สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(2)

ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(2)

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ขอนำประเด็นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หา

เฉพาะกรณีการยกให้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันจันทร์ที่ 1 ก.พ.2559 พร้อมกับภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 มาปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้ 

ปุจฉา จากวันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค.2559 ที่กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการรับให้โดยเสน่หายังไม่ได้ใช้บังคับ นั้น มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร

วิสัชนา การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ กรณีบิดาและหรือมารดาโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้ แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม โดยไม่มีค่าตอบแทนนั้น ไม่ว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ยกให้จะมีมูลค่าเป็นจำนวนเท่าใด บิดาและหรือมารดาผู้ยกให้ก็ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

ปุจฉา ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 ก.พ.2559 เป็นต้นไป กรณีบิดาและหรือมารดายกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมจะมีผลทางภาษีอากรอย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว หากมีมูลค่าเกินกว่า 20 ล้านบาท บิดาและหรือมารดาผู้ยกให้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา ร้อยละ 5.0 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ยกให้ในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในแต่ละปีภาษี โดยกฎหมายให้ถือว่า บิดาและหรือมารดาเป็น “ผู้ขาย” อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายจากกิจกรรมดังกล่าว และนำส่งเจ้าพนักงานในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมตามกฎหมาย ที่ดิน

ในการนี้ บิดาและหรือมารดาผู้ยกให้มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการยก ให้โดยเสน่หาดังกล่าว โดยเลือกเสียภาษีเงินได้เท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ยกให้ในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ในแต่ละปีภาษี โดยไม่นำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นในแบบ ภ.ง.ด.90 ก็ได้

ปุจฉา ในส่วนของการยกให้อสังหาริมทรัพย์กรณีอื่นๆ อาทิ บิดาและหรือมารดาโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ บุตรบุญธรรมโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือกรณีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบ ครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บิดาและหรือมารดาโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในโดยไม่มีค่า ตอบแทนในกรณีอื่นใดนั้น มีหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าวยังคงหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในลักษณะเดิมต่อไป กล่าวคือ

ประการที่หนึ่ง ถือว่าผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บิดาและหรือมารดาโดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นผู้ขายอสังหาริมทรัพย์

ประการที่สอง ไม่ว่าจะมีการโอนกันเมื่อใดก็ตาม ผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าว มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 50 (5) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังเช่นบิดาและหรือมารดาผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบ แทน

ประการที่สาม ผู้โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นที่มิ ใช่บุคคลโดยชอบด้วยโดยไม่มีค่าตอบแทนดังกล่าวมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ได้ตามมาตรา 48 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ภาษีการรับให้โดยเสน่หา(2)

view