สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ริดสีดวงทวารหนัก..เรื่องไม่น่าหนักใจ

จากประชาชาติธุรกิจ

    ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoid) เป็นโรคของระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง แต่เนื่องจากทวารหนักอยู่ในตำแหน่งเร้นลับ ผู้ป่วยมักนิยมปกปิดไว้เป็นความลับส่วนตัว มักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อมีอาการหนักหรือมีโรคแทรกซ้อนแล้ว
    ทวารหนักเป็นส่วนติดต่อมาจากลำไส้ใหญ่ และมาเปิดออกนอกร่างกาย มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ถูกแบ่งครึ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเส้นรอบวงที่เรียกว่า “แนวเส้นประสาท” (Dentate Line) ส่วนที่อยู่สูงกว่าแนวเส้นประสาท เรียกว่า “รูทวารหนัก” (Anal Canal) จะไม่มีเส้นประสาทรับความเจ็บปวดมาเลี้ยงที่ผนังของรูทวารหนักปกติจะมีก้อนเนื้อนูนออกมาเป็นระยะโดยรอบ เรียกว่า เบาะรอง (Cushion) ซึ่งภายในจะมีกลุ่มเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ โดยทฤษฎีใหม่ล่าสุดของการเกิดริดสีดวงทวารหนักนั้น เชื่อว่า ภาวะท้องผูก การเบ่งอุจจาระมาก ๆ ทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น และอุจจาระก้อนใหญ่จะดันให้เบาะรองเลื่อนลงมาเรื่อย ๆ จนยื่นออกมานอกทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายใน (Internal Hemorrhoid)
    ส่วนของทวารหนักที่อยู่ใต้ต่อแนวเส้นประสาท จะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดมาเลี้ยง เรียกว่า  “ ปากทวารหนัก ” (Anal Margin) เมื่อเบาะรองจากบริเวณรูทวารหนักเลื่อนตัวลงเรื่อย ๆ จนถึงปากทวารหนัก ก็จะดันกลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อของปากทวารหนักให้เลื่อนลงต่ำ และเบียดออกไปด้านข้างจนกลายเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนักเรียกว่า ริดสีดวงทวารหนักชนิดภายนอก (External Hemorrhoid)

    อาการของริดสีดวงทวารหนัก
    1. ถ่ายเป็นเลือด เป็นเลือดสีแดงสดหยดหรือพุ่งออกมาขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ และหมดไปเมื่อหยุดเบ่ง เลือดจะไม่ปนอยู่ในเนื้ออุจจาระ บางรายเป็นมากหรือเป็นนานจนซีด และมีอาการหน้ามืด จะเป็นลมจากภาวะโลหิตจาง
    2. มีก้อนปลิ้นออกมาเวลาเบ่งถ่าย หรือก้อนออกมาคาที่ปากทวาร
    3. ก้นแฉะและคันกัน
    4. ปวดที่ก้อนตรงปากทวารหนัก
    ปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก
    1. ภาวะท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
    2. อุปนิสัยเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างมาก เพื่อพยายามขับอุจจาระก้อนสุดท้ายให้ออกไป
    3. ชอบนั่งถ่ายอุจจาระนาน ๆ เช่น อ่านหนังสือขณะถ่ายอุจจาระ
    4. ชอบใช้ยาสวนอุจจาระ หรือยาระบายพร่ำเพรื่อเป็นประจำเกินความจำเป็น
    5. หญิงขณะตั้งครรภ์ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก และเลือดดำในอุ้งเชิงกรานไหลกลับสู่ตับไม่สะดวก เนื่องจากความดันภายในช่องท้องเพิ่มขึ้น
    6. ภาวะโรคตับแข็งทำให้เลือดดำไหลเข้าตับไม่ได้ ทำให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง
    7. อายุสูงวัยขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยานลง จนทำให้เบาะรอง (Cushion) เลื่อนลงจนยื่นออกมาจากทวารหนัก
    8. ไม่ทราบสาเหตุ กรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง


การรักษาริดสีดวงทวารหนักชนิดภายใน   ขึ้นกับระยะของการเป็นริดสีดวง ดังนี้

 

 

การรักษาริดสีดวงทวารหนักชนิดภายนอก
        ริดสีดวงทวารภายนอก เป็นเส้นเลือดดำที่อยู่รอบริมปากทวารหนักที่พองออกเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และจะยุบลงเมื่อหยุดเบ่ง จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อเลือดที่คั่งอยู่ที่ปากทวารแข็งตัวขึ้น (thrombosis) ทำให้เป็นตุ่มแข็ง เจ็บที่ขอบทวารหลังถ่ายอุจจาระ เจ็บมากภายใน 3 – 4 วันแรก และถ้าปล่อยไว้อาจแตก มีเลือดซึมหรือมีก้อนเลือดหลุดออกมา หรือยุบลงจนเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ บางรายจะยุบไม่หมด ทำให้ผิวหนังที่ขอบทวารแข็งนูนออกเป็นติ่ง
        ในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดมาก อาจรักษาได้โดยการผ่าเอาก้อนเลือดที่คั่งออก ทำได้โดยใช้ยาชาฉีดเฉพาะที่ ผู้ป่วยกลับบ้านได้ ไม่ต้องพักค้างที่โรงพยาบาล
        ริดสีดวงทวารที่พบในผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นริดสีดวงทวารหนักชนิดเป็นทั้งภายนอกและภายในร่วมกัน การรักษาในปัจจุบัน ศัลยแพทย์ และผู้ป่วยนิยมเลือกผ่าตัดวิธีใหม่ โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (PPH) ซึ่งมีข้อดีหลายประการ ดังนี้
        1. ตัดริดสีดวงทวารหนักออกได้หมด โดยไม่เกิดรูทวารหนักตีบตัน
        2. เจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า
        3. เวลาในการผ่าตัดสั้นกว่า
        4. เวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า
        5. เวลาในการพักฟื้นที่บ้านสั้นกว่า
ข้อควรปฏิบัติเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อาการของโรคริดสีดวงทวารหนักรุนแรงขึ้น
        1. ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
        2. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้
        3. หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
        4. ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา การดื่มน้ำแก้วใหญ่ทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้
        5. ไม่ควรอยู่ในที่ร้อน ๆ เป็นเวลานานเกินไป
        6. หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกางเกงคับ ๆ เพราะจะทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่สะดวก
        7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ
        8. หลีกเลี่ยงกีฬาบางประเภท เช่น ขี่จักรยาน ขี่ม้า




สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ริดสีดวงทวารหนัก เรื่องไม่น่าหนักใจ

view