สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศิษย์แย้งอาจารย์! วัฒนา เตือน วิษณุ คดีจำนำข้าว

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"วัฒนา เมืองสุข" เห็นแย้งอาจารย์เคยสอน เตือน "วิษณุ" ใช้หลักกฎหมายให้รอบคอบคดีจำนำข้าว อัดกลับ6ข้อเหตุผล "ยิ่งลักษณ์" ต้องสู้

นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรมว.พาณิชย์ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ใจความว่า "อาจารย์วิษณุ ผมนั่งฟังอาจารย์แถลงถึงเหตุผลในการที่รัฐบาลจะใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครอง เรียกให้นายกยิ่งลักษณ์รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติความรับ ผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยอาจารย์ให้เหตุผลว่าเป็นขั้นตอนปกติตามกฎหมายที่บังคับใช้มาแล้วกว่า 19 ปี ดำเนินการมากว่า 5,000 คดี ที่สำคัญคือรัฐไม่ใช่คู่กรณี หรือมีอคติ หรือมีส่วนได้เสีย เงินค่าสินไหมคดีนี้ไม่ได้เข้ากระเป๋าอาจารย์หรือพลเอกประยุทธ์ หากใช้วิธีฟ้องคดีแพ่งธรรมดารัฐบาลจะเสียเปรียบรูปคดี นั้น ผมขอใช้ความรู้ที่อาจารย์ได้อบรมสั่งสอนผมมาตั้งแต่เป็นนิสิตจนแม้ทุกวันนี้ เมื่อติดขัดปัญหาข้อกฎหมายใดๆ ก็ยังได้รับความเมตตาจากอาจารย์ให้ความรู้มาตลอด จึงขอเห็นแย้งด้วยความเคารพ ดังนี้

1. เจตนารมณ์หรือเหตุผลในการออกพระราชบัญญัติความรับผิดในทางละเมิดของเจ้า หน้าที่ พ.ศ. 2539 ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติคือต้องการคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคล ภายนอกในมูลละเมิด ดังปรากฏความตอนหนึ่งในหมายเหตุว่า “เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใดก็จะมี การฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น”

2. จากเหตุผลดังกล่าวจึงต้องประกอบด้วยคู่กรณีสามฝ่ายคือ (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐไปทำความเสียหายให้กับบุคคลภายนอก (2) หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอก และ (3) รัฐใช้คำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืน หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้กระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ตามมาตรา 8) แต่กรณีของนายกยิ่งลักษณ์ไม่มีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ที่ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลนายกยิ่ง ลักษณ์โดยมีข้อกล่าวหาว่าโครงการรับจำนำข้าวทำให้ประเทศชาติเสียหาย แบบนี้อาจารย์ยังบอกว่าไม่ใช่คู่กรณี ไม่มีอคติ หรือไม่มีส่วนได้เสียอีกหรือครับ การมีส่วนได้เสียไม่ได้หมายความว่าเงินค่าสินไหมทดแทนต้องเข้ากระเป๋าใคร แค่การที่พลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ก็ถือเป็นคู่กรณีที่ เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองและมีส่วนได้เสียแล้วตามกฎหมาย

3. ส่วนที่อาจารย์บอกว่ากฎหมายฉบับนี้ใช้มากว่า 19 ปี ดำเนินการมากว่า 5,000 คดี พร้อมกับยกตัวอย่างคดีสำคัญเช่น คดีรถและเรือดับเพลิง คดีจัดหาเรือขุดเอลลิคอท คดีคลองด่าน หรือคดีที่ดินสถานีขนส่งหมอชิต นั้น จำนวน 5,000 กว่าคดีรวมถึงคดีที่ยกตัวอย่างมาล้วนเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กล่าวในข้อ 2. ทั้งสิ้นคือมีคู่กรณี 3 ฝ่าย ดังเช่น กรณีรถและเรือดับเพลิง เป็นกรณีที่รัฐได้จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับบุคคลภายนอกแล้วจึงเอาจำนวนที่รัฐ ต้องจ่ายไปนั้นมาเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชดใช้คืน ส่วนกรณีของนายกยิ่งลักษณ์ไม่มีบุคคลภายนอก แต่ถูกดำเนินคดีจากการกำกับนโยบายในโครงการช่วยเหลือชาวนาที่เป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญและแถลงนโยบายดังกล่าวต่อรัฐสภาแล้ว

4. หลักการสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของ “หลักนิติธรรม” คือ ความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย (fairness in the application of the law) จากผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียอันเป็นหลักการสำคัญที่กฎหมายไทยให้การยอมรับมา ช้านาน แม้ในการพิจารณาคดีผู้พิพากษาอาจถูกคัดค้านจากคู่ความหรือมีสิทธิขอถอนตัว จากการพิจารณาคดีได้หากมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น ตามมาตรา 11 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์และเป็นคู่กรณีที่มีส่วนได้เสีย ทางการเมืองจะมาใช้คำสั่งทางปกครองจึงไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม

5. อาจารย์ก็บอกเองว่าเรื่องนี้รัฐมีทางดำเนินการได้สองทาง คือการฟ้องคดีแพ่งต่อศาลยุติธรรมซึ่งกระทำได้และเคยทำมาแล้วตามคำพิพากษาศาล ฎีกาที่ 2345/2548 ซึ่งผมเห็นว่าหากรัฐเลือกดำเนินการในทางนี้จะไม่ขัดกับหลักการที่เคยทำมา เพราะการใช้คำสั่งทางปกครองที่ผ่านมามีบุคคลภายนอกมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้นตาม ที่กล่าวข้างต้น ส่วนกรณีนายกยิ่งลักษณ์มีความแตกต่างกับคดีที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง การให้ศาลยุติธรรมที่เป็นคนกลางไม่มีส่วนได้เสียเป็นผู้พิจารณาความเสียหาย จะมีความชอบธรรมกว่าการใช้บุคคลในรัฐบาลที่ไปยึดอำนาจจากรัฐบาลก่อนมาเป็น ผู้กำหนดความเสียหายและออกคำสั่งทางปกครองเสียเอง การฟ้องคดีแพ่งไม่ทำให้ส่วนรวมเสียประโยชน์ รัฐไม่ต้องตกเป็นจำเลยและไม่ทำให้ถูกถอดถอนรวมทั้งไม่อาจถูกผู้ที่เคยถูก ดำเนินคดีด้วยคำสั่งทางปกครอง 5,000 คดี มาร้องขอความเป็นธรรมให้ไปฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาได้เนื่องจากคดีเหล่านั้น ดำเนินการไปแล้วหรือสิ้นสุดไปแล้ว อีกทั้งเป็นดุลพินิจของรัฐที่จะเลือกดำเนินการทางใดทางหนึ่งได้ดังที่เคย ปฏิบัติมาแล้วตามคำพิพากษาฎีกาข้างต้น ยกเว้นจะเป็นไปตามที่อาจารย์บอกคือรัฐบาลกลัวเสียเปรียบรูปคดีเลยเลือกวิธี เอาเปรียบนายกยิ่งลักษณ์แทน

6. เหตุผลที่นายกยิ่งลักษณ์และพวกผมต่อสู้ในเรื่องนี้เพื่อต้องการผดุงหลัก นิติธรรมที่เป็นหลักการสำคัญในการปกครองประเทศ การที่พลเอกประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวออกคำสั่งที่ 39/2558 เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่กระทำตามคำสั่งในโครงการรับจำนำข้าว ยังไม่ทำให้อาจารย์เห็นหรือครับว่ากระบวนการในเรื่องนี้มีความผิดปกติและไม่ ชอบธรรมจึงต้องออกคำสั่งมาคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ทางแก้ในเรื่องนี้มีอยู่แล้วคือการให้เจ้าหน้าที่รวบรวมหลักฐานส่งอัยการสูง สุดให้ฟ้องเป็นคดีแพ่งในมูลละเมิด นอกจากจะลดข้อครหาในทุกเรื่องแล้วความจำเป็นที่ต้องพึ่งคำสั่งที่ 39/2558 ก็ไม่มีอีกต่อไป

ผมดีใจที่ได้ยินอาจารย์กล่าวว่าในชั้นนี้รัฐบาลจะ เลือกการออกคำสั่งทางปกครองเว้นแต่จะมีเหตุผลที่ดีกว่า ผมจึงกราบเรียนเหตุผลข้างต้นมาประกอบกับหลักการที่เคยถูกสอนมาว่า “ในสังคมที่ปกครองด้วยกฎหมายเราเรียกสังคมนั้นว่านิติรัฐหรือ legal state แต่กฎหมายจะต้องอยู่บนหลักนิติธรรม (rule of law) จึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายรวมถึงฝ่ายที่ถูกบังคับตามกฎหมายนั้นด้วย หาไม่แล้วการบังคับตามกฎหมายดังกล่าวจะไม่สร้างการยอมรับในกระบวนยุติธรรม เพราะแม้จะเป็นไปตามกฎหมาย (legality) แต่ยังขาดหัวใจสำคัญคือ ”ความชอบธรรม“ (legitimacy) อันจะกลายเป็นสังคมที่บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย (rule by law) แต่ปราศจากหลักนิติธรรม (rule of law)” ขอให้อาจารย์พิจารณาด้วยความรอบคอบอีกครั้งครับ
วัฒนา เมืองสุข"


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศิษย์แย้งอาจารย์ วัฒนา เตือน วิษณุ คดีจำนำข้าว

view