จัดทัพ ขรก.รื้อประชานิยม
จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์
บรรดาโครงการประชานิยม ซึ่งก่อร่างสร้างขึ้นในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งสืบทอดมรดกมาถึงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจถึงคราวได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ
เริ่มมีสัญญาณมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าเป็นหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยที่ส่งไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องแนวปฏิบัติแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยอ้างถึงนโยบายของหัวหน้า คสช.ตอนหนึ่ง ให้จังหวัดเร่งปลูกฝังและส่งเสริมการประกอบอาชีพให้ราษฎรสามารถประกอบอาชีพ ช่วยเหลือตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ลดแนวทางประชานิยม
หรือแม้แต่สุ้มเสียงจาก พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกลุ่มงานสังคมและจิตวิทยา ซึ่งมาเป็นประธานการประชุมให้นโยบาย 7 กระทรวง มีการพูดถึงการทบทวนโครงการแจกแท็บเล็ต โดยอาจปรับเปลี่ยนด้วยการนำงบประมาณไปดำเนินการปรับห้องเรียนในรูปแบบสมาร์ท คลาสรูม แทน
การรุกคืบทบทวนโครงการประชานิยมจึงน่าจับตามองอย่างยิ่ง แหล่งข่าวฝ่ายความมั่นคงประเมินว่าขณะที่ในการดำเนินการกับนโยบายโครงการ ประชานิยมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พิจารณาตามแนวทาง คสช.ได้พยายามเร่งแต่งตั้งตัวบุคคลระดับหัวหน้าส่วนราชการที่กำกับดูแล หรืออนุมัติโครงการประชานิยมก่อนเป็นอันดับแรกก่อน
จากนั้นทาง คสช.จะมอบนโยบายให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวไปพิจารณา ทบทวน หรือนำเสนอแนวทางใหม่แก่ คสช. หรือรัฐบาลใหม่ที่ คสช.ตั้งขึ้น โดยหัวหน้าส่วนราชการเหล่านี้ก็จะได้เข้ามาสานงานต่อตามแนวทาง หรือโรดแมป ที่ คสช.วางไว้อย่างสอดคล้อง ดังนั้นขณะนี้จะเห็นประกาศแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการกฤษฎีกา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มีคำสั่งให้ปฏิบัติราชการแทนไปพลางก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาล นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่
นอกจากนี้ คสช.ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงทั้งหมดไปพิจารณา การดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงออกเป็น 2 ส่วน คือ นโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐที่เป็นแผนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน นั้นๆ ซึ่งเป็นงานปกติประจำยังคงเดินหน้าต่อไป เพราะเป็นแผนงานที่จัดทำโดยส่วนราชการเอง เช่น นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และอีกส่วนคือนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลชุดเก่า เช่น นโยบายการเจรจากับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ทาง คสช.ได้สั่งการให้ต้นสังกัดที่รับผิดชอบ เช่น สมช. ต้องไปพิจารณา ทบทวน นโยบายดังกล่าวใหม่ พร้อมกับนำเสนอแนวทางใหม่ต่อ คสช.ด้วยว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
สำหรับนโยบายประชานิยมเดิมที่สานต่อตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า แม้ว่ากองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจะเป็นองค์กรอิสระ แต่ก็ต้องรอชี้แจงและรับมอบนโยบายจาก คสช.ด้วย เพราะขณะนี้ยังไม่มีรัฐบาลใหม่หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับดูแล ดังนั้น การพิจารณาอนุมัติงบประมาณในขณะนี้ จึงขึ้นกับ คสช. จะพิจารณาหรือรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณาว่าดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังคงใช้งบประมาณเดิมจากรัฐบาลเก่าไปพลางก่อน
“ขณะนี้ยังรอให้ คสช.เรียกไปรับมอบนโยบายและชี้แจงถึงผลการดำเนินงาน แต่ตอนนี้โครงการทั้งสองยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในขณะนี้” นที กล่าว
ศสช.จี้ทบทวนแผนงานโครงการไม่โปร่งใส
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ศสช.จี้กระทรวงทรัพย์ ทบทวนแผนงานโครงการไม่โปร่งใส ใช้งบไม่คุ้มแล้วเซ็นภายใน 4 เดือน
ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ รองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา และคณะเดินทางมารับฟังยุทธ ศาสตร์ของกระทรวงทรัพยากร ธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารประเทศ มีนายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพ ยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม พร้อมข้าราชการระดับสูง ให้การต้อนรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลเรือเอกณรงค์ ได้เดินดูผลงานที่กรมต่างๆในสังกัดกระ ทรวงนำมาจัดแสดงอย่างสนใจเกือบ 10 นาที อาทิ กรมทรัพยากรธรณีนำกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ที่จังหวัดเชียงราย ส่วนกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำแนวทางการ ปัญหาสถานการณ์ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น และการแก้ปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ของกรมทรัพยากรน้ำ
นายโชติ ได้สรุปว่าหลังคสช.เข้ามาบริหารประเทศ จึงได้ประชุมและชี้แจงกับข้าราชการกรม และขอให้เน้นเรื่องเร่งด่วนในปี 2557 โดยเฉพาะแผนเร่งด่วนเข่น มาตร การแก้ปัญหาไม้พะยูงในเขตป่ารอยต่อมรดกโลก รวมทั้งไม้สักในเขตป่าสาละวินที่ ยังเป็นเรื่องที่ คสช.มีความเป็นห่วง ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนปี 58 จะเน้นงานเร่งด่วนการป้องกันทรัพยากรป่าไม้ และการฟื้นฟูปลูกป่าในพื้นที่ที่ถูกยึดคืนส่วนโครงการด้านแหล่งน้ำ ที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ให้ทบทวน แผนงานอีกครั้ง นอกจากนี้ยังข้อมูลสภาพปัญหาบ่อขยะชุมชนที่มีการสำรวจมากกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศใหักับ คสช.เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานแนวทางแก้ปัญหา
พลเรือเอกณรงค์ กล่าวว่ามาครั้งแรก แต่รู้สึกอบอุ่น เพราะที่ผ้านมาเคยร่วมงานด้านทรัพยากรทางทะเลอย่างใกล้ชิด โดยเป้าหมายมาทส.ครั้งนี่ รับฟังแผนงาปัญหาข้อขัดข้อง อุปสรรคและการทำงานในอนคต ซึ่งสรุปได้ 5 ประเด็นคือ ปัญหาการบุกรุก ตัดไม้พะยูง การครอบครองที่ดินผิดกฎหมาย 2.ปัญหาบริหารจัดการน้ำเชิงระบบ และการบริหารน้ำเพื่อการเกษตรแบพอุทกภัย 3 ปัญหามลพิษ ยอมรับว่ายากที่จะแก้ปัญหาในระยะสั้น ทั่งเรืองน้ำเสีย จัดการขยะ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านกฎหมายและการบังคับใช้ ซึ่งบางฉบับ ล้านสมัยต่อสถานการณ์ และบทลงโืทษเบา ไม่เป็นผลต่อการปัองปราม
พลเรือเอกณรงค์ ได้เน้นย้ำให้ทส.ทำแผนการใช้งบประมาณให้เป็นทิศทางเดียวกัน ปรับปรุงแนวทาง และควรบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นทั้งท่องเทียว ศึกษา และกลาโกม กำหนดดัชนีชี้วัดสะท้อนเห็นถึงผลต่อสภาพทรัพยากร อิงกับเสียหายทางเศรษฐกิจด้วย
"ส่วนโครงการที่ยังเป็นข้อกังขาของสังคม ทั่งแง่โปร่งใส ไม่ค้มค่า ไม่ตอบโจทย์หรือบูราการกับหน่วยงานโดยที่ทส.ไม่ต้องทำเอง ก็ควรต้องทบทวน เพราะในช่วงเวลาปัจจุบันตัองทบทวนและปรับให้เข้าความถูกต้อง ให้เร่งทำก่อนสิ้นปี 57 หรืออีกแค่ 4 เดือน ส่วนการบังคับใช้กฎหมายหลักการผู่ใดก่อมลพิษ ผุ้นั่นตัองเป็นผู้จ่าย เพราะรัฐไม่มีงบในการสนับสนุนและจ่ายแทนกันได้ นอกจากนี้ให้หามาตรการบรรเทาความเดือดร้อนที่ดินทำกิน และการสร้างเครือข่ายสวล. "
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน