สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : นาโนไฟแนนซ์...ทางออกทางการเงินใหม่ ของครัวเรือนไทย

จากประชาชาติธุรกิจ

ประเด็นสำคัญ

•    ในวันที่ 22 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชของธุรกิจการเงินประเภทใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจและการเงินไทย
•    ด้วยวัตถุประสงค์ของการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่มีเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นกว่าสินเชื่อประเภทอื่นๆ มาก ควบคู่กับการกำหนดเกณฑ์เพื่อรักษาสิทธิของผู้บริโภค จึงน่าจะช่วยเพิ่มทางเลือกทางการเงินให้กับผู้ที่พึ่งเงินนอกระบบ หรือไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบสถาบันการเงินได้
•    อย่างไรก็ตาม ด้วยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มีอยู่สูง ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงเน้นการเจาะกลุ่มลูกค้าเดิม คุมวงเงินปล่อยสินเชื่อโดยรวม และกำหนดเพดานความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งน่าจะทำให้ผลจากการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ต่อระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศ อยู่ในวงจำกัดในช่วงแรก  

ในวันที่ 24 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา เป็นวันที่ทางการไทยโดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)อนุมัติให้ผู้สนใจสามารถประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับหรือ “นาโนไฟแนนซ์” สอดคล้องกับเงื่อนไขตามประกาศของธปท.[1]เพื่อ เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพรวมถึง การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมของประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนของ ประชาชนอันเนื่องมาจากปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งในวันที่22 เมษายนนี้ กระทรวงการคลังได้มอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าวกับผู้ให้บริการที่ผ่านการพิจารณาด้านความพร้อมของคุณสมบัติอันถือเป็นจุดเริ่มต้นของสินเชื่อประเภทใหม่นี้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวมรวมประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการให้บริการนาโนไฟแนนซ์ไว้ ดังนี้

 

 เกณฑ์นาโนไฟแนนซ์ สะท้อนเจตนาของทางการในช่วยผู้บริโภคฐานรากควบคู่กับการรักษาสิทธิของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากการจำกัดวงเงินสินเชื่อต่อรายที่ไม่สูงมากนักหรือ 100,000 บาท และคุณสมบัติผู้กู้ที่ไม่ต้องอิงกับสลิปเงินเดือนหรือการเดินบัญชี จึงทำให้มีความยืดหยุ่นสูงกว่าสินเชื่อทั่วไปของสถาบันการเงินซึ่งถูกคาดหวังว่าจะช่วยครัวเรือนจำนวนเกือบ 6 แสนครัวเรือนที่พึ่งพาเงินนอกระบบและ 1.3 ล้านครัวเรือน[2]ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบสถาบันการเงินได้   ขณะเดียวกัน ก็กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้บริโภคว่า“ห้าม สถาบันการเงินให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์แก่ผู้บริโภคที่มีความสามารถในการชำระ หนี้และความเสี่ยงด้านเครดิตที่เข้าข่ายสินเชื่อประเภทอื่นๆที่มีเงื่อนไขดี กว่าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ หรือห้ามเปลี่ยนสินเชื่อประเภทอื่นๆมาเป็นนาโนไฟแนนซ์ ยกเว้นว่าได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้บริโภคแล้ว” เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินเสนอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์เพื่อชดเชยสินเชื่อประเภทอื่นๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าซึ่งจะเท่ากับเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค   

สรุปสาระสำคัญของเกณฑ์นาโนไฟแนนซ์

เงื่อนไข

สาระสำคัญ

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

  • § มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ โดยไม่รวมสินเชื่อประเภท Sale and Lease Bank ในสินค้าประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ การให้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ (Car for Cash) หรือรถจักรยานยนต์ การให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการจำหน่ายในลักษณะการค้าปกติ สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
  • § มีวงเงินรวมของสินเชื่อ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อลูกหนี้แต่ละราย
  • § มีระยะเวลาการให้สินเชื่อตามที่ผู้บริโภคและสถาบันการเงินได้ตกลงกัน
  • § อัตราดอกเบี้ย รวมค่าบริการ หรือเบี้ยปรับ รวมไม่เกิน 36%

ผู้ให้บริการ

สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

  • § เป็นนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชน
  • § ทุนจดทะเบียน เรียกชำระแล้วมากกว่า 50 ล้านบาท
  • § มีสัดส่วนหนี้สิน/ทุน ต่ำกว่า 7 เท่า
  • § มีนโยบายและแผนดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อ แนวทางคัดกรองลูกค้า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและวงเงิน กระบวนการติดตามหนี้ รวมถึงการรับผิดชอบลูกค้า กรณีเกิดข้อร้องเรียนที่ชัดเจน เพื่อนำเสนอต่อ ธปท.พิจารณาอนุมัติ

ผู้ขอสินเชื่อ

  • § เป็นบุคคลธรรมดา ที่สถาบันการเงินพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีความสามารถเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ได้

รวบรวมโดย บจก.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

 

 ผลสัมฤทธิ์เชิงนโยบายของการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ในระยะแรกแปรผันตามกลยุทธ์การเจาะตลาดของผู้ให้บริการ   ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้ขอใบอนุญาตและผู้ที่สนใจเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์พบว่า ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะเน้นการเริ่มต้นการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นหลักเพื่อ ดูแลความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อประเภทใหม่นี้ให้อยู่ในระดับที่บริหาร จัดการได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ให้บริการดังกล่าวเลือกที่จะไม่เป็นสมาชิก และส่งข้อมูลลูกค้าให้กับเครดิตบูโร ขณะที่ แม้เกณฑ์ของทางการ จะเปิดช่องให้ผู้ให้บริการสามารถปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ให้กับลูกค้าเดิม ได้แต่ต้องออกมาในรูปของอีกหนึ่งบัญชีสินเชื่อที่แยกออกมาจากบัญชีสินเชื่อ ประเภทอื่นๆโดยที่ไม่ได้ใช้หลักประกันของสินเชื่อประเภทอื่นๆ ดังกล่าวมาใช้ลดหรือชดเชยความเสี่ยงจากการปล่อยกู้สินเชื่อประเภทนาโน ไฟแนนซ์

นั่น หมายความว่าลูกค้าที่เข้าถึงสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ในระยะแรกนี้มีโอกาสที่จะ เป็นลูกค้าที่สามารถเข้าถึงเงินทุนในระบบสถาบันการเงินอยู่แล้วมากกว่าจะ เป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อในระบบมาก่อนเลย กระนั้นก็ดี สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ก็ยังช่วยลดปัญหาสินเชื่อนอกระบบ ‘ทางอ้อม’ ผ่านการผ่อนแรงกดดันไม่ให้ผู้ที่มีบัญชีสินเชื่อในระบบอยู่แล้วข้างต้นเลือก ไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบในจังหวะที่ต้องการเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ เสริม/เพิ่มเติมได้

 

 เพื่อจำกัดความเสี่ยงในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ คาดว่าผู้ให้บริการจะจำกัดวงเงินการปล่อยสินเชื่อรวมและกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ควบคู่กันไป ดังจะเห็นได้จากการตีกรอบวงเงินสินเชื่อรวมสำหรับนาโนไฟ แนนซ์ของผู้ประกอบการที่ไม่สูงมากนักหรือไม่เกิน 5-10% ของพอร์ตธุรกิจรวม  นอกจากนี้ แนวทางการดูแลความเสี่ยงในภาพรวมยังรวมถึงการควบคุมระดับเอ็นพีแอลไม่ให้เกินเพดานที่ผู้ให้บริการกำหนดด้วย

 

ทั้งเหตุผลของการเน้นกลุ่มลูกค้าเดิมและการจำกัดวงเงินการปล่อยกู้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ในช่วงเริ่มแรก จึงน่าจะทำให้ในปี2558 นี้ การเติบโตของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์น่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะหากยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ที่เป็นสถาบันการเงินเริ่มต้นปล่อยสินเชื่อประเภทดังกล่าวนี้อย่างจริงจังภายในปีนี้นั่นหมายความว่า ผลของการปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ต่อการเพิ่มระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศ ก็น่าจะอยู่ในวงจำกัดเช่นกัน

 

 ประเด็น จับตาในระยะถัดไป คือ ผู้ให้บริการจะสามารถหาส่วนผสมของโมเดลธุรกิจที่ลงตัวเพื่อให้ขยายสินเชื่อ ไปยังกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยมีบัญชีสินเชื่อในระบบมาก่อนได้อย่างไรซึ่งจะทำ ให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ สามารถตอบโจทย์ตรงวัตถุประสงค์ตั้งต้นของทางการมากยิ่งขึ้นท่ามกลางความ ท้าทายจากกฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ และการรักษาคุณภาพหนี้        ทั้ง นี้ ต้องยอมรับว่าปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ คือกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในขั้นตอนการหาลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพในการชำระหนี้และการ ติดตามหนี้ที่ดี เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงจากปัญหาการตรวจสอบการใช้เงินของผู้กู้ว่าตรงกับ วัตถุประสงค์การกู้ที่ขอมาหรือไม่ซึ่งต้องยอมรับว่ายังดำเนินการได้ยากในทาง ปฏิบัติ ขณะที่การเติมเต็มกระบวนการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวในทางปฏิบัติ อาจต้องอาศัยกลไกเฉพาะอาทิ การใช้บุคลากรท้องถิ่นที่รู้จักลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่ค่อนข้างดีรวมถึงการ ติดตามหนี้ด้วยความถี่ระดับรายวันหรือรายสัปดาห์แทนที่การชำระคืนหนี้เป็น รายเดือนในกรณีสินเชื่อทั่วไปซึ่งคงจะเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานอย่างยากจะ หลีกเลี่ยง  

นอกจากนี้ยังมีอีกสองตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์มีความท้าทายมากยิ่งขึ้นได้แก่ ประการแรก กฎหมายการทวงถามหนี้ฉบับใหม่ หรือพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 6มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2558 ซึ่งตีกรอบการทวงหนี้ที่ชัดเจน อาทิ ในกรณีห้ามทวงหนี้เกินสมควรแก่เหตุ  ไม่ ว่าจะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์วันละหลายครั้งจนทำให้ลูกหนี้เดือดร้อน ตลอดจนการทวงหนี้ที่มีลักษณะขมขู่ หรือถากถางลูกหนี้ซึ่งในประเด็นหลังนี้ อาจมีความเสี่ยงด้านการตีความในทางปฏิบัติจนทำให้เจ้าหนี้สถาบันการเงินถูก ฟ้องร้องดำเนินคดีภายใต้กฎหมายใหม่ที่โทษจะแรงขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากมีโทษ อาญาด้วย    ประการที่สองการที่ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโร ซึ่งในด้านหนึ่งสะท้อนเจตนารมณ์ของภาครัฐที่ต้องการบรรเทาต้นทุนที่เกี่ยว ข้อง(อาทิต้นทุนด้านเอกสารจากการขอความยินยอมและแจ้งข้อมูลที่นำส่งเครดิตบู โรให้ลูกค้าทราบ)โดยเฉพาะหากผู้ให้บริการเชื่อมั่นในการบริหารจัดการความ เสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง  แต่ในอีกด้านหนึ่งก็อาจเปิดความเสี่ยงในระยะยาวให้กับผู้ประกอบการ และความเสี่ยงเชิงมหภาค เนื่องจากจะเปิดช่องให้กับลูกหนี้บางรายสามารถยื่นขอกู้กับผู้ให้บริการหลาย ราย จนมีวงเงินสินเชื่อรวมเกินกว่าความสามารถในการผ่อนชำระที่แท้จริงและเพิ่ม ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการควรหากลไกรับมือและลด ความเสี่ยงดังกล่าวตั้งแต่เนิ่นๆ

 

โดยสรุปแล้วนาโนไฟแนนซ์น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการ ‘สร้าง’ และ ‘เสริม’ความ เข้มแข็งด้านรายได้ผ่านการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสถาบันการ เงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินนอกระบบที่ต้องมีภาระดอกเบี้ยจ่าย ถึง10-20% ต่อเดือน เทียบกับนาโนไฟแนนซ์ที่เพดานอัตราดอกเบี้ย (รวมค่าธรรมเนียมต่างๆ)จะอยู่ในระดับไม่เกิน 36% ต่อปีเท่านั้น

สำหรับ ผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในระดับประเทศศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าใน ระยะเริ่มแรกของการให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์คงไม่ได้มีผลในการเพิ่มหนี้ ครัวเรือนนัก เนื่องจากเชื่อว่าผู้ประกอบการจะทยอยเดินหน้าธุรกิจนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อหารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมมากขึ้นสำหรับการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้า เป้าหมายใหม่ๆเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็ควบคุมความเสี่ยงเครดิตของพอร์ตสินเชื่อตนไม่ให้สูงเกินไปท่าม กลางการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดของทางการไทย  

อย่าง ไรก็ตามเพื่อให้กลไกนี้ดำเนินไปอย่างยั่งยืน โดยไม่นำมาสู่ความกังวลต่อปัญหาในระดับครัวเรือนและความเสี่ยงเชิงระบบใน อนาคตนั้นนอกจากการติดตามและการกำหนดให้สถาบันการเงินรายงานการปล่อยสิน เชื่อนาโนไฟแนนซ์อย่างใกล้ชิดเป็นรายเดือนแล้ว   ทางการไทยอาจพิจารณาเกณฑ์อื่นๆประกอบเพิ่มเติมในอนาคตโดยเฉพาะหากปรากฏสัญญาณที่นำไปสู่ความจำเป็นในการดูแลเพิ่มเติม อาทิการกำหนดเพดานการปล่อยกู้รวมของลูกค้าโดยรวมวงเงินปล่อยกู้ของผู้ให้บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ทุกรายรวมกัน อันน่าจะเป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยดูแลคุณภาพหนี้ของสินเชื่อประเภทนี้ได้     



----------------

Disclaimer

รายงาน วิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไปโดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯมิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใดบริษัทฯอาจมีการ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทั้งนี้ ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆด้วยวิจารณญาณของตน เองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดัง กล่าวข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็น  การให้ความเห็น  หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจแต่อย่างใดทั้งสิ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นาโนไฟแนนซ์ ทางออกทางการเงิน ครัวเรือนไทย

view