สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สามีภริยาเป็นหนี้กันเองได้?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ฎีกาชีวิต
โดย พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน



เรื่อง หนี้สินกลายเป็นมรดกทางสังคมไปแล้วไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามกฎหมายหรือหนี้นอก กฎหมายก็เถอะ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระกันแล้วลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้ก็ดีไม่มีเงินใช้หนี้ ก็ดีเจ้าหนี้ก็มีหน้าที่ติดตามทวงหนี้และอาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้า หนี้เพื่อบังคับให้ชำระหนี้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย

มีประเด็นสำคัญ สามีภริยาเป็นหนี้กันเองได้หรือไม่? เท่าที่สำรวจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดูนั้นไม่มีมาตราใดห้ามไว้ จึงเป็นการสนับสนุนความคิดที่ว่าทุกคนมีสิทธิจะเป็นหนี้กันได้ตามความจำเป็น ลูกหนี้กับเจ้าหนี้จึงเป็นของคู่กันในสังคมแยกขาดกันไม่ได้

ตราบใด โลกยังคงหมุนเป็นปกติตราบนั้นใครอยู่ในฐานะใดก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นลูกหนี้ ได้เสมอ หากเจ้าหนี้เห็นว่ามีความสามารถชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยหลังจากนั้นได้

ยิ่ง สังคมทุนสมัยใหม่ชายหญิงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หญิงทำงานภาครัฐหรือภาคเอกชนหรือเป็นนักการเมืองต่างทำหน้าที่ในตำแหน่ง สำคัญหรือทำธุรกิจส่วนตัวเป็นร้อยๆ ล้าน เธอมีทั้งความสามารถไม่ต่างไปจากชายดำรงอยู่ในสังคมแตกต่างไปจากสังคม ดั้งเดิมมากทีเดียว

วันนี้จะยกประเด็นเฉพาะสามีภริยาต่างเป็นลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ เมื่อภริยาสมัครใจให้สามียืมเงินจำนวน 10 ล้านบาท ปัญหามีว่าถ้าสามียืมเงินภริยาแล้วไม่จ่าย ภริยาฟ้องยึดหรืออายัดทรัพย์สามีในฐานะลูกหนี้และนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด ได้เพื่อชำระหนี้หรือไม่? ต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายคำนึงถึงปัญหาข้างหน้าและป้องกันความแตกแยกของ ครอบครัวไว้แล้ว จึงขอตอบโจทก์ว่า

ภริยาไม่อาจกระทำได้ดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 1487 ว่า "ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้" เพราะถ้ากฎหมายยอมให้ภริยาหรือสามียึดหรืออายัดทรัพย์อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อการ ขายทอดตลาดและนำเงินมาชำระหนี้เหมือนกับกรณีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ทั่วไปนั้น ถ้ากฎหมายยอมให้กระทำการเช่นที่กล่าวไว้ได้ หลังจากนั้นแล้วสามีภริยาคู่นั้นคงจะอยู่ร่วมกันลำบากและอาจเกิดเหตุแตกแยก หย่าร้างหรือมีเหตุอื่นใดเกิดขึ้นกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว แต่ก็มีบางกรณีกระทำได้เพราะไม่เข้าข้อบังคับของกฎหมาย

สามีโจทก์ ฟ้องภริยาจำเลยขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันจากการทำ มาหาได้ก่อนจดทะเบียนสมรส เท่ากับว่าโจทก์ประสงค์จะแบ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สินที่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสตามมาตรา 1471 เพื่อให้แต่ละฝ่ายต่างมีอำนาจจัดการกับทรัพย์สินของตัวเองได้ตามสิทธิใน มาตรา 1473 และมาตรา 1336

ขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นโจทก์จำเลยต่างไม่ได้ อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากันอีกต่อไปแล้ว จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอันเป็นการต้อง ห้ามตามกฎหมายและไม่ต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ตามมาตรา 1487 ศาลเห็นว่าโจทก์ได้มีหนังสือไปยังจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกที่ดินตามสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินตามมาตรา 1363 ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4382/2540)

แต่ในมาตรา 1487 กฎหมายมีข้อยกเว้นให้สามีหรือภริยามีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินกันได้

ข้อ แรก คดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่างสามีภริยาตามที่ บัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายนี้หรือที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้โดย เฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันเองได้ เช่น คดีฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่เป็นการชั่วคราวและขอค่าอุปการะ เลี้ยงดูหรือให้สามีอุปการะเลี้ยงดูบุตรในคดีฟ้องหย่า เป็นต้น

ข้อ สอง เป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียม ที่ยังมิได้ชำระตามคำพิพากษาของศาล เช่น ศาลมีคำพิพากษาให้สามีชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูภริยาเดือนละ 10,000 บาท แต่สามีขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล เป็นต้น

เรื่องทำนองนี้ขอให้ ผู้เป็นสามีคิดให้ดีๆ ไม่ง่ายนักที่จะขัดขืนคำสั่งศาลครับ เพราะภริยามีสิทธิตามกฎหมายร้องขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึด ทรัพย์ส่วนตัวของท่านเพื่อนำไปขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้นั้นมาเป็นค่าเลี้ยงดูตามคำสั่งศาลต่อไปได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน,สำนักงานบัญชี พี.เอ็ม.เอส.

Tags : สามีภริยา เป็นหนี้กันเอง

view