จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โฆษกศาลยุติธรรม ระบุคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนระเบียบก.บ.ศ.เหมาจ่ายค่ารถผู้พิพากษาบางส่วน ยังไม่มีผล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุญชู จันทร์วงศ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง และเจ้าของสำนวน คดีหมายเลขดำ 2299/2554 และองค์คณะ มีคำพิพากษา ให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ว่าด้วย รถราชการ และค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วย รถราชการฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 ที่ประกาศ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 เฉพาะข้อ 33/6 วรรคสอง ที่กำหนดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้รับเงินเดือนชั้น 3 และได้ปฏิบัติหน้าที่กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่าย แทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง ตามบัญชีหมายเลข 3 ซึ่งกำหนดอัตรา 25,400 บาท
โดย นายตรัณ ขมะวรรณ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาล จังหวัดนครปฐม ได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) เรื่องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ ก.บ.ศ. ได้ออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วย รถราชการ และค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2554 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.บ.ศ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2551 และข้อ 33 กำหนดว่า ภายใต้ข้อบังคับ 33/1 ถึง 33/6 ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถ ประจำตำแหน่ง ให้เบิกจ่ายตามบัญชีท้ายระเบียบ และกำหนดในข้อ 33/6 วรรคสาม ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด ที่มีอาวุโสสูงสุดคนแรก รองจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลของแต่ละศาล ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่าย 25,400 บาท ซึ่งหมายความว่า ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงที่สุด รองจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว ส่วนข้อ 33/6 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค ที่มีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นที่มีสิทธิได้รับค่า ตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งคนสุดท้าย ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายตามบัญชีระเบียบกำหนดอัตรา 25,400 บาท
หมายความว่า ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายหากได้ รับราชการอยู่ที่กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค ก็ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน และข้อ 33/6 วรรคสอง ที่กำหนดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้รับเงินเดือนชั้น 3 และได้ปฏิบัติหน้าที่กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่าย แทนการจัดหารถประจำตำแหน่ง ตามบัญชีหมายเลข 3 กำหนดอัตรา 25,400 บาท ซึ่งหมายความว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้รับเงินเดือนชั้น 3 แต่ยังไม่มีอาวุโสถึงขั้นผู้พิพากษาศาลหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น เฉพาะผู้ที่รับราชการในกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกามาครบ 1 ปีแล้วเท่านั้น จึงจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวเช่นเดียวกับผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลชั้นต้น การที่ ก.บ.ศ. ผู้ถูกฟ้อง ออกระเบียบดังกล่าวในข้อ 33/6 วรรคสอง ส่งผลให้มีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่ได้รับเงินเดือนชั้น 3 ที่ยังไม่มีอาวุโสถึงขั้นเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นที่มีอาวุโส สูงสุด รองจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์เหนือผู้พิพากษาอื่น จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ข้าราชการตุลาการบางส่วนทำให้เกิดความแตกแยกภาย ในองค์กร และทำให้ผู้ฟ้องคดีที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น ซึ่งมีอาวุโสมากว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้รับเงินเดือนชั้น 3 และรับราชการอยู่ในกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้ฟ้องจึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนระเบียบ ก.บ.ศ.ฯ ในส่วนข้อ 33/6 วรรคสอง
ขณะที่ศาลปกครองกลาง พิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 11 ได้บัญญัติเกี่ยวกับข้าราชการตำแหน่งตุลาการไว้ และมาตรา 13 ได้กำหนดอัตราเงินเดือนตามตำแหน่งไว้ ขณะที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้ออกประกาศคณะตุลาการศาลยุติธรรม เรื่องกำหนดตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ลงวันที่ 22 พ.ค.54 ซึ่งมีการเทียบตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกองผู้ช่วยศาลฎีกากับตำแหน่งผู้ พิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค ซึ่งเห็นได้ว่า การเลื่อนตำแหน่ง ขั้นเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาจะมีการนับระยะเวลาราชการ และตามหลักอาวุโส ขณะที่ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยรถราชการฯ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ที่บัญญัติว่า ก.บ.ศ. มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ งานบริหาราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายและ ประเพณีปฏิบัติของศาลยุติธรรม โดยให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติเพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานบริหา ราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา รวมทั้งมีอำนาจยับยั้งการบริหารราชการของศาลยุติธรรม หรือสำนักงานศาลยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ
เมื่อพิจารณาบทกฎหมายแล้วจะเห็นว่า ไม่มีข้อความใดกำหนดให้ ก.บ.ศ. ออกระเบียบในเรื่องค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดไว้อย่างชัดแจ้ง โดยกำหนดเพียงให้ออกระเบียบหรือประกาศที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงาน ธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมเท่านั้น ขณะที่การกำหนดระเบียบ ก.บ.ศ. ดังกล่าวนั้น เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ มีความสะดวกในการเดินทางมาปฏิบัติราชการ จึงต้องมีรถประจำตำแหน่ง หรือให้ค่าตอบแทนเพื่อให้ไปจัดหารถประจำตำแหน่งเอง โดยอิงการดำรงตำแหน่งระดับสูงหรือความเป็นผู้บริหารของศาลไว้ด้วย จึงไม่ใช่การให้กับตุลาการศาลยุติธรรมทุกระดับหรือทุกคน ซึ่งตุลาการศาลยุติธรรมที่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนนั้นต้องอยู่ในกลุ่ม เดียวกันทั้งหมด คือการเข้ามาทำงานพร้อมกัน หรือมีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่เท่ากันได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง เท่ากัน มีอาวุโสลำดับเดียวกัน
แต่เมื่อพิจารณาตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษา ศาลฎีกาทีได้รับเงินเดือนชั้น 3 และได้ปฏิบัติหน้าที่ในกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ตามที่กำหนดในข้อ 33/6 วรรคสอง โดยตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานศาล เช่น ตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือรองหัวหน้าศาลคนสุดท้าย หรือมีความเป็นผู้อาวุโสแต่อย่างใด การกำหนดให้ค่าตอบแทนเฉพาะผู้พิพากษากลุ่มนี้จึงไม่มีเหตุผล หรือแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างจากผู้พิพากษาศาล ชั้นต้นอื่น นอกจากนี้ระเบียบ ก.บ.ศ. ข้อ 33/6 วรรคสองดังกล่าว ก็เป็นการกำหนดให้ค่าตอบแทนอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากผู้พิพากษากลุ่มนี้มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่าผู้พิพากษาหัวหน้า คณะ และผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลหลายปี อีกทั้งจากลักษณะงานและตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เห็นว่า ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา ไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการโดยตรง งานในหน้าที่ไม่ได้มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษที่ต้องจัดให้มีรถประจำตำแหน่ง หรือค่าตอบแทนเหมาจ่ายจาการเดินทางที่ยากลำบากหรือมีปัญหาอุปสรรค แต่กลับมีผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ที่ปฏิบัติหน้าที่หลักในการพิพากษาอรรถคดีซึ่งเข้ามาทำงานในระยะเวลาเท่ากัน แม้ต่อมา ก.บ.ศ. ผู้ถูกฟ้อง ออกระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยรถราชการฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 ประกาศ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.58 ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.58 โดยให้ยกเลิกข้อความเดิมและใช้ข้อความใหม่แทน แต่เนื้อหาของระเบียบดังกล่าวก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ข้อ 33/6 วรรคสอง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอนระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยรถราชการฯ เฉพาะ ข้อ 33/6 วรรคสอง
ทั้งนี้นายบวรศักดิ์ ทวิพัฒน์ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงคำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าว ว่า ยังเป็นคำพิพากษาระดับศาลชั้นต้นของศาลปกครอง คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดยังต้องมีขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายปกครองเพื่อให้ได้ รับการพิจารณาพิพากษาวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานจากศาลปกครองสูงสุด โดยการมีคำพิพากษาให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งนั้น โดยหลักศาลปกครองมีอำนาจกำหนดให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ก็ได้ หรือมีผลไปในอนาคตถึงขณะหนึ่งขณะใด หรือจะกำหนดให้มีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่สำหรับกรณีนี้ ศาลปกครองกลางไม่ได้พิพากษากำหนดให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลังดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่าคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากคดีที่ศาลปกครอง มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎแล้วจึงจะให้มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษา ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา และให้การประกาศดังกล่าวมีผลเป็นการเพิกถอนกฎนั้น แต่กรณีนี้เป็นเพียงคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น จึงรอการปฏิบัติตามคำบังคับไว้ก่อนจนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์ ดังนั้นระเบียบ ก.บ.ศ.ว่าด้วยรถราชการฯ ในส่วนข้อ 33/6 วรรคสอง ยังคงดำรงอยู่จนกว่าที่ศาลปกครองสูงสุดtมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใด โดยการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองนั้นต้องรอ ก.บ.ศ.ประชุมสรุปผล ซึ่งคาดว่าในวันที่ 22 มิ.ย.นี้อาจจะมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมของ ก.บ.ศ.เนื่องจากตามกฎหมายมีระยะเวลาในการอุทธรณ์ 30 วัน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน