สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด แพกเกจลดภาษีบุคคลธรรมดา รัฐบาลลุงตู่จัดหนัก เงินเดือนต่ำกว่า 2.6 หมื่นบาทไม่ต้องเสีย-เร่งคนไทยผลิตลูกลดหย่อนได้คนละ 3 หมื่น

เปิด “แพกเกจลดภาษีบุคคลธรรมดา” รัฐบาลลุงตู่จัดหนัก เงินเดือนต่ำกว่า 2.6 หมื่นบาทไม่ต้องเสีย-เร่งคนไทยผลิตลูกลดหย่อนได้คนละ 3 หมื่น

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

เปิด “แพกเกจลดภาษีบุคคลธรรมดา” รัฐบาลลุงตู่จัดหนัก เงินเดือนต่ำกว่า 2.6 หมื่นบาทไม่ต้องเสีย-เร่งคนไทยผลิตลูกลดหย่อนได้คนละ 3 หมื่น

       เปิดแพกเกจลดภาษีบุคคลธรรมดาใหม่ ผู้มีรายได้เดือนละ 2.6 หมื่นบาทไม่ต้องเสียภาษี จากเดิมไม่เกิน 2 หมื่นบาท พร้อมให้ลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 1.5 หมื่นบาทเป็นคนละ 3 หมื่นบาท จำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เริ่มใช้กับปีภาษี 2560 ที่ยื่นแบบและเสียภาษีตั้งแต่ 1 ม.ค. 61 - 31 มี.ค. 61 เผยคลังยอมเฉือนเนื้อ 3.2 หมื่นล้านบาท เชื่อปี 60 เศรษฐกิจโลก-ไทยจะดีขึ้น หวังเก็บแวตได้เพิ่ม
       
       วันนี้ (19 เม.ย.) นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
       
       1. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
       
       2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากรจากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้ จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าว แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
       
       3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
       
       (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)
       
       (4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
       
       (5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่
       
       เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
       
       4. ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
       
       บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีการปรับปรุง
       
       เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ) เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ)
       
       1-300,000* 5                                   1-300,000* 5
       
       300,001-500,000 10             300,001-500,000 10
       
       500,001-750,000 15             500,001-750,000 15
       
       750,001-1,000,000 20         750,001-1,000,000 20
       
       1,000,001-2,000,000 25    1,000,001-2,000,000 25
       
       2,000,001-4,000,000 30    2,000,001-5,000,000 30
       
       4,000,001 ขึ้นไป 35             5,000,001 ขึ้นไป 35
       
       * ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกยังคงสามารถใช้ต่อไปตามพระราช
       
       กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551
       
       5. ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้
       
       (1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
       
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท
       
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน200,000 บาท
       
       (2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
       
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
       
       (3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       6. การปรับปรุงดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะ เงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการ อื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน
       
       ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้ฯกระทบรายได้รัฐลดลงปีละ 32,000 ล้านบาท แต่หวังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน ภาษีบุคคลธรรมดาคิดเป็น 17% ภาษีนิติบุคคล 32% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% ภาษีธุรกิจปิโตรเลียม 5% ฯลฯ
       
       ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ลดภาษีบุคคลธรรมดารายได้เดือนละ 2.6 หมื่นบาท ไม่ต้องเสีย เริ่มใช้กับรายได้ปี 2560 ที่ยื่นแบบและเสียภาษีปี 2560 รายละเอียดการลดภาษีบุคคลธรรมดา ประกอบด้วย
       
       1. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
       
       2. ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
       
       3. ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
       (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)
       (4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
       (5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       (6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วน คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
       
       4. ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
       ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกยังคงสามารถใช้ต่อไปตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551
       
       5. ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้
       
       (1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท
       (2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
       (3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       6. การปรับปรุงดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะ เงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการ อื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน.


“คลัง” เผย “ครม.” ไฟเขียวปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพิ่มค่าลดหย่อน

โดย MGR Online

      “คลัง” เผยที่ประชุม “ครม.” ไฟเขียวปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพิ่มค่าลดหย่อน
       
       กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (19 เม.ย.) มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษี พร้อมทั้งเพิ่มค่าลดหย่อน โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป
       
       โดยการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
       
       1.ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
       
       2.ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าว แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น และสมควรได้
       
       3.ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
       
       (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)
       
       (4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
       
       (5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
       
       (6) ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
       
       4.ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
       
       บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีการปรับปรุง
       
       เงินได้สุทธิ            อัตราภาษี (ร้อยละ)      เงินได้สุทธิ             อัตราภาษี (ร้อยละ)
       
       1-300,000*                  5                    1-300,000*              5
       
       300,001-500,000        10                    300,001-500,000     10
       
       500,001-750,000        15                    500,001-750,000     15
       
       750,001-1,000,000     20                   750,001-1,000,000    20
       
       1,000,001-2,000,000   25                1,000,001-2,000,000   25
       
       2,000,001-4,000,000   30                2,000,001-5,000,000   30
       
       4,000,001 ขึ้นไป           35                5,000,001 ขึ้นไป           35
       
       * ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ยังคงสามารถใช้ต่อไปตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551
       
       5.ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้
       
       (1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
       
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท
       
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท
       
       (2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้
       
       ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
       
       - หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       - หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
       
       (3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
       6.การปรับปรุงดังกล่าวข้างต้นให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินใน ปีภาษี 2560 เป็นต้นไป การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะ เงินได้ประเภทเงินเดือน และหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน
       
       ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้ฯ กระทบรายได้รัฐลดลงปีละ 32,000 ล้านบาท แต่หวังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน ภาษีบุคคลธรรมดาคิดเป็น 17% ภาษีนิติบุคคล 32% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% ภาษีธุรกิจปิโตรเลียม 5% ฯลฯ
       
       อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนโดยรวมของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ (LTF) ได้


ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60-ขุนคลังยันไม่ขึ้น VAT

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ครม.ไฟเขียวปรับภาษีเงินได้ บุคคลฯ เริ่มหัก ณ ที่จ่ายปี′60 แลกรัฐสูญรายได้ 3.2 หมื่นล้านบาท/ปี หวังเพิ่มจับจ่ายดันเก็บ VAT ได้เพิ่มขึ้นทดแทน "อภิศักดิ์" ยันยังไม่ปรับขึ้น VAT ช่วงปี 2559 นี้ ชี้รอเศรษฐกิจโลกฟื้น-รัฐต้องการงบฯเพิ่ม

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (19 เม.ย.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ หลังจากเมื่อ 2-3 เดือนก่อนได้เห็นชอบคงอัตราจัดเก็บภาษีนิติบุคคลไว้ที่ 20% ไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้อัตราภาษีที่แท้จริง (effective rate) ออกมาใกล้เคียงกัน โดยหลักใหญ่ ๆ จะปรับอยู่ 3 เรื่อง คือ 1) การหักค่าใช้จ่าย 2) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้มีผลในการหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป (เริ่มยื่นแบบฯ ต้นปี 2561)

สำหรับรายละเอียดการปรับปรุงทั้ง 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้

2) ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้ (1) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (2) ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท (3) ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000  บาท/คน) (4) ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท (5) กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท และ (6) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท

และ 3) ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ดูตาราง)



"การปรับปรุงขั้นเงินได้ และอัตราภาษีเที่ยวนี้ยังเหมือนกับในพระราชกฤษฎีกาครั้งที่แล้ว คือมี 7 ขั้นอัตรา แต่เฉพาะเรตที่เก็บ 35% เดิมจะเก็บจากที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาทขึ้นไป จะเปลี่ยนเป็นต้องเสียเมื่อรายได้ 5,000,001 บาทขึ้นไป ดังนั้นคนมีเงินได้ 4,000,001-5,000,000 บาท จะเสียที่ 30% คือได้ลดลงมา ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแค่ราว 20,000 คน จากผู้เสียภาษีทั้งสิ้น 10.3 ล้านคน" นายอภิศักดิ์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้ (1) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 200,000 บาท

(2) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน

- หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

- หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท

(3) กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

และ (4) กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

"ถามว่าทำไมเราปรับสูตรนี้ ก็เพราะว่า ถ้าเราดูภาษีนิติบุคคล 20% เมื่อรวมกับเงินปันผลอีก 10% จะมีเอฟเฟ็กต์ทีฟเรตที่ 28% ฉะนั้นการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามสูตรที่ว่านี้ เมื่อคำนวณเฉลี่ยออกมา เอฟเฟ็กต์ทีฟเรตจะอยู่ที่ 29% ซึ่งใกล้เคียงกัน จากของเดิมที่อัตราต่างกันมาก คนรายได้สูงจะไปตั้งบริษัท เพื่อจะได้เสียภาษีน้อย แต่อันนี้การเสียภาษีน้อยก็จะไม่เกิด" นายอภิศักดิ์กล่าว

รมว.คลัง กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะ เงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการ อื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน

ขณะที่คาดว่าการปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปราว 32,000 ล้านบาทต่อปี แต่หวังว่าจะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มากขึ้นจากปัจจุบันมีสัดส่วน 41% ของรายได้ภาษีทุกประเภท

"สิ่งที่เราหวัง คือเงินรายได้ภาษีที่หายไปนี้ จะกลับไปสู่ประชาชน แล้วกลับไปหมุน ทำให้เกิดรายจ่ายที่มากขึ้น พอเขาใช้จ่ายเราก็จะได้ VAT ซึ่งปกติภาษีบุคคลฯ มีสัดส่วนประมาณ 17% ภาษีนิติบุคคล 32% VAT 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 3% ภาษีปิโตรเลียมประมาณ 5% และอื่น ๆ ที่เหลือ ก็หวังว่าเมื่อลดในส่วน 17% ก็จะไปเพิ่ม VAT ให้มากขึ้นกว่า 41%" รมว.คลังกล่าว

นอกจากนี้ รมว.คลัง ยืนยันว่า รัฐบาลจะยังไม่มีการปรับขึ้นภาษี VAT ในช่วงปี 2559 นี้ เพราะยังจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาครัฐ และจะกลับมาพิจารณาว่าจะปรับขึ้น VAT หรือไม่อีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวได้ดี และเมื่อรัฐไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อความต้องการลงทุนเพิ่ม


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดแพกเกจ ลดภาษีบุคคลธรรมดา รัฐบาลลุงตู่ จัดหนัก เงินเดือนต่ำ 2.6 หมื่นบาท ไม่ต้องเสีย เร่งคนไทย ลดหย่อน คนละ 3 หมื่น

view