดิ์ ศิรินิล, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
3.พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายจุติ ไกรฤกษ์, นายศิริโชค โสภา, นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ, นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
4.กปปส. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์, นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข
5.นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นางธิดา ถาวรเศรษฐ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง
ต่อมาเวลา 17.26 น. ทหารได้เปิดให้สื่อมวลชนออกจากพื้นที่สโมสรทหารบกแล้ว โดยใช้ประตู 2 ของสนามกีฬากองทัพบกแล้ว
เวลา 17.30 น. นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวกับผู้สื่อข่าวผ่านทางโทรศัพท์ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถออกจากพื้นที่สโมสรได้ เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเคลียร์คนออกจากพื้นที่แต่ไม่ได้มีการควบ คุมตัว กกต. หรือ ส.ว. แต่อย่างใด และเท่าที่เห็นบรรยากาศก็ยังไม่มีเหตุรุนแรง ส่วนกกต.จะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นคงต้องรอดูประกาศคำสั่งของ คสช.ก่อนหากมีการฉีกรัฐธรรมนูญองค์กรอิสระก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อน
เวลา 17.40 น.เจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นรถ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. พบอาวุธปืน 4 กระบอก มีด 1 เล่ม วิทยุสื่อสาร 1 เครื่อง ขณะที่ทหารได้ประกาศให้ผู้สื่อข่าวออกจจากพื้นที่สโมสรทหารบกทั้งหมด
ทักษิณ'ไม่ยอมรับข้อเสนอรัฐบาลลาออก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ทักษิณ" สั่งลุย ไม่ยอมรับข้อเสนอรัฐบาลลาออก ย้ำยึดกรอบของกฎหมาย ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในการเจรจาระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กับคู่ขัดแย้งวานนี้ (21พ.ค.)พล.อ.ประยุทธ์ ได้ เสนอเงื่อนไข 3 ข้อ ไปยังพรรคเพื่อไทย คือ 1. ให้ครม.ลาออกทั้งคณะ 2. ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมา และ 3. นปช.และกปปส. ยุติการชุมนุมทั้งคู่ แต่เมื่อแกนนำพรรคได้นำข้อเสนอของกองทัพไปหารือ กับพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้รับการปฏิเสธทั้งหมด พร้อมทั้งให้พรรคต่อสู้อย่างถึงที่สุด ตามกรอบของกฎหมาย
แหล่งข่าวจาหกพรรคเพื่อไทย บอกด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเสนอเงื่อนไขกลับไปยังกองทัพอีกด้วยว่า ควรจะมีการนิรโทษกรรมทุกฝ่ายพร้อมกันให้หมด และตระกูลชินวัตรก็พร้อม ที่จะวางมือทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกันรวมทั้งจากนี้สิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินหน้าผลักดันกับกองทัพคือบีบให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วทุกวิถีทาง
เกมนี้ “กองทัพ” ชนะคู่ขัดแย้ง รัฐประหารรวบตัวการเรียบ!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
กอง ทัพเตรียมการเป็นระบบ จัดการคู่ขัดแย้ง แค่ 61.5 ชั่วโมงหลังประกาศกฎอัยการศึกเข้าสู่การรัฐประหาร สั่งรวบตัวคู่ขัดแย้งยกชุด จับอาวุธสงคราม รวบหัวโจกที่คาดจะเข้ามาป่วน ประกาศเคอร์ฟิวทั่วราชอาณาจักร “คสช.” ฉีก รธน.ปี 50 ส่วนวุฒิสภา ศาล องค์กรอิสระ ให้ทำหน้าที่ต่อไป และจับตาใครคือนายกฯ-สภานิติบัญญัติเข้าบริหารประเทศ |
||||
|
||||
61 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ประกาศกฎอัยการศึกในเวลาตี 3 ของวันที่ 20 พ.ค. 2557 และตั้ง กอ.รส. (กองอำนวยการรักษาความสงบแห่งชาติ) เพื่อเป็นตัวกลางเปิดเจรจาระหว่าง รัฐบาล กปปส. นปช. พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาทางออกประเทศร่วมกัน โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการ กอ.รส. ยื่นคำถามให้ทั้งหมดไปหาคำตอบ 5 ข้อ ได้แก่ 1. การปฏิรูปจะทำอย่างไร จะปฏิรูปก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง 2. รัฐบาลรักษาการหรือรัฐบาลเฉพาะกาล จะได้มาอย่างไร 3. ควรจะมีการทำประชามติหรือไม่ 4. การสร้างบรรยากาศเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งควรจะทำอย่างไร และ 5. ขอให้ผู้ชุมนุม กปปส. และ นปช. ยุติการชุมนุมเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย สามารถนำไปสู่บรรยากาศการเลือกตั้งที่สำเร็จได้ โดยขอให้นำคำตอบกลับมาเสนอให้ที่ประชุมรับทราบในวันที่ 22 พ.ค. เวลา 14.00 น. อีกครั้ง สุดท้ายเมื่อทุกฝ่ายกลับมาคุยกันอีกรอบ แต่ข่าวที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งไม่ยอม ให้เดินหน้าเลือกตั้งเพียงประการเดียว ทำให้การเจรจาวันที่ 22 พ.ค.ที่เริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 น. ล่มไม่เป็นท่า ทหารจึงตัดสินใจยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหาร ในวันที่ 22 พ.ค. 57 เวลา 16.30 น.ด้วยการออกประกาศตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศทันที “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป” โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศถึงคณะทูตานุทูต สถานกงสุล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะให้ความคุ้มครอง และขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยังเป็นไปตามปกติ ตามที่รัฐบาลชุดเดิมดำเนินการไว้ รวมถึงหลังการเจรจา แกนนำทั้ง 7 กลุ่ม ถูกทหารควบคุมตัวเบ็ดเสร็จ ถือว่ารัฐประหารฟ้าแลบนี้ ใช้เวลาหลังประกาศกฎอัยการศึกแค่ 60 กว่าชั่วโมงเท่านั้น! ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากประกาศรัฐประหารแบบสายฟ้าแลบแล้ว ต่อจากนี้ไป คสช.จะต้องรับบทหนักที่สุด โดยเฉพาะปัญหาที่ต่างชาติ โดยเฉพาะมหาอำนาจต่างๆ อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะเข้ามาต่อต้านการทำรัฐประหารในประเทศไทยซึ่ง คสช.ได้เตรียมพร้อมสำหรับการพูดคุยกับทูตไว้เรียบร้อย ด้าน อาจารย์คมสัน โพธิ์คง อาจารย์ด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ต่อจากนี้ไปจะต้องรอดู คสช. ว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญไหม จะใช้ฉบับที่มีอยู่แต่ละเว้นบางประการหรือไม่ หรือจะเขียนขึ้นใหม่เลย จะมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือไม่ จากนั้นจะมีการตั้งรัฐบาล ตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นมาใหม่ หรืออาจจะให้ใช้สภานิติบัญญัติที่มีอยู่ ต่อจากนั้นจะเป็นการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง |
||||
|
||||
กองทัพเตรียมการเป็นระบบก่อนรวบตัว อย่างไรก็ดี การแก้วิกฤตการเมืองที่มีความพยายามของหลายฝ่ายไม่สามารถหาทางออกได้ และกองทัพเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดการปะทะกันของมวลชนทั้ง 2 ฝ่ายจึงมีความเป็นไปได้สูง และไม่มีใครคาดคิดว่าย่างเข้าวันที่ 20 พฤษภาคม ในช่วงเวลาตี 3 กองทัพบก โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จะประกาศกฎอัยการศึก ด้วยเหตุผลว่าต้องการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น และจากนั้นมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เริ่มด้วยการสั่งให้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งขึ้นนั้นยุบไป และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำอยู่กลับไปสู่ที่ตั้งทั้งหมด จากนั้นมีกำลังทหารถูกกระจายไปประจำในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์และเพื่อให้มีการถ่ายทอดสัญญาณคำสั่งหรือประกาศของกอง อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ เป็นผู้อำนวยการ ถัดมาได้มีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 10 สถานียุติการออกอากาศ หนึ่งในนั้นเป็นสถานีบลูสกายที่ถ่ายทอดการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. และสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดทที่ถ่ายทอดการชุมนุมของกลุ่ม นปช. และยุติการออกอากาศของวิทยุชุมชนที่ไม่มีใบอนุญาต ต่อมาได้ออกคำสั่งยุติการออกอากาศเพิ่มอีก 4 สถานี หนึ่งในนั้นเป็น Voice TV ของนายพานทองแท้ ชินวัตร นอกจากนี้ยังกำชับถึงสื่อออนไลน์ต่างๆ ให้ระมัดระวังการนำเสนอข่าวสารที่ไม่ก่อให้เกิดการยั่วยุ ปลุกระดม หรือกระทบต่อมาตรการรักษาความสงบของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงคุมเข้มห้ามเชิญแขกรับเชิญในรายการ ที่อาจแสดงความเห็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง พร้อมกับการออกคำสั่งให้ผู้ชุมนุมของ กปปส.และ นปช.ห้ามเคลื่อนย้ายมวลชน โดยให้อยู่ในพื้นที่ตั้ง ค้นอาวุธ-จัดการฮาร์ดคอร์ ในอีกด้านหนึ่งกำลังพลของทหารได้เข้าควบคุมตัว “เลิศ ไม้เก่า” หรือนายบุญเลิศ เรืองทิม แกนนำการเคลื่อนไหวเสื้อแดง นปช.พิษณุโลก กลุ่มนักรบพระองค์ดำ ได้ถูกชุดปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3 ควบคุมตัว หลังประกาศใช้กฎอัยการศึก โดยชุดปฏิบัติการของกองทัพภาคที่ 3 ได้เข้าควบคุมตัวตามข้อหายั่วยุ ก่อให้เกิดความไม่สงบ ประกอบกับยังมีหมายจับเกี่ยวข้องกับคดีฆ่านักศึกษารามคำแหง จากนั้นได้เข้าจับกุมผู้ที่ครอบครองอาวุธสงครามได้อีกหลายรายทั้งที่ กรุงเทพฯ ลพบุรี และที่สมุทรสาคร โดยก่อนหน้านี้มีการจับอาวุธสงครามที่รีสอร์ตแห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นของนักการเมืองพรรคเพื่อไทย สั่งข้าราชการบริหารประเทศ ในวันดังกล่าว (20 พ.ค.) ทางกองทัพได้เชิญข้าราชการระดับปลัดกระทรวงและส่วนราชการอื่นๆ เข้ามารับทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป โดยภาคกลางให้ไปรายงานตัวที่สโมสรกองทัพบก กรุงเทพมหานคร ภาคอีสานให้รายงานตัวที่กองทัพภาค 2 (นครราชสีมา) ภาคเหนือให้รายงานตัวที่กองทัพภาคที่ 3 (พิษณุโลก) และพื้นที่ภาคใต้ให้รายงานตัวที่กองทัพภาคที่ 4 นครศรีธรรมราช จะเห็นได้ว่าหลังการประกาศกฎอัยการศึกของพลเอกประยุทธ์ในครั้งนี้ ได้มีการวางแผนในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบ หน่วยทหารต่างๆ ปฏิบัติเดินหน้าไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จึงทำให้สถานการณ์ทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย แม้กระทั่งแกนนำของ กปปส.และแกนนำ นปช.ก็ไม่ได้ออกมาต่อต้านการประกาศกฎอัยการศึกดังกล่าว ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากคำสั่งของ กอ.รส. จะเห็นได้ว่ามีความพยายามที่จะปิดจุดอ่อนหรือปิดทางที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ แทรกซ้อนขึ้นมาได้ เช่น คำสั่งห้ามพกพาอาวุธสงครามและระเบิด ยกเว้นทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของ กอ.รส. เท่ากับเป็นการอนุญาตให้เฉพาะทีมงานของ กอ.รส.เท่านั้น และทหารที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้จะมีสัญลักษณ์บอกฝ่ายคือริบบิ้นสี ม่วง สถานการณ์ในวันที่ 20 พฤษภาคมตลอดทั้งวันและกลางคืนจึงไม่เกิดเหตุร้ายแรงใดๆ ขึ้นมา |
||||
|
||||
เรียกคู่ขัดแย้งเจรจาหาทางออกประเทศ เข้าสู่วันที่ 2 ของการประกาศใช้กฎอัยการศึก 21 พฤษภาคม 2557 หัวใจสำคัญคือการเชิญคณะบุคคล 7 กลุ่ม และกลุ่มละ 5 คน เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนรัฐบาล ผู้แทนวุฒิสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้แทนพรรคเพื่อไทย ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ผู้แทน กปปส.และผู้แทน นปช. ที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ พยายามปิดช่องไม่ให้เกิดความรุนแรงในระหว่างที่แกนนำ กปปส. เดินทางเข้ามาประชุม โดยการให้ระงับการบังคับใช้กฎหมายทั้งปวงกับผู้กระทำผิดเป็นการชั่วคราว เพื่อให้คู่ขัดแย้งทางการเมืองเข้ามาร่วมกันหาทางออกได้โดยไม่ถูกจับกุม ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลรักษาการอาจใช้ช่องว่างดัง กล่าวจับกุมผู้ที่มีหมายจับคือแกนนำ กปปส. ในวันดังกล่าวนั้นแม้ไม่สามารถหาข้อยุติได้ และมีการนัดหมายหารือกันใหม่อีกครั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม พร้อมทั้งการบ้าน 5 ข้อที่พลเอกประยุทธ์ฝากไปยังทุกฝ่ายคือ 1. ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อน แล้วจะเลือกกันวันไหน เลือกได้หรือไม่ 2. การทำประชามติว่า จะเลือกตั้งก่อนหรือปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 3. การตั้งนายกรัฐมนตรี คนกลางโดยยึดกฎหมาย 4. การตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลโดยวุฒิสภา 5.ให้ กปปส.และ นปช.ยุติการชุมนุมปล่อยมวลชนกลับบ้าน แล้วมาพูดคุยหาทางออกกันในเมื่อทุกฝ่ายเห็นพ้องว่าต้องการทำให้ชาติสงบ การนัดหมายหารือกันต่อ ทาง กอ.รส.ก็มีประกาศเพื่อคุ้มครองแกนนำที่มีหมายจับเช่นเดิม เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. ที่สโมสรกองทัพบก ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งฝ่าย กปปส.เองก็ยังคงยืนยันแนวทางในการปฎิรูปก่อนเลือกตั้งเหมือนเดิม เช่นเดียวกับฝ่ายรัฐบาลที่ยังคงยึดหลักของการปฏิบัติตามกฎหมาย เดินตามรัฐธรรมนูญและต้องให้มีการเลือกตั้ง การประชุมดำเนินการไปตามปกติ แต่ภายใต้โจทย์ที่คู่ขัดแย้งตั้งธงกันไว้ ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าวันนี้ผลการเจรจากันคงไม่ได้ข้อสรุปอีกเช่นเคย แต่ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าเมื่อการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ลงตัวนั้น จะเกิดการเข้าควบคุมตัวของผู้ที่เข้าร่วมประชุมไว้ในช่วงเวลาประมาณ 16.30 น. หลังจากนั้นในช่วง 17.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตั้งโต๊ะแถลงการณ์ ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว |
||||
|
||||
สั่ง ครม.รักษาการรายงานตัวด่วน พร้อมออกประกาศฉบับที่ 2 และ 3 ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่ 22.00-05.00 น. เป็นต้นไป และประกาศฉบับที่ 4 ให้ทีวี-วิทยุทุกช่องงดรายการปกติของสถานีและให้ถ่ายทอดสัญญาณจากกองทัพบก แทน ขณะเดียวกันยังออกประกาศฉบับที่ 5 ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 คงไว้เพียงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ให้รัฐบาลรักษาการพ้นสภาพการปฎิบัติหน้าที่ ส่วนวุฒิสภาที่เหลืออยู่ตั้งแต่วันที่ประกาศ 22 พ.ค. ให้ปฎิบัติหน้าที่ต่อไป และให้องค์กรตุลาการ ศาล องค์กรอิสระ ยังปฎิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนประกาศฉบับที่ 6 ให้ ครม.รักษาการ 18 คน ไปรายงานตัวที่กองบังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ประกอบด้วย 1. นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล 2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง 4. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี 5. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 6. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 7. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง 8. นางเบญจา หลุยเจริญ 9. นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ 10. นางปวีณา หงสกุล 11. พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต 12. นายพ้อง ชีวานันท์ 13. นายยรรยง พวงราช 14. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ 15. นายสนธยา คุณปลื้ม 16. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ 17. นายสรวงศ์ เทียนทอง 18. นายประเสริฐ บุญชัยสุข พร้อมออกประกาศฉบับที่ 7 ห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และให้มวลชนที่ร่วมชุมนุมอยู่ในปัจจุบันกลับบ้านตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่ง คสช.มีการจัดรถ บขส.จำนวน 70 คัน เพื่อจัดส่งผู้ชุมนุมกลับบ้านด้วย รายชื่อคู่ขัดแย้งที่ถูกควบคุม รายงานข่าวแจ้งว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล นายชัยเกษม นิติสิริ นายวราเทพ รัตนากร นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย พรรคเพื่อไทย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ นายภูมิธรรม เวชยชัย นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายจุติ ไกรฤกษ์ นายศิริโชค โสภา นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กปปส. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นางธิดา ถาวรเศรษฐ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง |
ค้นรถ'จตุพร'พบปืน-มีดพับ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ค้นรถ "จตุพร" พบปืน 4 กระบอก และมีดพับ เบื้องต้นทหารคุมคนขับไว้สอบสวนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศยึดอำนาจการปกครองนั้น เจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุมพื้นโดยรอบสโมสรกองทัพบก โดยตรวจค้นยานพาหนะทุกคันอย่างละเอียด รวมถึงรถยนต์ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และพบอาวุธปืนสั้นจำนวน 4 กระบอก และมีดพับ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารจะเก็บอาวุธไว้ และควบคุมตัวคนขับรถไว้สอบสวนต่อไป
กปปส.-คปท.เลิกม็อบ!! ทหารคุม “เหวง” ให้แดงพ้นอักษะ - "นิวัฒน์ฯ" ชิ่งหนีทัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ผู้ชุมนุม กปปส. ส่งเสียงนกหวีดเฮลั่นหลัง “ประยุทธ์” ประกาศยึดอำนาจ แต่แกนนำไม่ให้สัมภาษณ์บนเวทีบอกให้มวลชนปักหลักอยู่กับที่ แต่หลังจากนั้นไม่นาน "ถาวร" บอกม็อบทหารประสานให้กลับบ้าน โดยจัดรถบริการส่งกลับ ด้านม็อบ นปช. ทหารควบคุมตัว “หมอเหวง” พร้อมให้ชุมนุมกลับบ้าน “นิวัฒน์ธำรง” นกรู้ชิ่งก่อน
วันนี้ (22 พ.ค.) ที่เวทีการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) บริเวณหน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แยกมัฆวาน ถนนราชดำเนินนอก หลังผู้ชุมนุมทราบแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อมด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ ออกแถลงการณ์ยึดอำนาจเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ที่ทราบผ่านจอโปรเจกเตอร์ที่ถ่ายทอดภาพจากสถานีโทรทัศน์ ต่างส่งเสียงเฮ พร้อมเป่านกหวีด แสดงความดีใจ
ขณะที่ความเคลื่อนไหวฝ่ายแกนนำ กปปส. ล่าสุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ แกนนำ กปปส. เปิดเผยเพียงสั้นๆ เช่นเดียวกันว่า ในขณะนี้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรได้ในตอนนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามโทรศัพท์สอบถามจาก นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. ก็ได้ปฏิเสธไม่ให้สัมภาษณ์ ส่วนแกนนำ กปปส. คนอื่นๆ ก็ไม่สามารถติดต่อได้เลย ต่อมา นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายสกลธี ภัททิยกุล นายชุมพล จุลใส นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และนายวิทยา แก้วภราดัย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกล่าวกับผู้ชุมนุมว่า ให้มวลชนปักหลักอยู่กับที่ เพื่อรอฟังท่าทีจากทางแกนนำ และให้เคารพในแถลงการณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ และรอให้ฟังประกาศฉบับต่อไป
ต่อมาแกนนำ กปปส. และ แนวร่วม กปปส. เช่น นายพุฒิพงศ์ ปุณณกันต์, นายชุมพล จุลใส, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายสกลธี ภัททิยกุล, นายวิทยา แก้วภราดัย, นายถาวร เสนเนียม, เรือตรี แซมดิน เลิศบุศย์ ได้ขึ้นเวทีชุมนุมองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) แจ้งข่าวเกี่ยวกับการควบคุมตัวแกนนำ กปปส. และ แกนนำ นปช. ให้กับผู้ชุมนุมได้รับทราบและขอให้ผู้ชุมนุมใช้สติอยู่ในความสงบ รวมทั้งให้อยู่ในพื้นที่ชุมนุมห้ามเรียกหรือระดมมวลชนหรือเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้นอย่างเด็ดขาด ขอให้รอฟังจากแกนนำ กปปส. เท่านั้น ที่สำคัญขอให้ผู้ชุมนุมทุกคนมั่นใจในแกนนำ กปปส. จะไม่ทิ้งมวลชนและอยู่เคียงข้างไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และให้ผู้ชุมนุม กปปส. ดำเนินกิจกรรมตามปกติเหมือนเช่นทุกวันที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายวิทยา แก้วภราดัย แกนนำ กปปส. ได้แจ้งกับผู้ชุมนุม กปปส.ว่า แกนนำ กปปส. ที่ถูกควบคุมตัว คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์, นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ยังอยู่ดี ในส่วนของ แกนนำ กปปส. ที่เหลือยังคงทำหน้าที่ชุมนุมต่อไป มองว่า การประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เป็นเรื่องที่ดีในการเปิดทางไปสู่การปฏิรูปประเทศและช่วยกำจัดปัญหาการ ทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมทั้งยืนยันว่า แกนนำ กปปส. จะเฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาลเฉพาะกิจว่าจะปฏิรูปอยู่ในแนวทางเคลื่อนไหว ของประชาชนหรือไม่
อีกด้านหนึ่งที่ถนนอุทยาน เขตทวีวัฒนา กำลังทหารได้เข้าควบคุมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) โดยเริ่มจากไล่เช็กชื่อการ์ด นปช. ขณะที่ผู้ชุมนุมบางส่วนได้เก็บข้าวของหลบหนี เพื่อเร่งเดินทางกลับ โดยทหารได้ควบคุมตัว นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. และแจ้งให้ผู้ชุมนุม นปช. ออกจากพื้นที่ถนนอุทยาน ทหารจะพากลับ ซึ่งมวลชน นปช. ส่วนหนึ่งเริ่มแห่กลับบ้าน ขณะที่บางส่วนไม่ยอม
ส่วนที่กระทรวงพาณิชย์ มีรายงานว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ได้รีบเดินทางออกจากกระทรวงพาณิชย์ไปเมื่อ 2 ชั่วโมงที่แล้ว ก่อนจะมีการยึดอำนาจ
เวลา 18.20 น. พ.อ.สมบัติ ธัญญะวัน ผู้บังคับการ กรมนักเรียน โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า ทำหน้าที่เข้าเจรจากับนายถาวร เสนเนียม และแกนนำกปปส.ที่เหลือ เพื่อขอคืนพื้นที่ถนนราชดำเนิน พร้อมให้ยุติการชุมนุมของกลุ่มกปปส.
โดยนายถาวร กล่าวว่า ทหารได้เข้ามาขอความร่วมมือให้ยุติการชุมนุม โดยทหารจะส่งรถบัสมารับผู้ชุมนุมโดยแบ่งเป็นภาคเพื่อจัดส่งกลับบ้านภายในคืน นี้ โดยรถจะรอรับผู้ชุมนุมที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ในเวลา 19.00 น. พร้อมยืนยันว่าเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ไม่ใช่การสลายการชุมนุมแต่อย่างใด
ขณะที่แกนนำกปปส.ทุกคนจะรอส่งผู้ชุมนุมจนถึงคนสุดท้าย ส่วนท่าทีหลังจากนี้นายถาวรจะหารือกับแกนนำอีกครั้ง เนื่องจากแกนนำยังคงถูกออกหมายจับ
ล่าสุดเวทีเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ได้ประกาศให้มวลชนทยอยกลับบ้านแล้ว
ทหารยึด ถ.อักษะ จับกุมแกนนำ นปช.หลังรัฐประหาร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ทหารเข้ายึดพื้นที่ ถ.อักษะ ที่ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง นปช. พร้อมควบคุมตัวแกนนำ ขณะคุมตัวมีเสียงปืนและประทัดดังขึ้น แจงให้กลับแต่ผู้ชุมนุมไม่ยอม
วันนี้ (22 พ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า เวลา 17.30 น. เวทีชุมนุมคนเสื้อแดง ถ.อักษะ พุทธมณฑล เกิดความปั่นป่วนขึ้น ภายหลังจากมีกระแสข่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ประกาศยึดอำนาจการปกครองในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมควบคุมแกนนำกลุ่มต่างๆ เอาไว้ ล่าสุดพบว่ามีทั้งเสียงปืนและเสียงประทัดดังขึ้น ขณะที่คนเสื้อแดงระบุว่า มีทหารเข้ามาควบคุมพื้นที่ชุมนุม ถ.อักษะ แล้ว
ล่าสุด เมื่อเวลา 17.35 น. มีรายงานว่า ทหารได้ขึ้นไปยึดพื้นที่บนเวทีคนเสื้อแดง ถ.อักษะ แล้ว
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทหารแจ้งให้ผู้ชุมนุม นปช. ออกจากพื้นที่ถนนอุทยาน ทหารจะพากลับ แต่มวลชนไม่ยอม
ทหารคุมตัว “เหลิม” พร้อม “ลูกดวง” ไป ร.1
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
เมื่อเวลาประมาณ 20.20 น. ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายดวง อยู่บำรุง บุตรชาย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีต รมว.แรงงาน ว่า ขณะนี้ ตนกำลังอยู่บนรถกับบิดา และทหารกำลังนำตัวไปที่ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.)
ต่อมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ ร.1 รอ. ร.ต.อ.เฉลิม ได้พบกับบรรดานักการเมืองจากทั้งฝั่งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูก เจ้าหน้าที่ทหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมตัวไปตั้งแต่ช่วงบ่าย เช่น พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์, นายภูมิธรรม เวชยชัย, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายศิริโชค โสภา, นายจุติ ไกรฤกษ์, นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ, นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน
ทักษิณ'ไม่ยอมรับข้อเสนอรัฐบาลลาออก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์