สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เด็กของเราจะไม่ถูกทอดทิ้ง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR TALK
โดย พีรานันต์ ปัญญาวรานันท์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน CSR สถาบันคีนันแห่งเอเซีย

หนึ่ง ในตัวบ่งชี้ความก้าวหน้าของสังคมคือความก้าวหน้าทางการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศสงบสุขที่สุด มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง และน่าอยู่ที่สุดในโลก มักจะได้รับการยอมรับด้านความเป็นเลิศทางระบบการศึกษาเช่นกัน

ดัง ปรากฏจากรายงานของ Pearson Education บริษัทชั้นนำด้านการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ที่ทำการจัดอันดับด้านระบบการศึกษาของประเทศจากตัวแปรสำคัญอันได้แก่ คะแนนการทดสอบระดับนานาชาติ อัตราส่วนบัณฑิตระหว่างปีการศึกษา และความหนาแน่นของอัตราผู้ที่มีความรู้ระดับอุดมศึกษา ในระหว่างปี 2006-2010

ระดับบนสุดของ 40 อันดับประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลกคือประเทศฟินแลนด์ รองลงมาคือเกาหลีใต้ ตามมาด้วยฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ นี่แสดงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการศึกษา และการพัฒนาประเทศ ที่เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และโอกาสที่ประชาชนในประเทศพึงจะได้รับมีความเท่าเทียมกัน

อีกทั้ง เมื่อเราอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นโลกที่ต้องการทักษะซับซ้อนเพิ่มขึ้น ทั้งทักษะเชิงเทคนิค และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราไม่ควรท้อถอยในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หน้าที่ของการพัฒนาการศึกษา จึงไม่สามารถพึ่งพา และรอการสนับสนุน หรือส่งเสริมจากภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว ในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่มีชื่อเสียงมากเกี่ยวกับนโยบายด้านการ จัดการศึกษาที่ชื่อ No Child Left Behind Act of 2001 (NCLB)

หลัก การของ NCLB คือเน้นความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากขึ้น รัฐ และชุมชนมีอิสระในการจัดการศึกษามากขึ้น ส่งเสริมการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล และพ่อแม่ผู้ปกครองมีทางเลือกสำหรับบุตรหลานของตัวเองมากขึ้น

นโยบาย นี้เป็นนโยบายที่เน้นการพัฒนาคุณภาพ และเร่งเร้าให้โรงเรียนมีความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก โดยการหากระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเรียนการสอน การพัฒนาศักยภาพครู หรืออื่น ๆ ในอันที่จะปิดช่องว่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

จึงเป็นที่มาของคำว่าเด็กของเราจะไม่ถูกทอดทิ้ง

เมื่อ ดูโดยภาพรวมแล้วนโยบายด้านการจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่ครอบคลุมทั้งการ เข้าถึงการศึกษา (Inclusive) และการจัดคุณภาพการศึกษา (Quality) น่าจะสร้างความพึงพอใจ และอยู่ในกรอบที่ประชาชนส่วนใหญ่รับได้

แต่ กลุ่มภาคธุรกิจชาวอเมริกันเห็นว่า ยังมีสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ เช่นกว่าร้อยละ 25 ของเด็กอเมริกันตัดสินใจที่จะไม่เรียนต่อในช่วงระหว่างการเรียนมัธยมปลาย นอกจากนั้น ยังพบว่า ความสนใจในวิชาจำพวกวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) และคณิตศาสตร์ (Math) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า STEM Subjects นั้นลดลงทั่วประเทศตั้งแต่เด็ก

โดยพบว่ามากถึงร้อยละ 61 ของเด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 ยอมที่จะทำงานบ้านมากกว่าการทำการบ้านคณิตศาสตร์ (Judah Schiller และ Christine Arena) นี่ทำให้ภาคธุรกิจกังวลกับสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการพัฒนา ธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

เนื่องจากอาจจะต้องพบกับภาวะการขาด แคลนแรงงาน โดยมีการสำรวจว่าตลาดแรงงานกว่าร้อยละ 80 ในช่วงทศวรรษหน้าต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในหัวข้อ STEM และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ อาทิ Target, Microsoft, Cisco, IBM, Intel, Goldman Sachs, AT&T, และ Facebook สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมด้านการศึกษา

โดยรวมแล้วมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่โครงการเพื่อสังคมของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นเป็นมากกว่าการบริจาคเงิน เพื่อสิ่งก่อสร้าง และสิ่งของ กล่าวคือ เป็นการสนันสนุนด้านการสร้างศักยภาพ และการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา เพื่อให้ตอบรับกับอนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอีกด้วย

อีก ตัวอย่างที่น่าสนใจคือโครงการ INSTEP ซึ่งเป็นโครงการในประเทศไทย ที่พัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนใน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดบรรยากาศการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยตัว เอง ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Inquiry-based learning

ภาย ในชั้นเรียนในจังหวัดพังงากว่า 3 ปีของการดำเนินโครงการตามแนวทางการสืบเสาะหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ รวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบด้วยตัวเอง เป็นการสร้างเมล็ดพันธุ์แห่งความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ๆ แล้วนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน พัฒนาความเป็นอยู่ อาชีพ และความเจริญในชุมชนอย่างไม่รู้จบ

การที่การศึกษาไทย หรือเด็กไทยจะถูกทอดทิ้งหรือไม่นั้น เป็นคำถามกระตุ้นความรับผิดชอบสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนในประเทศไทย ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ หรือนักวิชาการ แต่รวมไปถึงธุรกิจ และทุกภาคส่วน เพราะเราต่างรอใช้ประโยชน์จากดอกผลของการศึกษา โดยยังไม่ได้ช่วยพรวนดินดูแลรักษาดอกผลนั้นกันอย่างเต็มที่

แล้วท่านจะหวังให้ผลไม้นั้นออกดอกออกผลสมบูรณ์ และมีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เด็กของเรา จะไม่ถูกทอดทิ้ง

view