จากประชาชาติธุรกิจ
โดย วรรณโชค ไชยสะอาด
ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
น่ารักซะขนาดนี้ใครจะไม่อยากโชว์ เเชร์ เพื่อเรียกไลค์...
ยิ่งเป็น "ลูกคนเเรก" ของครอบครัวด้วยแล้ว พ่อเเม่ยุคนี้ไม่รีรอที่จะลั่นชัตเตอร์-เซลฟี่-เขียนใต้ภาพ เเละคลิกโพสต์ทันที
ระยะ สั้น ทุกย่างก้าว ทุกกริยาที่เเชร์ ตั้งเเต่ยักคิ้ว ยิ้มมุมปาก กระทั่งเบะปากงอเเง เรียกความสนใจจากเพื่อนๆ จนสร้างความสุขให้คุณพ่อเเละคุณเเม่ได้
หากระยะยาว เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะเสียใจที่กำลัง...
"สร้างอัตลักษณ์ทางดิจิตอล" ให้เขา เเทนที่ปล่อยให้เขาได้สร้างเอง..
พิทักษ์ตัวตนในอนาคตของลูกไว้อย่างดีที่สุด
ไม่ นานมานี้ จเรมี โกล์ดคอร์น บล็อกเกอร์และบรรณาธิการชาวแอฟริกา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Danwei ในประเทศจีน เขียนบทความเรื่อง "ทำไมถึงลงรูปลูกๆ บนเฟซบุ๊ก" นำเสนอข้อคิดได้อย่างน่าสนใจ
ใจความสำคัญของบทความดังกล่าวระบุว่า
"ทุก โพสต์ของพ่อแม่ ล้วนแล้วแต่ปิดกั้นความหวังที่จะเป็นบุคคลนิรนามของลูกในอนาคต ซึ่งจะสร้างความท้าทายอย่างเด่นชัดแก่ตัวของเธอในกาลข้างหน้า แค่การผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปก็หนักหนาพอตัวสำหรับเธออยู่แล้ว เดี๋ยวนี้ยิ่งมีการสแกนหาจากรูปใบหน้าได้ ทั้งยังสามารถสืบหาที่อยู่และอื่นๆ ได้อีกด้วย ยิ่งมีปัญหาอันตรายร้ายแรงแอบแฝงรออยู่"
"วิธีที่ง่ายที่สุดคืออย่า ไปสร้างเนื้อหาทางดิจิตอลขึ้นมาเสียแต่แรก โดยเฉพาะสำหรับเด็ก แม้บรรดาคุณพ่อคุณแม่จะเต็มอกเต็มใจแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวของตนลงบนโลกโซ เชียล แต่ทำไมจึงต้องตัดสินใจแทนบรรดาลูกๆ ด้วย และหลายครั้งที่ภาพเหล่านี้มีโอกาสถูกนำไปใช้ในธุรกิจผิดกฎหมาย หรือกระทั่งเป็นสาเหตุในการนำไปสู่การถูกรังแกต่างๆ นานาของบุตรหลาน และแม้หลายคนจะกล่าวว่าเรื่องของความเป็นส่วนตัวนั้นหมดจากยุคนี้ไปแล้ว แต่ประเด็นสำคัญจริงๆ คือ นี่คือการปกป้องอัตลักษณ์ส่วนตัวของเด็กๆ ต่างหาก
เป็น หน้าที่ของพ่อแม่ที่จะพิทักษ์ตัวตนในอนาคตของลูกไว้อย่างดีที่สุด เตรียมตัวเขาให้มีความรู้และเครื่องมือที่จะต้องใช้ ด้วยความเข้าใจว่าเราไม่จำเป็นจะต้องแชร์ความภูมิใจในตัวเขาทางสื่อดิจิตอล เพื่อให้ความภูมิใจนั้นดำรงอยู่ ปกป้องอัตลักษณ์ทางดิจิตอลของเขาเอาไว้ให้นานก่อนที่เขาจะมาทำยุ่งเสียเอง"
"นี่ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความเป็นส่วนตัว หากแต่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของลูกคุณเองนั่นแหละ"
"พวกเราล้วนเป็นมนุษย์ ไม่ใช่อะมีบา คุณชอบหรือที่พ่อแม่ของคุณเข้ามายุ่งกับตัวตนในโซเชียลมีเดียของคุณ
พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี |
"นั่นแหละคือสิ่งที่คุณทำกับลูกๆ ของคุณ"
เพียงเเค่อยากเก็บความประทับใจ
ใน ฐานะที่เป็นจอมโพสต์เรื่องราวทุกย่างก้าวของลูกให้สังคมออนไลน์ได้อัพเด ตเสมอ นักเเสดงหนุ่ม (ใหญ่) เปิ้ล-นาคร ศิลาชัย อธิบายด้วยรอยยิ้มว่า เจตนาของเราคือต้องการใช้พื้นที่นี้รวบรวมภาพความทรงจำที่มีความหมายเเค่น ั้นเอง
"ในอดีตคนรุ่นพ่อรุ่นเเม่เรามักจะเก็บความทรงจำของลูกผ่าน ภาพฟิล์มใส่อัลบั้มไว้ เเต่สมัยนี้เฟซบุ๊กเเละอินสตาแกรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จนกลายเป็นช่องทางใหม่ที่เอาไว้รวบรวมภาพเเห่งความประทับใจ ซึ่งเเน่นอนว่าคนอื่นก็มีสิทธิเข้ามาดูมาเห็นภาพของเรา ผมมองว่าเหมือนกับมีคนมาเยี่ยมบ้านเราน่ะ มาดูรูปที่เราอยากจะโชว์เเค่นั้นเอง"
เปิ้ลบอกว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อเเละเเม่จะโพสต์ภาพของลูก ไม่มีพ่อเเม่คนไหนจงใจทำร้ายลูก ทำไปเพราะรักทั้งนั้น
"ผม เเชร์เรื่องราวทุกย่างก้าวของลูกผ่านไอจี ตั้งเเต่เรื่องเเกล้ง เล่น กิน นอน รวมทั้งวิธีการสอนลูกเมื่อกระทำความผิด เรียกว่าไม่มีความลับอะไรเลยสำหรับครอบครัวเรา"
เมื่อลูกโตขึ้น เเล้วจะอายกับสิ่งที่พ่อเเม่เคยโพสต์ไปหรือไม่ นักเเสดงหนุ่มลูก 3 บอกว่า ตอนนี้ลูกบ่นไม่ได้ โตมาอาจจะบ่นเองถ้าไม่ชอบ เเต่คิดว่าเมื่อเขาโตขึ้นเเล้วมองย้อนกลับมา คงไม่มีรูปไหนที่เขาไม่อยากให้ลงหรอก เพราะเเต่ละรูปเป็นความทรงจำที่ดีระหว่างเราทั้งนั้น
เชื่อว่าเขารู้ จักพ่อเเม่ของเขาดีอยู่เเล้ว ว่าพ่อเเม่ของเขาเป็นคนอย่างไร มีวัฒนธรรมอย่างไรในครอบครัวเเละน่าจะเข้าใจเหตุผลที่เราลง
"ครอบ ครัวที่คิดมากหรือซีเรียสกับเรื่องนี้ผมก็เข้าใจ เเละเคารพในความคิดของเเต่ละครอบครัว ซึ่งก็อาจจะเป็นเรื่องไม่ปลอดภัยสำหรับบางครอบครัวจริงๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีศัตรูอยู่เยอะ เเต่พอดีครอบครัวเราไม่มี" เปิ้ล-นาครทิ้งท้าย
ไม่ใช่เเค่เรื่องอัตลักษณ์
เเต่(อาจ)รวมถึงปัญหาทางสังคมด้วย
เชษฐา มั่นคง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) บอกเสียงเข้มว่า ในฐานะองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิเด็ก ไม่ค่อยเห็นด้วยกับพฤติกรรมการโพสต์ภาพลูกของผู้ปกครองหลายคน ถึงเเม้พ่อเเม่จะอ้างว่าเป็นเรื่องของสิทธิเเละความเป็นส่วนตัวของครอบครัว ก็ตาม
"หากว่ากันด้วยเรื่องสิทธิ มันเป็นการละเมิดสิทธิเด็กโดยที่เขาไม่รู้ตัวเอง เพราะในอนาคตภาพเหล่านั้นอาจย้อนกลับมาทำให้เขาเสียหายได้
ตัวอย่าง เช่น ภาพเด็กผู้หญิงเเก้ผ้า อาจจะถ่ายตอน 3-5 ขวบ ตอนนั้นเป็นภาพที่น่ารัก เเต่เมื่อเด็กโตขึ้น เขากลายเป็นคนที่ได้รับความสนใจจากสังคมขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับประเทศ เป็นนักร้อง นักเเสดง หรือนายกรัฐมนตรี เกิดมีคนเอาภาพเหล่านี้ไปเผยเเพร่ในทางมิดีมิร้าย ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบในเเง่ลบในอนาคตได้ ซึ่งเเน่นอนพ่อเเม่ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ มองเเต่เพียงเรื่องของความน่ารักน่าชังเท่านั้น"
ผู้ จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) บอกว่า 2 ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือ 1.การละเมิดสิทธิเด็ก เอาภาพไปโพสต์โดยไม่ได้ถามความต้องการของเด็ก หรือเด็กยังไม่มีความสามารถและความรู้เพียงพอที่จะรับรู้ผลของการกระทำ
2.เรื่องของความปลอดภัย ภาพอาจจะเล็ดลอดหลุดออกมาโดยที่เราไม่ตั้งใจ เเละถูกคนอื่นนำไปใช้ในเเง่ลบ
"ปัจจุบัน ก็มีการนำภาพไปล้อในโรงเรียนให้เด็กเสียความมั่นใจอยู่บ้างเเต่ยังน้อย เพราะเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือสังคมออนไลน์พึ่งได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาพมันยังไม่ชัด เเต่ถ้าสัก 5-6 ปีไปเเล้ว เด็กมีโอกาสที่จะมีความรู้สึกอับอายเเละกระทบต่อความมั่นใจของตัวเด็กเองได้ ฉะนั้นเป็นสิ่งที่ต้องระวัง"
สอดคล้องกับ สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่บอกว่า เรื่องที่ถูกต้องคือการพิทักษ์สิทธิของลูก ไม่ควรเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็กไปออกสื่อสาธารณะไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นเสียเเต่ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญจริงๆ ในต่างประเทศสิทธิเเละความเป็นส่วนตัวต่างๆ ของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ข้อมูลต่างๆ อาจจะส่งผลกระทบในอนาคตได้ ทั้งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กเอง เเละผลกระทบในเเง่ร้ายที่อาจจะเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น
"ก็ ถูกว่าลูกนั้นอยู่ในความดูแลของพ่อเเละเเม่ เเต่คิดว่ามันเสี่ยงที่จะเกิดผลเสีย ประการที่ 1 การทำให้เด็กเป็นเป้าสนใจของสังคม อาจนำไปสู่การเป็นเป้าหมายของคนร้ายได้
ประการ ที่ 2 การทำเช่นนี้ไม่ได้เกิดประโยชน์กับตัวเด็ก ไม่ได้มีผลในการพัฒนา ฉะนั้นไม่ควรจะทำเพื่อความพอใจของตัวเอง" ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเเนะนำ
ทางออกที่เหมาะสม?
ขอ ความเห็นเรื่องนี้กับ พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ได้คำอธิบายว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย เมื่อประสบความสำเร็จหรือทำสิ่งดีๆ ก็อยากให้คนรับรู้เเละชื่นชมเป็นธรรมดา
"ถ้าคนไหนที่เห็นว่าเรื่องของลูกเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจเเละเป็นหนึ่งในความสำเร็จของเขา เขาก็อยากให้คนรับรู้เเละชื่นชม
ขณะ เดียวกันทัศนคติมุมมองของพ่อเเม่ที่มีต่อลูกนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ เเล้วเเต่ว่าใครจะมองว่าลูกเป็นสิทธิ เป็นสมบัติของตัวเองมากน้อยเเค่ไหน ซึ่งมุมมองตรงนี้ในเเต่ละสังคมไม่เหมือนกัน บางคนก็คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าชีวิตลูก ควบคุมได้ทุกเรื่อง บางสังคมก็ถึงขั้นเอาลูกไปซื้อไปขายกันได้"
การเเบ่งปันภาพในโซเชีย ลมีเดียนั้น พญ.กมลชนกชี้เเจงว่ามีทั้งข้อดีเเละข้อเสีย สมัยก่อนถ้าญาติพี่น้องครอบครัวอยู่คนละบ้านกันก็คงไม่ได้เห็นการเติบโตของ ลูกของหลาน เเต่สมัยนี้เเค่เราเเชร์ไป ไม่ว่าจะอยู่ไกลกันเเค่ไหน เราก็เห็นกัน
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียนั้นมีคุณค่า เเละประโยชน์ เเต่พ่อเเม่ต้องมีหลักคิดเเละรู้จักการใช้สื่อโซเซียลมีเดียอย่างถูกต้อง ด้วย
เเนะนำว่าพ่อเเม่ต้องตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้เป็นการกำหนด การเข้าถึงเฉพาะคนในครอบครัวหรือคนที่คุณอยากให้เห็นเท่านั้น เลือกรูปที่โพสต์ ไม่ใช่รูปที่ลูกคุณจะอับอายในอีก 10 หรือ 20 ข้างหน้า ขณะที่บัญชีรายชื่อเพื่อนของตัวเองก็ต้องคอยคัดคอยตัดเพื่อนคนที่ไม่ใช่หรือ ไม่รู้จักออกไป รูปภาพที่ก่อให้เกิดความอับอาย หรือเเสดงข้อมูลส่วนตัวสำคัญว่าอยู่โรงเรียนอะไร บ้านอยู่ไหน มักเดินทางไปสถานที่ใดเป็นประจำ ก็ไม่ควรที่เเชร์ลงไป เพราะพวกโรคจิตหรือกลุ่มมิจฉาชีพก็อาจจะตามเจอได้
พญ.กมลชนกบอกต่อ ว่า จริงๆ ในที่สุดเเล้วก็ขึ้นอยู่กับสายสัมพันธ์ระหว่างลูกเเละพ่อเเม่ในอนาคตว่าจะ เป็นอย่างไร เพราะถ้าสายสัมพันธ์ดีเเชร์อะไรลูกก็เเฮปปี้หมด เผลอๆ เมื่อลูกโตขึ้นเเล้วย้อนกลับมามองภาพต่างๆ อาจจะบอกด้วยซ้ำว่าไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะว่าเเม่ให้ความรักทุ่มเท่ให้กับเรา ขนาดนี้
ในทางกลับกัน ถ้าหากสายสัมพันธ์ไม่ดีด้วยเหตุผลใดก็ตามเเต่ พอเขามาเห็นตรงนั้นก็อาจจะเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นหรือจุดชนวนถึงขนาดเอา เรื่องพ่อเเม่ก็ได้
เรื่องนี้ไม่ได้มีขาวกับดำหรือถูกกับผิด 100 เปอร์เซ็นต์
"ไม่ มีพ่อแม่คนไหนอยากทำร้ายลูกหรอก เเต่เพียงอาจจะนึกไม่ถึงเเละยังไม่เข้าใจโซเชียลมีเดีย รวมทั้งไม่ได้นึกถึงผลเสียระยะยาว เเต่ถ้าเข้าใจเเล้วเชื่อว่าทุกคนจะระวัง" จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นกล่าวทิ้งท้าย
เอาเป็นว่าใช้โซเชียลมีเดียอย่างระมัดระวัง คิดถึงผลที่ตามมาเสมอทั้งระยะสั้นเเละยาว
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน