จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ข้อมูลโดย โรงพยาบาลกรุงเทพ
ร่างกายของคนเรานั้นต้อง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง หรือแม้แต่การนอน โดยปรกติการเคลื่อนไหวของร่างกายมีอยู่ 3 ส่วนหลัก คือ สมองและประสาท กระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานประสานกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่ถ้าเกิดโรค หรือได้รับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ก็อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ
นั่นคือสัญญาณฉุกเฉินของร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจจะส่งผลร้ายต่อชีวิตในระยะยาว อีกทั้งความเสื่อมของร่างกายที่เกิดขึ้นได้ก่อนกำหนด วันนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดตัวแคมเปญ Enjoy The move คืนความสุขให้ทุกความเคลื่อนไหว จะพาไปรู้จักกับ 10 อันดับโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของคุณ พร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
โรคอันดับที่ 1 ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวคือ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke ซึ่งในปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อน โรคดังกล่าวจะมีอาการเริ่มต้นคือ หน้าหรือปากเบี้ยว มุมปากตก ชาครึ่งซีก แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก ปวดศีรษะเฉียบพลัน เวียนศีรษะ เดินเซ ตาพร่า เมื่อเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบพบ แพทย์ ภายใน 3 ชั่วโมงเพื่อรับการรักษาทันที สำหรับการป้องกันก่อนเกิด Stroke นั้นเราควรรับการตรวจอัลตราซาวนด์หลอด เลือดคอ (Carotid Duplex) เพื่อตรวจหาภาวะการตีบตันของหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองเป็นประจำทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
โรคต่อมาคือ โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากขาดสารโดปามีน พบมากในอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ แต่หากปล่อยไว้จนอาการทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ร่างกายฟื้น ตัวยาก ถึงแม้พาร์กินสันจะเป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถควบคุมอาการได้ โดยการตรวจ PET Brain F-DOPA หาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดปามีน ช่วยวินิจฉัยระยะความรุนแรงของโรค หรือการผ่าตัดฝังไมโครชิปกระตุ้นสมองส่วนลึก DBS Therapy เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ลดการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
สำหรับโรคที่ 3 ถือเป็นภัยใกล้ตัวของคนในยุคสังคมก้มหน้าทีเดียว กับโรคกระดูกต้นคอเสื่อม (Text Neck) ที่เกิดจากการ "ก้มหน้า" (จนหูต่ำลงมาเกือบแนวเดียวกับไหล่) บ่อยๆ ซ้ำๆ นานๆ จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเอ็นตึงเกร็งเครียด ซึ่งอาการที่พบบ่อยอาจเป็นเพียงแค่อาการปวดต้นคอนำมาก่อน ลักษณะคล้ายกับการนอนตกหมอน หรือหากมีการกดทับรากประสาทอาจมีอาการปวดชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยจนต้องมาพบแพทย์ ต่างกับการกดทับที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวดร่วมดัวย แต่จะพบว่ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น เดินลำบาก ทรงตัวไม่มั่นคง ล้มบ่อย เดินช้าลง แขนขาสั่นกระตุก ซึ่งหากปล่อยให้โรคดำเนินไปมากแล้วไม่มาพบแพทย์ อาจทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติจนอาจเดินไม่ได้ในที่สุด
โรคที่ 4 ก็คือ อาการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ซึ่ง สามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย เด็กมักกระดูกหักจากเล่นซน ผู้ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้สูงวัยมักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน มวลกระดูกที่เปราะบางแม้เพียงลื่นหกล้มก็หักได้ง่าย อาการกระดูกหักมักเห็นชัดเจนจะบวมปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณที่หัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจาก ภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นจึงควร ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี เพื่อป้องกันกระดูกทรุดตัว เสริมความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารแคลเซียมสูงตั้งแต่อายุยังน้อย ปัจจุบันใช้เทคนิคผ่าตัดเชื่อมกระดูกหักแบบแผลเล็ก เปิดแผลเล็กหัวท้ายของตำแหน่งกระดูกที่หักแล้วสอดเหล็กดามใต้กล้ามเนื้อ คล้ายขบวนรถไฟใต้ดิน แล้วยึดกระดูกด้วยสกรูว์ เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าผ่าเปิดแผลยาว ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กระดูกติดดี ฟื้นตัวเร็วขึ้น หากมีกระดูกพรุนหักยุบและปวดหลังมากอาจรักษาด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก สันหลัง
โรคที่ 5 ได้แก่ ข้อไหล่ติด พบมากในชายและหญิงวัยสูงอายุที่มีความเสื่อมของเอ็นรอบข้อและปลายกระดูกไห ปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะไปขูดเอ็นรอบข้อจนอักเสบ หรือจากกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า หรือเคยได้รับอุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อน มักมีอาการปวดหัวไหล่ ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน ปวดเวลาใส่เสื้อ ถอดเสื้อ เวลายกแขนขึ้นสูง จะยิ่งปวดมากขึ้นเวลานอน ทำให้นอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ ข้อไหล่ติดหรือเคลื่อนไหวไม่สุด หากเป็นมากอาจไม่สามารถยกแขนเพื่อหวีผมได้ รักษาเบื้องต้นโดยการใช้ยาและบริหารข้อไหล่ กายภาพบำบัด ถ้าไม่ทุเลาและตรวจพบว่ามีกระดูกงอกไปที่ไหปลาร้า แนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อกรอกระดูกที่งอกบริเวณไหล่ และเย็บซ่อมเอ็นหุ้มข้อไหล่ ได้รับความนิยมเพราะแผลเล็ก พักฟื้นสั้น ช่วยรักษาอาการปวดและข้อไหล่ติดให้หายได้ในเวลาที่รวดเร็ว
โรคที่ 6 ได้แก่ ข้อเข่าคลอนแคลน หรือโรคข้อเข่าเสื่อมตามวัย ซึ่งมักพบในหญิง 60 ปีขึ้นไป และพบเข่าเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นในหนุ่มสาววัยทำงาน นักวิ่ง นักฟุตบอลที่ใช้เข่าเยอะ หรือบาดเจ็บหัวเข่าบ่อย อ้วน กระดูกอ่อนผิวข้ออักเสบจากสวมรองเท้าส้นสูงนานๆ โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ นั่งพับเพียบขัดสมาธิคุกเข่า หรือนั่งยองๆ นานๆ เข่าเสื่อมจากอุบัติเหตุทำให้เข่าหลวม ดื่มสุราสูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ มักมีอาการปวด อักเสบบวมแดงร้อนที่ข้อ ข้อฝืดตอนเช้าขณะลุกขึ้นยืน มีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว เมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า ข้อเข่าขัดเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ เจ็บเมื่อลงน้ำหนัก เข่าโก่ง หากทานยาแก้ปวดหรือกายภาพแล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะด้านข้อเข่า หเพื่อดูว่าเข่าสึกมากน้อยแค่ไหน หากกระดูกอ่อนผิวข้อสึกทั่วข้อเข่า แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถีแบบไม่เจาะกระดูก Pinless Navigating TKR ช่วยให้วางตำแหน่งข้อเทียมแม่นยำ ลดการติดเชื้อหรือกระดูกหักในผู้สูงวัย ผ่าตัดแล้วหัดเดินในสภาวะไร้น้ำหนักด้วยเครื่อง Alter G
โรคที่ 7 ได้แก่ ข้อสะโพกโยกเยก สำหรับใครที่มีอาการปวดง่ามขาด้านหน้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บแปล๊บที่ข้อสะโพกขณะเดินหรือวิ่ง ปวดสะโพกและปวดเข่า (บางคนปวดเข่าก่อนปวดสะโพก คล้ายโรคปวดหลัง) ปวดในเข่าด้านใน เจ็บเวลาเดิน พึงระวังเพราะนั่นคือสัญญาณเตือนของอาการข้อสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่มากในผู้สูงวัย จากการสึกหรอของผิวข้อต่อ การทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกหัก ส่วนวัยกลางคน 80% มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อมเพราะขาดเลือดเลี้ยงส่วนหัวของกระดูกต้นขา ดื่มสุราสูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ เกิดอุบัติเหตุข้อหลุด โรครูมาตอยด์โรคข้อยึดติดแข็ง โรคติดเชื้อ ในเด็กเกิดจากสะโพกหลวมตั้งแต่กำเนิด หรือเบ้าสะโพกตื้นทำให้ข้อหลวมหลุด ส่งผลให้หลังคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน เดินโยกเยกได้ ปัจจุบันการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมใช้เทคนิคแผลเล็ก เพื่อยืดอายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ยาวนานขึ้น ฟื้นตัวเร็วด้วยโปรแกรมลดปวด
โรคที่ 8 ได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หลายคนคงเคยทรมานกับอาการปวดหลังร้าวลงขา ไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางคนเจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชาหลังเล่นกีฬาแล้วเข้าใจผิดคิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ แต่เมื่อตรวจอย่างละเอียดด้วย MRI แล้วพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะนำให้ทานยา ทำกายภาพ หรือลดอาการปวดโดยไม่ผ่าตัด “อินเตอร์เวนชั่น” วิธีนี้ลดการทานยาแก้ปวด โดยฉีดยาลดการอักเสบเข้าช่องเส้นประสาทเฉพาะจุด ลดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท ใช้รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากความเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้ ทำให้ลดโอกาสการถูกผ่าตัดลงได้ นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดที่พัฒนา “กระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก บาดเจ็บน้อย (MIS)” ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ลดความเสี่ยงของการผ่าตัดบางประการลงได้ เช่น อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดต่ำ เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยลง
สำหรับโรคถัดมานี้เป็นโรคยอดฮิตสำหรับคนทำงานที่มีความเครียดสูง นั่นคือ โรคปวดศีรษะไมเกรน พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดตุ๊บๆ เป็นๆ หายๆ ปวดข้างเดียวที่หน้าผากขมับท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อเสียงและแสง คืออาการนำของปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่จะปวดทั้งสองข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนมักคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย จึงรักษาไม่ถูกชนิดของโรค หากปวดมากเรามีตัวช่วยด้วยการรักษาอาการปวดศีรษะแบบเชิงป้องกัน ฝึกผ่อนคลายลดเครียดกับ Biofeedback กายภาพบำบัดลดปวดด้วย Laser Therapy Posture Analysis ปรับสมดุลกล้ามเนื้อคอบ่าหลังให้ถูกวิธี เครื่อง TMS กระตุ้นกระแสไฟฟ้าลดปวด ฉีดยาระงับปวดที่เส้นประสาทหลังศีรษะ การใช้ค็อกเทลยารักษาไมเกรนลดการกลับมาปวดซ้ำใน 24 ชม. หรือฝังเข็มแพทย์แผนจีนกระตุ้นการไหลเวียนลดความถี่ของอาการปวดได้
โรคสุดท้ายนั้นดูเหมือนไม่น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวเท่าไหร่ แต่ทว่า โรคนอนกรน นั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลย มองข้ามเลยทีเดียว เพราะเสียงกรนขณะหลับ อาการสะดุ้งตื่นตอนดึก ขาขยุกขยิกอ่อนเพลีย ปวดหัวเมื่อตื่น ง่วงนอนตอนกลางวัน ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ส่งผลให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจำแย่ ตื่นสาย นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้ นอกจากนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง อย่าลืมว่าคนที่อ้วนมากๆ จะนอนกรนทุกคน แต่คนผอมๆ ก็มีโอกาสนอนกรนได้เช่นกัน หากมีความผิดปกติของการนอน หลับควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนเพื่อรับการตรวจการนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Lab
อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และสามารถทำกิจกรรมที่ชื่นชอบอย่างมีความสุขได้นานยิ่งขึ้นนั้น ทำได้ไม่ยาก นอกจากการทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ เพราะการรู้ก่อนเราย่อมสามารถป้องกัน หรือชะลอโรคต่างๆ ได้ หากพบความผิดปกติของร่างกายก็อย่าชะล่าใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างมีความสุข มีอิสระทุกการเคลื่อนไหว “Enjoy the Move”
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน