สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สมคิด "ชิมลาง" รัสเซีย

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์สามัญสำนึก โดย ถวัลย์ศักดิ์ สมรรคะบุตร

การเดินทางไปเยือนรัส เซีย-เบลารุสของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะในระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยคณะผู้แทนฝ่ายไทยได้ตั้งเป้าหมายสำคัญไว้ 2-3 ประการคือ

เชื่อมความสัมพันธ์ทาง ด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอของฝ่ายไทยในความพยายามที่จะจัดทำ เขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-EEU กับการเจรจาขายสินค้าให้กับรัสเซีย ภายใต้ Theme หลัก "การครบรอบ 20 ปีแห่งความเป็นหุ้นส่วนรัสเซีย-อาเซียน" โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยจะเดินทางไปเยือนรัสเซียในระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ด้วย

ส่วนกรณีของการจัดซื้ออาวุธ-ยุทโธปกรณ์เป็น เรื่องของกองทัพไทยที่แสดงความ "สนใจ" ขณะที่รัสเซีย/เบลารุสก็พร้อมที่จะขาย ส่วนไทยจะซื้อหรือไม่ซื้อเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ พล.อ.ประวิตรมีกำหนดการที่จะไปรับฟัง

การบรรยายสรุปของ Belspetsvneshtechnika (BSVT) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของคณะกรรมาธิการด้านการขายอาวุธของเบลารุส

แน่ นอนว่า เป้าหมายสำคัญของคณะนี้ก็คือ การแสวงหาช่องทางที่จะขายสินค้าให้กับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าที่กำลังเป็นปัญหากับการแบกสต๊อกมากมายอย่าง "ข้าว-ยางพารา" โดยปกติรัสเซียจะซื้อข้าวจากประเทศไทยปีละ 7,000-20,000 ตัน ขณะที่ยางพารามีการซื้อขายบ้างจากทางภาคเอกชน

ปัญหา จึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไรจะให้รัสเซียซื้อข้าวและยางจากสต๊อกของรัฐบาลไทย "มากกว่า" ที่จะซื้อตามปกติในปัจจุบัน โดยหวังถึงความเป็นไปได้ที่จะซื้อในระหว่างการเยือนรัสเซียของ พล.อ.ประยุทธ์ หรืออย่างแย่ที่สุด ก็น่าจะมี MOU จะซื้อจะขายก็ยังดี

ทาง ด้านภาคเอกชนที่ยกกันไปถึง 60 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง เน้นขายสินค้าด้านอาหารเป็นหลัก โดยรายชื่อเหล่านี้จัดทำโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเหมาะจะไปออกงานแสดงสินค้า ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ ปัจจุบันมีการเข้าไปลงทุนในรัสเซียเพียง 3 ราย อาทิกลุ่ม CP เข้าไปซื้อโรงงานไก่ครบวงจรและโรงงานผลิตอาหารสัตว์ Woyskovitsy กับ Severna-ya วงเงิน 680 ล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

โดยภาคเอกชนเห็นว่า อุปสรรค ที่สำคัญของการค้าขายกับรัสเซียในช่วงนี้ก็คือ ค่าเงินรูเบิลที่อ่อนตัวลง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของรัสเซียในปัจจุบันกำลัง อยู่ในช่วงขาลง โดยรายได้ของน้ำมันที่ลดลงได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญของผู้นำเข้าสินค้ารัสเซีย จะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าด้วย ในส่วนนี้อาจจะส่งผลกระทบให้การขยายการค้าระหว่างไทย-รัสเซียที่ตั้งไว้สูง ถึง 10,000 ล้านเหรียญในอีก 5 ปีข้างหน้า (2559-2563) กลายเป็นความฝัน จากปัจจุบันที่มีการค้าระหว่างกันเพียง 2,355 ล้านเหรียญ ยกเว้นแต่จะมีการซื้ออาวุธรายการใหญ่

ขณะที่ในระยะยาวแล้ว ดูเหมือนว่ากระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้า กำลังดำเนินความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะ "แสวงหา" หนทางในการเปิดการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) กับรัสเซียและกลุ่มประเทศบริวารในอดีต ไม่ว่าจะเป็นเบลารุส-คาซัคสถาน-คีร์กีซสถาน และอาร์เมเนีย ในนาม FTA Thai-EEU ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนจากรัสเซียเป็นด้านหลัก การเจรจา FTA ครั้งนี้จึงจะประสบความสำเร็จ

มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าไปสู่ ตลาดของ EEU จากในอดีตที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เคยออกแรงชักชวนให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในคาซัคสถาน ท่ามกลางความกล้า ๆ กลัว ๆ ของนักลงทุนไทยที่ไม่คุ้นเคยการค้าขายกับประเทศชื่อแปลก ๆ เหล่านี้

ดัง นั้นการเดินทางของนายสมคิดในครั้งนี้จึงกลายเป็นการ "ชิมลาง" ในความพยายามที่จะประกันความสำเร็จของชุดใหญ่ที่จะนำโดยนายกฯตู่ ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สมคิด ชิมลาง รัสเซีย

view