ประกาศพรก.นิรโทษฯภาษีเอสเอ็มอี รอบบัญชีปี58
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประกาศราชกิจจาฯ "พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี" รอบบัญชีปี 58 มีผล1ม.ค.59
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ที่ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายด้านภาษีอากร
ขณะที่มีรายงานข่าว ระบุว่า ในวันนี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะแถลงข่าวร่วมกับผู้บริหารกระทรวงการคลังถึงการออก พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว พร้อมกันนั้น กระทรวงการคลังจะเสนอการปฏิรูปภาษีทั้งระบบ และการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีให้นายสมคิดเห็นชอบก่อนเสนอคณะ รัฐมนตรี(ครม.)ด้วย
สาระของ พ.ร.ก.มีเป็นกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษี อากรตามประมวลรัษฎากรให้กับผูประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558"
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
มาตรา3 ในพระราชกำหนดนี้
“บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
“ภาษีอากร" หมายความว่า ภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 4 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา และมีกำหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวล รัษฎากรโดยมีหมายเรียกที่ออกก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน ประเมิน ตามมาตรา 88/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ดำเนินการก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมหรือเป็นผู้ใช้ใบ กำกับภาษีปลอมหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกระทำการหลีกเลี่ยงการ เสียภาษีอากร โดยแสดงรายจ่ายอันเป็นเท็จต่อกรมสรรพากร
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวนชั้นพนักงานอัยการ หรือชั้นศาล
“ราย ได้" ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการ ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรการได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏด้วยว่า เจ้าพนักงานประเมินยังไม่ได้เริ่มดำเนินการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร หรือยังไม่ได้ดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรนั้น ๆ
มาตรา 5 ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ที่เกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารที่ได้รับยกเว้น เพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร ให้เจ้าพนักงานประเมินซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากรมีอำนาจทำการตรวจสอบ ภาษีอากรที่ขอคืนหรือออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืน ไต่สวนประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร ทั้งนี้ ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 6 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ทำการจดแจ้งต่อกรมสรรพากร ว่าเป็นผู้ได้รับยกเว้นตามพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และภายในเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(2) ยื่นรายการในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมชำระภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาในการยื่น รายการ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ แล้วแต่กรณี ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นตามที่ประมวล รัษฎากรบัญญัติไว้ พร้อมชำระภาษี ถ้ามี ทั้งนี้สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการที่ต้องกระทำในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(4) ยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สำหรับตราสารที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิด แสตมป์อากร และต้องชำระเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(5) มีการจัดทำ บัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการตั้งแต่รอบระยะเวลา บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
(6) ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ
มาตรา 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเมื่อมีการเพิกถอนการได้รับยกเว้น ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่เคยได้รับยกเว้นการใด ๆ ตามพระราชกำหนดนี้ และให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจในการตรวจสอบไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดำเนินความผิดอาญาเกี่ยวกับรายได้ มูลค่าของฐานภาษีรายรับ หรือการกระทำตราสารตามที่กำหนดในมาตรา 4 ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 8 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการที่จำเป็น เพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากร ในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขอ อนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
คาดปรับปรุงโครงสร้าง ภงด.เคาะได้ใน Q1/59 และมีผลบังคับใช้ในปี 60
โดย MGR Online
“สรรพากร” คาดเสนอรายละเอียดปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ “รมว.คลัง” เห็นชอบภายในไตรมาส 1/59 เพื่อให้มีผลสำหรับปีภาษี 60 ยืนยันผู้เสียภาษีจะได้สิทธิทุกราย ส่วนกรณีการออก กม.เว้นตรวจสอบภาษีย้อนหลัง คาดมีเอสเอ็มอี 30% เข้าสู่ระบบ
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรจะเสนอการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในไตรมาสแรกปี 2559 ซึ่งทำให้มีผลบังคับใช้สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2560 ที่จะมีการยื่นแบบ และเสียภาษีในปี 2561
“รายละเอียดการปรับเปลี่ยนยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ยืนยันว่าภาษีใหม่จะทำให้ทุกคนมีความสุข เพราะได้รับประโยชน์กันทุกคน ปรับอัตราทั้งหมด ไม่มีใครเสียมีแต่ได้ จะขยับเพิ่มสำหรับผู้ที่มีรายได้ 2 หมื่นบาทต่อเดือนอีก กำลังพิจารณาอยู่แต่คงไม่เกิน 3 หมื่นบาท เพราะสูงเกินไป”
สำหรับภาพรวมการเก็บภาษีในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 นายประสงค์ กล่าวว่า ดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันที่ผ่านมา แต่การเก็บภาษีมูลค่าจากการนำเข้าน้ำมัน และสินค้ายังต่ำกว่าเป้ามาก เนื่องจากราคาน้ำมันต่ำกว่าประมาณการไว้มาก คาดจะทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากน้ำมันในปีนี้หายไปกว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ การเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากในจำนวน 15% ก็ลดลงไปมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง
ขณะที่มาตรการภาษีชอปช่วยชาติ 1.5 หมื่นบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา คาดว่าทำให้กรมสรรพากรสูญเสียการจัดเก็บไม่เกิน 5,000 ล้านบาท แต่คาดว่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า เพราะจากการสำรวจยอดขายสินค้าในช่วงมาตรการเพิ่มขึ้น 20-50%
รายงานข่าวเพิ่มเติม ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 ม.ค.59 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 และ พ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 594) พ.ศ. 2558 โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดใน หรือก่อนวันที่ 31 ธ.ค.58 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชี และงบการเงินให้สอดคล้องต่อสภาพที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ต่อกรมสรรพากรจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.59 ถึง 15 มี.ค.59
กรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงอากร หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 ม.ค.59 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
สำหรับกรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 58 และได้มีการจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการใช้บัญชีเล่มเดียวจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการยกเว้น และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 รอบระยะเวลาบัญชี ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 59
- ยกเว้น และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 60 ดังนี้
(1) สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 10% ของกำไรสุทธิ สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท
กรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากร ย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้นไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตาม พ.ร.ก.ฉบับนี้
ให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชี และงบการเงินที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็น หลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงิน และขออนุมัติสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 เป็นต้นไป
ผลของการดำเนินการตามมาตรการบัญชีเล่มเดียว และการยกเว้น และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับ SMEs คาดว่าจะทำให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำบัญชี และงบการเงินสอดคล้องต่อสภาพที่แท้จริงของกิจการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินธุรกิจสร้างความน่าเชื่อถือในการประกอบกิจการ เป็นการสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืน สะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ และการทำธุรกรรมทางการเงินโดยรวม
การยกเว้น และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำบัญชีเล่มเดียวจะช่วยส่งเสริมศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินธุรกิจ และสร้างความน่าเชื่อถือในการขยายกิจการ
กรณีดังกล่าว อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท คิดเป็น 98% ของนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษี ในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคลที่เป็นกิจการ SMEs มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท อยู่ 81% หรือประมาณ 3.4 แสนราย ส่วนนิติบุคคลที่รายได้เกิน 500 ล้านบาท มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นราย
ทั้งนี้ กรมสรรพากร คาดว่าจะมีนิติบุคคลมาเข้าร่วมโครงการไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังประมาณ 30% หรือกว่า 1 แสนราย
นอกจากนี้ นิติบุคคลที่เป็น SMEs ที่เข้าโครงการยังได้สิทธิพิเศษ กำไรในปี 59 ไม่ต้องเสียภาษี และกำไรในปี 60 จะเสียภาษีเพียง 10% ส่วน SMEs ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้สิทธิพิเศษดังกล่าว ทั้งนี้ การไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลัง และการลดภาษีเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าโครงการ จะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้ 1 หมื่นล้านบาท แต่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีทางจริง และทางอ้อมได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเสียภาษีทางตรงมีโอกาสที่จะปรับลดลงไปได้อีก
นอกจากนี้ ในปี 62 กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะกำชับให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งอนุมัติสินเชื่อจากหลักฐานทางบัญชีของผู้ ประกอบการที่เป็นบัญชีเดียวกันกับที่ยื่นกรมสรรพากร จะทำให้การเก็บภาษีของกรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ หากมีการกระทำผิดเลี่ยงภาษีในภายหลังอีก ทางกรมสรรพกรจะยกเลิกสิทธิที่ได้ตาม พ.ร.ก.ทั้งหมด และทำการตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังได้ตามปกติ ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินการถูกต้องอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ไม่พร้อม ซึ่งหากบุคคลมีการทำธุรกรรม และไม่สามารถขอใบกำกับภาษีได้ ก็สามารถแจ้งให้กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบได้
“พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่ใช่การนิรโทษกรรมทางภาษี แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มาจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการจัดทำบัญชี และงบการเงินให้สอดคล้องต่อสภาพที่แท้จริงของกิจการเพียงเล่มเดียว” นายประสงค์ กล่าว
คาด'เอสเอ็มอี'เข้าระบบ1แสนราย หลังออกกม.เว้นตรวจภาษีย้อนหลัง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กรมสรรพากร คาด "เอสเอ็มอี" เข้าระบบ30% หรือกว่า 1 แสนราย หลังออกกฎหมายเว้นตรวจภาษีย้อนหลัง
กรมสรรพากร ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 ม.ค.59 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศ พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 และ พ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 594)พ.ศ. 2558 โดยมีเนื้อหา สรุปดังนี้
บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธ.ค.58 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกบสภาพที่แท้จรริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ต่อกรมสรรพากรจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง
ทั้ง นี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอิน เทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.59 ถึง 15 มี.ค.59
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถุกการตรวจ สอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงอากร หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 ม.ค.59 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
สำหรับ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม(SMEs)ซึ่งมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 58 และได้มีการจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการใช้บัญชีเล่มเดียวจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 รอบระยะเวลาบัญชี ดังนี้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 59
ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 60 ดังนี้
(1) สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ
(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 10% ของกำไรสุทธิ สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท
กรณี ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบ ภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้นไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพ.ร.ก.ฉบับนี้
ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดุแลใช้บัญชีและงบการเงินที่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงิน ได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการ เงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 เป็นต้นไป
ผลของการดำเนินการตาม มาตรการบัญชีเล่มเดียว และการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับ SMEs คาดว่าจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำบัญชีและงบการเงินสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจสร้างความน่า เชื่อถือในการประกอบกิจการ เป็นการสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืน สะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ และการทำธุรกรรมทางการเงินโดยรวม
การ ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำบัญชีเล่มเดียวจะช่วยส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้เป็นเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจและสร้างความ น่าเชื่อถือในการขยายกิจการ
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท คิดเป็น 98% ของนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษี ในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคลที่เป็นกิจการ SMEs มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท อยู่ 81% หรือ ประมาณ 3.4 แสนราย ส่วนนิติบุคคลที่รายได้เกิน 500 ล้านบาท มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นราย
ทั้งนี้ กรมสรรพากรคาดว่าจะมีนิติบุคคลมาเข้าร่วมโครงการไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังประมาณ 30% หรือกว่า 1 แสนราย
นอก จากนี้ นิติบุคคลที่เป็น SMEs ที่เข้าโครงการยังได้สิทธิพิเศษ กำไรในปี 59 ไม่ต้องเสียภาษี และกำไรในปี 60 จะเสียภาษีเพียง 10% ส่วน SMEs ที่ไม่เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้สิทธิพิเศษดังกล่าว ทั้งนี้ การไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังและการลดภาษีเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าโครงการ จะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้ 1 หมื่นล้านบาท แต่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีทางจริงและทางอ้อมได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเสียภาษีทางตรงมีโอกาสที่จะปรับลดลงไปได้อีก
นอกจาก นี้ ในปี 62 กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะกำชับให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งอนุมัติสินจากหลักฐานทางบัญชีของผู้ประกอบ การที่เป็นบัญชีเดียวกันกับที่ยื่นกรมสรรพากร จะทำให้การเก็บภาษีของกรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ หากมีการกระทำผิดเลี่ยงภาษีในภายหลังอีก ทางกรมสรรพกรจะยกเลิกสิทธิที่ได้ตาม พ.ร.ก. ทั้งหมด และทำการตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังได้ตามปกติ ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินการถูกต้องอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ไม่พร้อม ซึ่งหากบุคคลมีการทำธุรกรรมและไม่สามารถขอใบกำกับภาษีได้ ก็สามารถแจ้งให้กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบได้
"พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่ใช่ การนิรโทษกรรมทางภาษี แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือ สั่งให้เสียภาษีอากรและความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มาจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการจัดทำ บัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการเพียงเล่มเดียว"นาย ประสงค์ กล่าว
“สรรพากร” แจง 20 คำตอบ “ผู้ประกอบการ” ต้องรู้ ? พ.ร.ก.ไม่ตรวจเอาผิดภาษีย้อนหลัง
โดย MGR Online
สรรพากร” แจง 20 คำตอบ “ผู้ประกอบการนิติบุคคล” ต้องรู้ ? พ.ร.ก. ไม่ตรวจเอาผิดภาษีย้อนหลัง ย้ำ มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 59 เปิดทางลงทะเบียนภายใน 60 วัน พร้อมข้อสังสัย? รัฐยอมสูญหมื่นล้านดึงภาษีเข้าระบบ
วันนี้ (4 ม.ค.) มีรายงานว่า กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง มีหนังสือฉบับที่ 1/2559 เกี่ยวกับกรณีที่มีการประกาศ พ.ร.ก. การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 เผยแพร่ในเว็บไซต์ กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง โดยเป็นการตอบคำถามถึงข้อสงสัยของประชาชนและนิติบุคคล จำนวน 20 ข้อ มีใจความ ดังนี้
1.
Q : เหตุผลและความจำเป็นในการตราพระราชกำหนดยกเว้น และสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
A : เพื่อสะท้อนสภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ โดยรัฐบาลสามารถวิเคราะห์และวางแผนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้ ตรงต่อความต้องการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการผลิตและการค้า รวมถึงเป็นการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการซึ่งส่วน ใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
นอกจากนี้ การดำเนินการตามพระราชกำหนดในการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพ ที่แท้จริงของกิจการ ยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการนำระบบ e-payment มาใช้ ซึ่งมีส่วนในการส่งเสริมให้การทำธุรกรรมและการบริหารเงินของผู้ประกอบการ เป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
2.
Q : ทำไมต้องเป็นพระราชกำหนด เพื่อยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร
A : เนื่องจากการตราพระราชกำหนดฯ ดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร ที่ต้องพิจารณาโดยด่วน และลับ ซึ่งหากมิได้ดำเนินการเป็นการเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
3.
Q : พระราชกำหนดนี้เป็นการนิรโทษกรรมทางภาษีหรือไม่
A : พระราชกำหนดนี้ไม่ใช่ การนิรโทษกรรมทางภาษี แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มาจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่ แท้จริงของกิจการเพียงเล่มเดียว ส่วนบริษัทฯ ที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดี ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 กรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้น ๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
4.
Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดได้รับประโยชน์จากพระราชกำหนด
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ และมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน และมีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
5.
Q : ประโยชน์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้จากพระราชกำหนด คืออะไร
A : จะได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สำหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559
6.
Q : ถ้าต้องการได้รับการยกเว้นตามพระราชกำหนด ต้องทำอย่างไร
A : ต้องมาจดแจ้งต่อกรมสรรพากร โดยยื่นคำขอจดแจ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรที่ http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2559
7.
Q : บริษัทฯ จะทราบได้อย่างไรว่าได้จดแจ้งเรียบร้อย หรือไม่
A : บริษัทฯ ที่ได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรภายในกำหนดเวลา จะได้รับข้อความแจ้งผ่านทางอีเมล์ที่บริษัทฯ ได้ให้ไว้กับกรมสรรพากรว่า ได้รับการจดแจ้งเรียบร้อยแล้ว
8.
Q : ภายหลังการจดแจ้งบริษัทฯ ต้องกระทำตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อให้ได้การยกเว้น
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และจะต้องไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้ครบถ้วน ตามประเภทภาษีที่บริษัทฯ มีหน้าที่ในการยื่นแบบและชำระภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
9.
Q : กรณีที่บริษัทฯ ได้จดแจ้งแล้ว กรมสรรพากรจะยกเลิกการตรวจสอบในอดีตทั้งหมดใช่หรือไม่
A : กรณีที่บริษัทฯ ได้จดแจ้งแล้ว และอยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดี ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 กรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้น ๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
10.
Q : ถ้าบริษัทฯ อยู่ระหว่างขอคืนภาษีอากรบริษัทฯ จะยังคงได้เงินภาษีที่ขอคืนไว้หรือไม่ อย่างไร
A : ถ้าบริษัทฯ อยู่ระหว่างขอคืนภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินจะยังคงสามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนภาษี ที่ขอคืนนั้นได้
11.
Q : หากบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดจะถูกดำเนินการอย่างไร
A : กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น จะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้นไม่เคยได้รับสิทธิใด ๆ ตามพระราชกำหนดฉบับนี้
12.
Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้รับการยกเว้นตามพระราชกำหนดนี้ได้หรือไม่
A : SMEs ที่ได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรตามพระราชกำหนดนี้ได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร
13.
Q : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับการยกเว้นตามพระราชกำหนดต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่
A : ไม่มีการจำกัดทุนจดทะเบียนสำหรับบริษัทฯ ที่จดแจ้งตามพระราชกำหนดนี้ แต่บริษัทฯ ต้องมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาซึ่งมีระยะเวลาครบ 12 เดือน และมีวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
14.
Q : หากบริษัทฯ ได้จดแจ้ง และมีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ตรงตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดในพระราชกำหนดฯ นี้ แต่ปรากฏว่าในปีต่อมาบริษัทฯ มีรายได้เกินกว่า 500 ล้านบาท บริษัทฯ จะยังคงได้รับการยกเว้นการตรวจสอบตามพระราชกำหนดฯ หรือไม่
A : บริษัทฯ จะยังคงได้รับการยกเว้นการตรวจสอบตามพระราชกำหนดฯ นี้
15.
Q : ทำไมถึงต้องให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใช้บัญชีและงบการเงินที่ใช้ในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อ
A : เนื่องจากการจัดทำบัญชีและงบการเงินที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินให้กับกิจการเหล่านั้น ทำให้รัฐสามารถให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ ได้ตรงจุดและตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ กับผู้ประกอบการอีกด้วย
16.
Q : สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับนิติบุคคลประเภทใด
A : ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 และมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม SME)
17.
Q : บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการได้สิทธิประโยชน์อย่างไรหรือไม่
A : บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะได้สิทธิประโยชน์ ทางภาษี จะต้องยื่นคำขอจดแจ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรที่ http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2559 ว่าเป็นผู้ประกอบการตามพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยว กับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และต้องไม่ถูกเพิกถอนการได้รับการยกเว้นตามพระราชกำหนดฯ
18.
Q : สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นอย่างไร
A : เป็นการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับ SME ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 และปี 2560 ดังนี้
กำไรสุทธิ อัตราภาษี รอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 0-3 แสนบาท ยกเว้น ยกเว้น 3 แสนบาทขึ้นไป 10%
19.
Q : กรณีหากเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่แล้ว แต่ไม่ได้จดแจ้งเพื่อขอรับการยกเว้นตามพระราชกำหนดฯ ภายในกำหนดเวลา จะขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเพียงอย่างเดียว ได้หรือไม่
A : หากบริษัทฯ ไม่มีการจดแจ้งตามพระราชกำหนดฯ จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการยกเว้นและลดอัตราภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ
20.
Q : ถ้าบริษัทฯ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ใด
A : หากต้องการทราบข้อมูลตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ เพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ RD Call Center โทร. 1161 หรือที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทั่วประเทศ
ด้าน นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ไม่เอาผิดภาษีย้อนหลัง และ พระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีนิติบุคคลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 โดยผู้ประกอบการนิติบุคคลที่รายได้ปี 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท ที่จะเข้าโครงการให้มาลงทะเบียนกับกรมสรรพากรตั้งแต่ 15 ม.ค. - 15 มี.ค. 2559 หรือมีเวลา 60 วัน พร้อมกับจดแจ้งการทำบัญชีเดียวกับกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีย้อนหลังที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2559 ทั้งหมด
นอกจากนี้ นิติบุคคลที่อยู่ระหว่างกรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีทางภาษี ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2559 ก็ยังสามารถมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ โดยสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะส่วนที่ตรวจสอบอยู่เดิมเท่านั้น จะไม่มีการตรวจสอบเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่
“การออก พ.ร.ก. นี้ไม่ใช้เป็นการนิรโทษกรรมภาษี เพราะการนิรโทษต้องเข้ามาแสดงตัวว่าผิด และเสียภาษีที่ค้างอยู่ให้ครบ และจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่ครั้งนี้ไม่ต้องจ่ายไม่ถูกเอาผิด เพราะกรมสรรพากรต้องการเดินไปข้างหน้ากับผู้เสียภาษี” นายประสงค์ กล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีนิติบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท คิดเป็น 98% ของนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษี ในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคลเอสเอ็มอีมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท อยู่ 81% หรือ ประมาณ 3.4 แสนราย ส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่เอสเอ็มอีแต่รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นราย กรมสรรพากรคาดว่าจะมีนิติบุคคลมาเข้าร่วมโครงการไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลัง ประมาณ 30%
สำหรับนิติบุคคลที่เป็นเอสเอ็มอี ที่เข้าโครงการยังได้สิทธิพิเศษ กำไรในปี 2559 ไม่ต้องเสียภาษี และกำไรในปี 2560 จะเสียภาษีเพียง 10% ส่วนเอสเอ็มอีที่ไม่เข้าร่วมโครงการจะไม่ได้สิทธิพิเศษดังกล่าว
นายประสงค์ กล่าวว่า การไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังและการลดภาษีเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้า โครงการ จะทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้ 1 หมื่นล้านบาท แต่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีทางตรงและทางอ้อมได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การเสียภาษีทางตรงมีโอกาสที่จะปรับลดลงไปได้อีก
นอกจากนี้ ในปี 2562 กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งอนุมัติสินเชื่อจากหลักฐานทางบัญชีของผู้ประกอบ การต้องใช้งบการเงินแสดงรายได้ ที่เป็นบัญชีเดียวกันกับที่ยื่นกรมสรรพากร จะทำให้การเก็บภาษีของกรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ หากมีการกระทำผิดเลี่ยงภาษีในภายหลังอีก ทางกรมสรรพกรจะยกเลิกสิทธิที่ได้ตาม พ.ร.ก. ทั้งหมด และทำการตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังได้ตามปกติ ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินการถูกต้องอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ไม่พร้อม ซึ่งหากบุคคลมีการทำธุรกรรมและไม่สามารถขอใบกำกับภาษีได้ ก็สามารถแจ้งให้กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบได้
ขณะที่ นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่รายได้ปี 58 ไม่เกิน 500 ล้านบาท ที่จะเข้าโครงการให้มาลงทะเบียนกับกรมสรรพากรตั้งแต่ 15 ม.ค. - 15 มี.ค. 59 หรือมีเวลา 60 วัน พร้อมกับจดแจ้งการทำบัญชีเดียวกับกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีย้อนหลังที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 ทั้งหมด
“การไม่ตรวจสอบภาษีย้อนหลังและการลด ภาษีเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าโครงการ จะทำให้กรมสรรพากรเสียรายได้ 10,000 ล้านบาท แต่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีทางตรงและทางอ้อมได้เพิ่มขึ้น ทำให้การเสียภาษีทางตรงมีโอกาสที่จะปรับลดลงไปได้อีก โดยกรมฯ ต้องการเดินไปข้างหน้ากับผู้เสียภาษี ที่ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่มีรายได้เกิน 500 ล้านบาท คิดเป็น 98% ของนิติบุคคลที่อยู่ในระบบภาษี”
นอกจากนี้ นิติบุคคลที่อยู่ระหว่างกรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีทางภาษี ก่อนวันที่ 1 ม.ค. 59 ก็ยังสามารถมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ โดยสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะส่วนที่ตรวจสอบอยู่เดิมเท่านั้น จะไม่ตรวจสอบเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน