จากประชาชาติธุรกิจ
โดยผู้เสียชีวิต หรือทุพพลภาพรายละ 4 แสนบาท บาดเจ็บสาหัส รายละ 1 แสนบาท ด้านม๊อบเสื้อเหลือง-เสื้อแดงที่ค้างรอ ป.ป.ช.ก่อน
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2556 –2557 เสนอ ดังนี้
1. กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2548 – 2553 ในส่วนที่ยังคงค้างการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 วันที่ 6 มีนาคม 2555 และวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เห็นควรรอจนกว่าคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถึงที่สุด
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลัก มนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2556 – 2557 (ชีวิตและร่างกาย)
3. อนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ดังนี้
3.1 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเยียวยา วงเงิน 120,000,000 บาท โดยให้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ และเบิกจ่ายงบประมาณในการจ่ายเงินเยียวยา เงินฟื้นฟูสมรรถภาพและเงินยังชีพ และสำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือและเบิกจ่ายงบประมาณในการ จ่ายเงินทุนการศึกษาแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาภายใต้หลักเกณฑ์ สำหรับในปีงบประมาณต่อไปขอให้ตั้งงบประมาณปกติในการเยียวยา
3.2 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของคณะกรรมการอำนวยการฯ คณะอนุกรรมการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สป.ศธ. และ สปน. วงเงิน 1,000,000 บาท โดยให้ สปน. เป็นหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณ
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วย เหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2556 – 2557 (ชีวิตและร่างกาย) มีอัตราการช่วยเหลือ ดังนี้
1) เสียชีวิตรายละ 400,000 บาท 2) ทุพพลภาพและต้องฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ 400,000 บาท 3) ทุพพลภาพรายละ 200,000 บาท 4) บาดเจ็บสาหัส รายละ 100,000 บาท 5) บาดเจ็บรายละ 60,000 บาท และ 6) บาดเจ็บเล็กน้อยรายละ 20,000 บาท
นอกจากนี้ ยังมีการช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพรายเดือนและเงินทุนการศึกษารายปีให้แก่บุตรของผู้เสียชีวิตและผู้ทุพพลภาพที่กำลังศึกษาอยู่ ทั้งนี้ ให้นำจำนวนเงินช่วยเหลือชดเชยอื่น ๆ จากภาครัฐทั้งหมดอันเนื่องมาจากมูลเหตุหรือความเสียหายเช่นเดียวกันที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาได้รับไปแล้ว (ถ้ามี) มาหักออกจากจำนวนเงินเยียวยาที่จะได้รับ
คาดว่าใช้งบประมาณในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 862 ราย (เสียชีวิต 28 ราย บาดเจ็บ 834 ราย) จำนวน 120,000,000 บาท และมอบหมายให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สป.ศธ. เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับการเยียวยาในด้านอื่น ๆ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเยียวยาต่อไปตามอำนาจหน้าที่
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน