ชงคสช-ลดภาษีมนุษย์เงินเดือน
จาก โพสต์ทูเดย์
กรมสรรพากรเดินหน้าลดภาษีบุคคลธรรมดาให้ต่ำกว่า 35% พร้อมลดภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 20% เป็นการถาวร
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรจะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดปัจจุบันที่ 35% เนื่องจากยังเป็นอัตราที่ไม่จูงใจให้ผู้ที่มีรายได้เสียภาษีเข้ามาอยู่ในระบบ
นอกจากนี้ จะมีเสนอเพิ่มการหักค่าใช้เหมารวมจากเดิมไม่เกิน 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท ให้เป็นไม่เกิน 1.2 แสนบาท ขณะเดียวกัน ก็จะมีการทบทวนสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี LTF และ RMF และการลดหย่อนอื่นๆ ให้เป็นธรรมกับกลุ่มบุคคลที่มีรายได้กลางและต่ำมากขึ้น
นายสุทธิชัย กล่าวว่า กรมสรรพากรยังจะเสนอ คสช. ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) คงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% ให้มีผลถาวร จากเดิมที่จะสิ้นสุดปีงบประมาณ 2557 นี้ และเสนอให้คงอัตราภาษีจัดเก็บมูลค่าเพิ่มที่ 7% ต่อไปอีก 1 ปี ให้มีผลสิ้นสุดปีงบประมาณ 2558
สรรพากรเสนอคสช. คงแวต7% อีก1ปี ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล20%ถาวร เพิ่มหัก′ค่าใช้จ่าย′จาก6หมื่นเป็น1.2แสน
สรรพากร เสนอคสช. คงแวต 7% อีก 1ปี ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% เป็นการถาวร เล็งลดภาษีมนุษย์เงินเดือนลงอีก จากสูงสุด35% พร้อมรื้อสิทธิประโยชน์ เพิ่มค่าลดหย่อนให้มากขึ้น อาทิเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายจาก 60,000 บาท เป็น 120,000 บาท
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต)นั้น สรรพสากรเสนอไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้คงภาษี 7% จากเพดาน 10% ออกไปอีก 1 ปี โดยแวตมีกำหนดหมดอายุการลดถึง 30 กันยายน 2557 นอกจากนี้เสนอให้ออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% เป็นการถาวร ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดอัตราสูงสุด 35% และมีขั้นการเสียภาษี 7 ขั้นที่กำหนดไว้ถึง 31 ธันวาคม 2557 จะเสนอให้ต่ออายุออกปีอีก 1 ปี เพื่อจะให้มีเวลาปรับโครงสร้างใหม่และประกาศใช้อย่างถาวร
ทั้งนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นสรรพากรเห็นว่าควรลดลงจากอัตราสูง สุดจากปัจจุบันที่ 35% เนื่องจากมองว่าอัตราดังกล่าวยังไม่จูงใจ เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ที่มีอัตราการจัดเก็บที่ต่ำกว่าไทย และผู้ที่ยื่นแบบส่วนใหญ่จะเสียภาษีให้รัฐ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้มีการเสียภาษีมากขึ้น จากปัจจุบันมีผู้เสียภาษีเพียง 2 ล้านรายจากผู้ยื่นแบบ 10 ล้านราย รวมถึงจะเสนอให้ทบทวนสิทธิประโยชน์ลดหย่อนต่างๆ อาทิ การลดหย่อนกองทุนทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ( RMF)
นอกจากนี้ในเรื่องของการหักค่าใช้จ่ายภาษีปัจจุบันกำหนดให้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มเป็น 120,000 บาทต่อคนต่อปี โดยในส่วนที่เพิ่มอีก 6 หมื่นนั้นจะใช้ใบกำกับภาษีใช้ในการลดหย่อน ตรงนี้จะเป็นการทำให้คนเข้ามาในระบบภาษี และทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับรายจ่ายในปัจจุบันมากขึ้น
ที่มา มติชนออนไลน์
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน