สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดผลวิจัยคน ตจว. หนี้ครัวเรือนพุ่ง ธปท. แนะยกระดับรายได้ ลดการบริโภคนิยม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ธปท.เปิดผลวิจัยพบคนอีสาน-เหนือ หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง สถานการณ์เริ่มน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกภาคเกษตร พร้อมให้ข้อเสนอแนะการยกระดับรายได้ โดยการปรับเปลี่ยนการผลิตให้มีความหลากหลาย การปรับปรุงวิธีการผลิตอย่างผสมผสาน และการหาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย การส่งเสริมวินัยในการออมไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็น และการลดกระแสการบริโภคนิยม
       
       นายพิชิต ภัทรวิมลพร ผู้อำนวยการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ทาง ธปท.อีสาน ได้จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “ปัญหาและทางออกหนี้ครัวเรือนไทย” เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้ง 3 สำนักงานภาค ได้แก่ สำนักงานภาคเหนือ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสำนักงานภาคใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จ.อุดรธานี โดยพบว่า ภาวะหนี้ครัวเรือนไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และเกิดขึ้นทั่วไปแต่มีความหนักเบาแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยครัวเรือนภาคใต้มีภาระหนี้ต่ำที่สุด และยังไม่น่ากังวล ขณะที่ครัวเรือนภาคอีสาน และภาคเหนือ มีภาระหนี้ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มที่น่าห่วงมากขึ้น โดยกลุ่มอาชีพนอกภาคเกษตรมีหนี้สูง เนื่องจากกระแสการบริโภคนิยม ขณะที่ครัวเรือนภาคเกษตรมีหนี้สูงจากรายได้ต่ำ เพราะการผลิตพึ่งพาสภาพดิน ฟ้า อากาศที่มีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้ครัวเรือนเกษตรของภาคใต้ในอีกระยะ 4-5 ปีข้างหน้า มีโอกาสเกิดความเสี่ยงมากขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน อาจมีแนวโน้มลดลง
       
       สำหรับประสบการณ์ที่เป็นทางออกของปัญหาหนี้ในส่วนครัวเรือนภาคเกษตร คือ 1) เพิ่มรายได้ โดยการลดความเสี่ยงจากการผลิตพืชหลายๆ อย่าง การนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงผลิตภาพการผลิต การจับกระแสสังคมของผู้บริโภค รวมถึงการผสมผสานระหว่างการขยายพื้นที่เพาะปลูก การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และการลดต้นทุน 2) ลดรายจ่าย โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อดออมมากขึ้น 3) ทั้งเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายโดยการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินของชุมชน ส่วนครัวเรือนนอกภาคเกษตร คือ 1) เพิ่มรายได้ โดยอาศัยความรู้ และช่องทางการตลาด 2) ลดรายจ่าย โดยเปลี่ยนจากหนี้นอกระบบเป็นหนี้ในระบบ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความสำเร็จในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร มีวิธีการที่แตกต่างกัน
       
       แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญเหมือนกัน คือ ครัวเรือนมีการวางแผนทางการเงิน ซึ่งอยู่บนฐานของความรู้ทางการเงิน และเครื่องมือที่สำคัญ คือ การบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน
       
       ขณะที่ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นทางออกของหนี้ครัวเรือน คือ การยกระดับรายได้ โดยการปรับเปลี่ยนการผลิตให้มีความหลากหลาย การปรับปรุงวิธีการผลิตอย่างผสมผสาน และการหาช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย การส่งเสริมวินัยในการออมไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็น และการลดกระแสการบริโภคนิยม โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       
       นอกจากนี้ จากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งภาค เกษตร และนอกภาคเกษตรมาจากการวางแผนทางการเงินที่ดี โดยใช้ทักษะความรู้ทางการเงิน และที่สำคัญคือ การบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น มาตรการสนับสนุนของภาครัฐควรดำเนินการอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นให้มีการปรับตัว มีวินัย มีความรู้ อดออม และลงทุนอย่างชาญฉลาด เพื่อยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปลูกฝังการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อสร้างวินัยให้ตระหนักถึงความ สำคัญของการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
       
       สำหรับ ธปท. โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ร่วมกับส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงินของสำนักงานภาค ต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ทางการเงินที่จะเป็นเข็มทิศชี้นำ ให้ประชาชนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงิน รวมถึงส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับความรู้ความเข้าใจทางการเงินให้สามารถ บริหารการเงิน และหนี้สินของตนเองได้อย่างเหมาะสม รู้จักวางแผน และบริหารจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการจัดโครงการ “ปลุกคนไทย มีวินัยทางการเงิน” เพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการจัดสรรเงินให้เหมาะสม เพื่อไม่ต้องแบกภาระหนี้ด้วย ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน หากสามารถดำเนินการดังที่กล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และต่อเนื่องแล้ว ปัญหาหนี้ในสังคมไทยจะบรรเทาลงหรือหมดไป เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทยต่อไป


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดผลวิจัย คน ตจว. หนี้ครัวเรือนพุ่ง ธปท. แนะ ยกระดับรายได้ ลดการบริโภคนิยม

view