จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
เอเจนซีส์ - ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ สื่อออสเตรเลีย เปิดโปงบริษัทสปอร์ตแบรนด์ชื่อดังสัญชาติออสเตรเลีย “Rip Curl” จำหน่ายสปอร์ตแวร์กีฬาวินด์เซิร์ฟ แอบใช้แรงงานทาสชาวเกาหลีเหนือผลิตเสื้อกีฬาให้ แต่กลับประทับตรา อ้างว่าเป็นสินค้าที่ผลิตจากจีน
ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ สื่อออสเตรเลียเมื่อวานนี้ (21 ก.พ) ในรายงานพิเศษเปิดโปงว่า บริษัทผลิตภัณฑ์สปอร์ตแวร์ชื่อดังของออสเตรเลีย “Rip Curl” แอบใช้แรงงานทาสเกาหลีเหนือที่มีโรงงานตั้งอยู่ใกล้กรุงเปียงยางในการผลิต เสื้อผ้ากีฬาให้ และทางบริษัทได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแรงงานทาสเหล่านี้มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ไปทั่วโลก
โดยพบว่า Fairfax Media สื่อยักษ์ใหญ่ออสเตรเลีย ได้ทำการขุดคุ้ยในเรื่องนี้ และสามารถยืนยันได้ว่า บรรดาคนงานเกาหลีเหนือในโรงงานผลิตเสื้อแทดองกัง (Taedonggang Clothing Factory) ใกล้กับกรุงเปียงยาง มีสัญญาผลิตเสื้อผ้ากีฬาซีซันฤดูหนาวปี 2015ให้กับทาง Rip Curl และเสื้อผ้าเหล่านี้ถูกส่งไปจำหน่ายยังร้านจำหน่ายต่างๆ ภายใต้ป้ายสินค้าที่อ้างว่าผลิตจากจีนโดยการใช้ “เมด อิน ไชน่า”
แต่กระนั้นถึงเรื่องนี้มีการเปิดเผยออกมา แต่กลับกลายเป็นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของออสเตรเลีย โยนความผิดให้กับบริษัทซับพลายเออร์ของตนรับผิดชอบแทน
สื่ออสเตรเลียรายงานเพิ่มเติมต่อว่า และหลังจากที่ Fairfax Media ได้ส่งหลักฐานเป็นรูปถ่ายยืนยันแรงงานเกาหลีเหนือกำลังผลิตเสื้อผ้าป้อนให้ กับ Rip Curl ทำให้ทางบริษัทต้องออกแถลงการณ์ชี้แจง
โดยอ้างว่าทาง Rip Curl ให้ความสนใจอย่างจริงจังในปัญหาเหล่านี้ และยังยอมรับว่าเป็นความจริงที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทถูกผลิตด้วยฝีมือแรงงาน ทาสเกาหลีเหนือ
“ทางบริษัทตระหนักว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬา Mountain gear รุ่นซีซันฤดูหนาวปี 2015 แต่ทว่าทาง Rip Curl ค้นพบในเรื่องนี้ก็ต่อเมื่อเสื้อผ้าสปอร์ตแวร์เหล่านี้ถูกผลิต และส่งจัดจำหน่ายไปยังร้านค้าต่างๆทั่วโลกแล้ว” โทนี โรเบิร์ตส์ (Tony Roberts) ผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินของ Rip Curl แถลง
ในแถลงการณ์ โรเบิร์ตส์ยังแถลงต่อว่า “ซึ่งในกรณีนี้เป็นปัญหาเกิดจากซัปพลายเออร์ของ Rip Curl ได้เปลี่ยนย้านฐานแหล่งผลิต โดยทำการย้ายไปยังโรงงานที่ทางเราไม่ได้ยินยอม และในประเทศที่ทางเราไม่ได้อนุญาต โดยทั้งหมดนี้เป็นการปราศจากการยินยอมและรับรู้จากทางเราทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงและนโยบายของทางบริษัทที่ทำร่วมกัน”
และในแถลงการณ์นี้ ผู้บริหารระดับสูงของ Rip Curl ยังกล่าวต่อว่า “ทางบริษัทไม่เคยตกลงหรือยอมอนุญาตให้มีการผลิตสินค้าภายใต้ยี่ห้อ Rip Curl ภายในเกาหลีเหนือ”
โดยซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ ระบุว่า พบว่า Rip Curl ได้ใช้แรงงานทาสเกาหลีเหนือผลิตเสื้อผ้ากีฬาให้ย้อนไปได้ไกลตั้งแต่ปี 2014
ด้าน Dr Helen Szoke ผู้อำนวยการออกซ์แฟม ประจำออสเตรเลีย หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรที่มีฐานอยู่ในอังกฤษ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ทำเป็นที่น่าสงสัยถึงมาตรฐานของ Rip Curl”
สื่อออสเตรเลียรายงานว่า ในขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่า หลังจากที่ทางบริษัท Rip Curl ได้รับหลักฐานเป็นภาพถ่ายในเกาหลีเหนือแล้ว ทางบริษัทสปอร์ตแวร์สัญชาติออสเตรเลียแห่งนี้ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยแจ้งลูกค้าของตนถึงปัญหานี้หรือไม่ และรวมไปถึงปัญหาการหลอกลวงโดยการติดป้ายแหล่งผลิตปลอมที่อ้างว่าเป็นสินค้า ผลิตในจีนของทาง Rip Curl
ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอรัลด์ รายงานต่อว่า ทั้งนี้ Fairfax Media ได้รับหลักฐานที่เป็นทั้งภาพถ่ายและวิดีโอเคลื่อนไหวจากกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ถูกพานำไปเยี่ยมชมโรงงานแห่งนี้อย่างเป็นทางการโดยเปียงยางในเดือน กรกฎาคม 2015
ซึ่ง นิค ฮาลิก (Nik Halik) นักธุรกิจชาวออสเตรเลียที่ร่วมอยู่ในคณะนี้ ได้อาศัยความไวในขณะที่เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือกำลังให้ความสนใจด้านอื่น แอบถ่ายภาพป้ายบอกที่มาสินค้า แอบอ้างว่า “ถูกผลิตในจีน”
โดยฮาลิก ที่ในขณะนี้เป็นเสมือนฮีโร่กระชากหน้ากาก Rip Curl ออกมากล่าวเปิดเผยความรู้สึกต่อสื่ออสเตรเลียว่า รู้สึกตกใจเป็นอย่างมากเมื่อพบว่าสินค้าของ Rip Curl กำลังถูกผลิตในเกาหลีเหนือ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ลูกค้าของ Rip Curl ที่มียอดจำหน่ายสูงทั่วโลก ต้องมีโอกาสรับรู้ว่าเสื้อผ้าที่คนเหล่านั้นกำลังสวมอยู่แท้จริงแล้วถูกผลิต มาจากที่ใด
นิค ฮาลิค (Nik Halik) นักธุรกิจชาวออสเตรเลีย ที่สามารถแอบถ่ายสินค้า Rip Curl ถูกผลิตในเกาหลีเหนือ
โรงงานผลิตเสื้อแทดองกัง (Taedonggang Clothing Factory) ใกล้กับกรุงเปียงยาง มีสัญญาผลิตเสื้อผ้ากีฬาซีซั่นฤดูหนาวปี 2015ให้กับทาง Rip Curl
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน