จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ขอนำประเด็นค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4)
แห่งประมวลรัษฎากร คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 101/2543 ซี่งกกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในประเทศโดยสินค้าดัง กล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ได้โอนสินค้าดังกล่าวให้ผู้ซื้อเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและชำระภาษี มูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่า ของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศ อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำ มารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535 มาปุจฉา – วิสัชนา ดังต่อไปนี้
ปุจฉา การกำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ได้รับ หรือพึง ได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวม คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อย่างไร
วิสัชนา การกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศโดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายต้องนำ เข้าจากต่างประเทศ แต่ได้โอนสินค้าดังกล่าวให้ผู้ซื้อเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและชำระภาษี มูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรตามมาตรา 83/8วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่า ของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เพื่อที่จะขจัดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีมูลค่าจากการซื้อสินค้าเพียงครั้ง เดียวแต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงสองครั้ง คือ เมื่อนำเข้าแทนผู้ขาย และเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้ออีก ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เป็นธรรมในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร
ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขการขายสินค้าที่ผู้ ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ ฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไร
วิสัชนา การขายสินค้ากรณีดังกล่าว ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ขายสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ
(3) ผู้ซื้อซึ่งนำเข้าสินค้าได้มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จะต้องมีหลักฐานสำเนาใบเสร็จ รับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ ซื้อเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 หรือใบส่งของ ตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี (ข้อ 1)
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน