สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” (3)

แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” (3)

โดย :

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ขอนำประเด็นการพิจารณา “เหตุอันสมควร” ตามแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ มก. 9/2550

เรื่อง การพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังต่อไปนี้ 

ปุจฉา อำนาจในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ของเจ้าพนักงานประเมินกำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา ในการพิจารณาเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ดังนี้ (ข้อ 4)

1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ลงวันที่ 10 กันยายน 2558 ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภาษีกลาง หรือสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี

2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 หรือตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ลงวันที่ 10 กันยายน 2558 แต่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 (ทั้ง 7 ข้อ) หรือไม่มีเหตุอันสมควรตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 3 (ทั้ง 7 ข้อ) แต่เจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควร

       (1) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่และ สำนักตรวจสอบภาษีกลางเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร โดยเจ้าพนักงานประเมินต้องพิจารณาเบื้องต้นว่า มีเหตุอันสมควรหรือไม่มีเหตุอันสมควรเป็นแต่ละกรณี เพื่อพิจารณาเสนออธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติผ่านสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจ สอบภาษี และ

       (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ดำเนินการตรวจสอบโดยสำนักงาน สรรพากรพื้นที่ ให้เป็นอำนาจของสรรพากรภาคพิจารณาเป็นแต่ละกรณี แล้วแต่กรณี

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

วิสัชนา กรณีปรับปรุงเหตุอันสมควร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งประกอบกิจการทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและไม่ได้รับยก เว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ปรากฏว่าประมาณการกำไรสุทธิรวมของทั้งสองประเภทกิจการขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิรวม ซึ่งได้จากการประกอบกิจการ และประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาด ไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นเดียวกัน ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (แม้ประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไป ไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ตาม) (ข้อ 5)

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” (3)

view