จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"พล.อ.ประยุทธ์" หน.คสช. ใช้อำนาจม.44 สั่ง8ข้อ แก้ไขปัญหาบินพลเรือน
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (11ก.ย.) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๗/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการกํากับดูแลและพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย
ตาม ที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ได้เข้ามาทําการตรวจสอบการกํากับดูแลความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนตาม โครงการ Universal Safety
Oversight Audit Program (USOAP) โดยกรมการบินพลเรือนซึ่งเป็นหน่วยงานกํากับดูแลด้านการบินพลเรือน
ของ ประเทศไทยเป็นหน่วยรับการตรวจนั้น ผลการตรวจสอบพบว่าการกํากับดูแลความปลอดภัย ด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยมีข้อบกพร่องจํานวนมาก ซึ่งรวมถึงข้อบกพร่องที่มีนัยสําคัญต่อความปลอดภัย
(Significant Safety Concern : SSC) ด้วย และหากมิได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนแล้ว จะส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงของประเทศโดยรวมได้
ดัง นั้น เพื่อให้สามารถเร่งดําเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว และพัฒนาการบินพลเรือนเพื่อยกระดับมาตรฐานการบินพลเรือนของประเทศไทยให้สอด คล้องมาตรฐานสากล และเพื่อปฏิรูปราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน” (Command Center for Resolving Civil Aviation Issues) เรียกโดยย่อว่า ศบปพ. (CRCA) เป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบิน พลเรือน เรียกโดยย่อว่า ผบ.ศบปพ.
ข้อ ๒ ศบปพ. มีโครงสร้างการปฏิบัติการดังนี้
(๑) ให้มีคณะกรรมการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน ประกอบด้วยบุคคลที่ผบ.ศบปพ. แต่งตั้ง ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในระดับรัฐบาล
(๒) ให้กองทัพอากาศและกรมการบินพลเรือนเป็นหน่วยงานหลักของ ศบปพ. ในการดําเนินการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน
(๓) ให้ ผบ.ศบปพ. มีอํานาจแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศไปช่วยปฏิบัติงานหรือไปช่วยทํา การใด ๆ ที่กรมการบินพลเรือน หรือหน่วยงานอื่นได้ไม่เกินสี่ปี และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งและอัตราในสังกัดเดิม สําหรับค่าตอบแทนรายเดือน หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบคําสั่ง หรือแบบธรรมเนียมที่ทางราชการกําหนด ในการนี้ มิให้นําความในมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทําการซึ่งให้นับ เวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการพ.ศ. ๒๕๕๐ มาใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการ ศบปพ. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดนโยบาย แนวทางในการจัดทําแผนปฏิบัติการและให้ความเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการในการ แก้ไขปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาการบินพลเรือนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลรวมทั้งกําหนดแนวทาง ในการทําความเข้าใจกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและหน่วยงานด้านการ บินพลเรือนของประเทศสมาชิกขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
(๒) สั่งการ กํากับดูแล ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน ของกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานในกํากับ ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐให้เป็นไปตามข้อ ๓ (๑)
(๓) พิจารณาเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพัฒนากฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
(๔) กําหนดโครงสร้างและอัตรากําลังของ ศบปพ. และพิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานใน ศบปพ. โดยแต่งตั้งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้ตาม ความเหมาะสม
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน เพื่อปฏิบัติงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะได้ตามความเหมาะสม
(๖) พิจารณาและให้ความเห็นชอบอัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนของผู้เชี่ยวชาญด้านการบินพลเรือนตามที่กรมการบินพลเรือนเสนอ
(๗) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในการจ้างที่ปรึกษาด้านการบินพลเรือนหรือด้านอื่น ๆที่จะเป็นประโยชน์กับการบินพลเรือนตามที่เห็นสมควร รวมทั้งกําหนดอัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนตามความเหมาะสม
(๘) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมประชุมแนวทางการดําเนินงาน ประสานการปฏิบัติและติดตามผลการดําเนินงานตามความเหมาะสม รวมทั้งให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบินพลเรือน
(๙) เผยแพรข่ ่าวสาร และประชาสัมพันธ์การดําเนินการด้านการบินพลเรือนตามแผนปฏิบัติการ
(๑๐) รายงานผลการปฏิบัติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่องจน กว่ามาตรฐานการบินพลเรือนของประเทศไทยจะได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล
(๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ ๔ การปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ศบปพ. ตามข้อ ๓ ให้ ผบ.ศบปพ.ประสานการปฏิบัติกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอย่างใกล้ชิด หากเห็นว่าเรื่องใดเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นเรื่องสําคัญ และมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ให้นําเรื่องดังกล่าว นําเรียนนายกรัฐมนตรีผ่านรองนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแล พิจารณาสั่งการก่อน
ข้อ ๕ ให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับ ศบปพ. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบราชการ และให้สํานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กับกรมการบินพลเรือน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญตามข้อ ๓ (๖) และให้กับ ศบปพ.เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๓ (๗) ตามที่คณะกรรมการ ศบปพ. เห็นชอบ
ข้อ ๖ คณะกรรมการ ศบปพ. และเจ้าหน้าที่ ศบปพ. ที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริตไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจําเป็น ไม่ต้องรับผิดท้ังทางแพ่งทางอาญา ทางวินัย หรือทางปกครองเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนตาม คําสั่งนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ข้อ ๗ เพื่อให้การปฏิบัติตามคําสั่งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่คณะกรรม การศบปพ. สั่งการให้ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทํา การอย่างใดอย่างหนึ่งในการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ แต่ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการตามคําสั่งของคณะกรรมการ ศบปพ. ตามคําสั่งนี้ ให้ ผบ.ศบปพ. ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รายงานพฤติกรรมดังกล่าวพร้อมกับข้อพิจารณาเกี่ยวกับการลงโทษต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านรองนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแล พิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน