จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เปิดสาระ“กฎหมายขอทาน”ห้ามมีการขอทาน ยกเว้น”วณิพก”แต่ต้องมีใบอนุญาต
หลังรอคอยมา75ปี พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ควบคุมการขอทาน พ.ศ. ..จึงได้คลอดออกมาในยุคของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยสนช.ได้ลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวด้วยคะแนนท่วมท้น178เสียง ประกาศใช้เป็นกฏหมายต่อไป ซึ่งร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ... นี้เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขอทาย พ.ศ.2484ที่ใช้บังคับมานานแล้ว ซึ่งบทบัญญัติเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้ซึ่งทำการขอทานตามพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฉบับนี้ทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ ลงชื่อเสนอ ถือเป็นร่างพ.ร.บ.ฉบับที่3ที่สนช.ร่วมลงชื่อเสนอ
ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.....นี้ออกมาเพื่อจัดระเบียบเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้ที่ทำการขอทาน การควบคุมการขอทานและแยกผู้ซึ่งแสดงความสามารถออกจากการเป็นผู้ซึ่งทำการขอ ทาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสังคมและคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลให้เหมาะสม ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดความผิดทางอาญาแก่ผู้ซึ่งหาประโยชน์จากความไม่สมประกอบทาง ร่างกาย ความอ่อนด้อยทางสติปัญญาหรือสภาพจิตใจของบุคคลอื่น
เนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีทั้งหมด26มาตรา ซึ่งมีการกำหนดคำนิยามคำว่า “การคุ้มครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้หมายความว่า การช่วยเหลือ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ทำการขอทาน กำหนดให้มี”คณะกรรมการควบคุมการขอทาน” มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานโดยมี หน้าที่เสนอนโยบาย มาตรการควบคุมการขอทาน คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา และดำเนินการกับผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการขอทานออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการแสดงความสามารถและการช่วยเหลือผู้ทำการขอทาน
ในส่วนของการขอทานนั้น ร่างพ.ร.บ.ได้มีการห้ามบุคคลใดทำการขอทาน โดยมีการระบุลักษณะหรือการกระทำที่ถือว่าเป็นการขอทาน คือ การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความหรือการแสดงกิริยาอาการใดๆ การกระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบเงินหรือทรัพย์สิน ให้ อย่างไรก็ตามมีได้มีการระบุข้อยกเว้นสำหรับบุคลที่แสดงความสามารถไม่ว่าจะ เป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือทรัพย์สินจากญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร จะไม่ถือว่าเป็นการขอทาน แต่ในส่วนของผู้ที่ประสงค์จะเป็นผู้แสดงความสามารถไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี หรือการแสดงอื่นใดให้ผู้นั้นแจ้งเพื่อเป็นผู้แสดงความสามารถตามระเบียบที่ คณะกรรมการกำหนดและเมื่อจะแสดงความสามารถในพื้นที่ใดให้แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นในเขตพื้นที่นั้น
สำหรับบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ฉบับนี้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุว่า หากมีฝ่าฝืนทำการขอทานเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังสถานคุ้ม ครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อทำการคัดกรองและหากพบว่า ผู้ทำการขอทานเป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายเฉพาะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องตามกฎหมายเฉพาะเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป แต่หากพบว่า ผู้ทำการขอทานไม่ใช่บุคคลประเภทดังกล่าว แต่เป็นบุคคลที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีญาติอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีทางเลี้ยงชีพอื่นหรือตกอยู่ในสภาวะยาก ลำบากให้มีการจัดบุคคลดังกล่าวเช้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่หากว่าผู้ใดมีการฝ่าฝืนกระทำการขอทานต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1เดือน หรือปรับไม่เกิน 1หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ทำการขอทานยอมเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถาน คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่ได้หนีออกไปจากสถานคุ้มครองฯโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน1เดือนปรับไม่เกิน1หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ช่วยเหลือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน2ปี หรือปรับไม่เกิน2หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่ผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้ทำการขอทาน โดยการใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยงส่งเสริม หรือกระทำการอื่นใดให้ผู้อื่นทำการขอทาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกิน3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากทำกับเด็ก หญิงมีครรภ์ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้เจ็บป่วย การนำผู้อื่นจากภายนอกราชอาณาจักรให้มาขอทาน ผู้ปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ ให้มีการเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน5ปี หรือปรับไม่เกิน5หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ใช้บังคับเพื่อพ้นกำหนด90วันนับแต่วันที่ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา โดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการออกระเบียบเพื่อให้ปฏิบัติการเป็นไปตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บอกว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่สำคัญของกลุ่มผู้พิการและผู้มีความสามารถในการ แสดงออกในที่สาธารณะ ซึ่งเฝ้ารอมานานถึง75ปี และเป็นกฎหมายหนึ่งใน 3 ฉบับที่สนช.เสนอ โดยร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะจำแนกกลุ่มขอทานเป็น2กลุ่ม คือกลุ่มขอทานและกลุ่มวณิพกหรือศิลปินเปิดหมวกให้ชัดเจน และดำเนินการกับผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากการขอทาน หลังจากนี้จะมีเวลา90วันที่จะไปดำเนินการออกระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการฯได้พิจารณาไปบางส่วนแล้ว และเตรียมส่งกลับไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพิจารณา หลังจากนั้น บุคคลที่เป็นขอทานต้องการลงทะเบียนเป็นวณิพก ก็สามารถไปลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตซึ่งจะมีบัตรวณิพกที่สามารถประกอบ อาชีพได้ และหลังจากที่พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดมหกรรมวณิพกขึ้นที่รัฐสภา
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน