สหรัฐฯ แบะท่าพร้อมร่วมงานกับ “ดูเตอร์เต” ว่าที่ผู้นำฟิลิปปินส์คนใหม่ แม้ถูกครหา “ละเมิดสิทธิมนุษยชน
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
รอยเตอร์ - สหรัฐฯ ออกมาประกาศจุดยืนพร้อมทำงานร่วมกับ โรดริโก ดูเตอร์เต ว่าที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ แม้อีกฝ่ายจะถูกครหาว่าพัวพันการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างดำรงตำแหน่งนายก เทศมนตรีเมืองดาเวาในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาก็ตาม
นักวิเคราะห์กิจการในเอเชียชี้ว่า จุดยืนของวอชิงตันสะท้อนถึงความเป็นจริงที่ว่า ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ย่อมมีน้ำหนักมากกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่จีนใช้นโยบายเชิงรุกเพื่อขยายอิทธิพลในภูมิภาค และอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำพิพาททะเลจีนใต้
“วอชิงตันเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ เรายินดีที่จะทำงานร่วมกับคณะผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา” เอลิซาเบธ ทรูโด โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงต่อสื่อมวลชน หลังถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในฟิลิปปินส์เมื่อวันจันทร์ ที่ผ่านมา (9 พ.ค.)
แม้จะยังไม่มีการประกาศชื่อผู้สมัครที่ชนะเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ผลการนับคะแนนเบื้องต้นพบว่าดูเตอร์เตมีคะแนนนำโด่งแซงหน้าคู่แข่งอีก 2 คน ซึ่งต่างออกมาประกาศยอมรับความพ่ายแพ้แล้วทั้งคู่
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าสหรัฐฯ กังวลหรือไม่เกี่ยวกับนโยบายที่ก้าวร้าวดุดันของดูเตอร์เต ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนให้ตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรมผู้กระทำความผิดเพื่อปราบ ปรามอาชญากรรมและยาเสพติด ทรูโดก็กล่าวย้ำคำเดิมว่า วอชิงตันเคารพการตัดสินใจของชาวฟิลิปปินส์
“เรารอคอยที่จะทำงานร่วมกับผู้นำที่ชาวฟิลิปปินส์ได้เลือกขึ้นมา”
แม้คำสัญญาของดูเตอร์เตที่ ว่าจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อคืนความสงบเรียบร้อยสู่บ้านเมืองจะ โดนใจชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ แต่หลายคนยังรู้สึกเป็นห่วงคำพูดรุนแรง และการส่งเสริมให้ตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรมคนร้ายเพื่อกวาดล้างอาชญากรรม ซึ่งอาจทำให้แดนตากาล็อกหวนกลับไปสู่ “ยุคมืด” เหมือนเมื่อครั้งที่ยังถูกครอบงำด้วยระบอบเผด็จการ
ดูเตอร์เตถูกกล่าวหาว่าส่ง เสริมให้เจ้าหน้าที่เมืองดาเวาใช้ระบบศาลเตี้ยสังหารบุคคลที่ต้องสงสัยเป็น อาชญากรไปกว่า 1,000 คน ขณะที่นักวิจารณ์ก็เตือนว่า แนวปฏิบัติเช่นนี้อาจแพร่หลายไปทั่วประเทศหลังจากที่ดูเตอร์เตก้าวขึ้นเป็น ประธานาธิบดี
สหรัฐฯ ปิดฐานทัพในฟิลิปปินส์ไปตั้งแต่ปี 1992 ทว่าทั้ง 2 ประเทศยังคงมีความร่วมมือตามข้อตกลงกลาโหมปี 1951 และฟิลิปปินส์ก็ถือเป็นหุ้นส่วนสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ “ปรับสมดุลสู่เอเชีย” ที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ริเริ่มขึ้น
แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้เมื่อเดือน เม.ย. ว่า วอชิงตันจะส่งทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาผลัดเปลี่ยนประจำการในฟิลิปปินส์ อย่างสม่ำเสมอ และทั้ง 2 ชาติก็ได้เริ่มออกตรวจการณ์ทางทะเลร่วมกันเพื่อตอบโต้การอ้างกรรมสิทธิ์ของ ปักกิ่งในทะเลจีนใต้
จีนอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เกือบ 90% ของทะเลจีนใต้ ซึ่งนอกจากจะเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดเส้นทางหนึ่งของโลกแล้ว ยังเชื่อกันว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันและก๊าซใต้สมุทร ขณะที่บรูไน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไต้หวัน ก็อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนอยู่ด้วย
ท่าทีที่สหรัฐฯ มีต่อดูเตอร์เตในวันนี้คล้ายคลึงกับกรณีของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี แห่งอินเดีย ซึ่งเคยถูกสหรัฐฯ แบนวีซ่าเข้าประเทศสมัยที่ยังเป็นมุขมนตรีรัฐคุชราต เพราะถูกกล่าวหาว่าเพิกเฉยต่อเหตุจลาจลครั้งใหญ่เมื่อปี 2002 จนเป็นเหตุให้ชนกลุ่มน้อยมุสลิมถูกพวกฮินดูหัวรุนแรงสังหารไปเกือบ 1,000 คน
เมอร์เรย์ เฮอร์เบิร์ต นักวิเคราะห์กิจการเอเชียจากศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ชี้ว่า “ประวัติ ด้านสิทธิมนุษยชนของเขา (ดูเตอร์เต) ทำให้สหรัฐฯ ต้องหยุดคิด แต่ในเมื่อชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เลือกเขาขึ้นมา... สหรัฐฯ ก็จำเป็นต้องร่วมมือกับเขา”
แพทริก โครนิน นักวิเคราะห์ด้านเอเชีย-แปซิฟิก เอ่ยถึงเหตุผล 3 ประการที่ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของสหรัฐฯ ได้แก่ 1) ที่ตั้งของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะใหญ่แห่งแรกจากแผ่นดินเอเชียตะวันออก 2) ฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรชาติเดียวของสหรัฐฯ ที่อยู่ในกลุ่มผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ และ 3) ความสำคัญของปัญหาทะเลจีนใต้ในระดับภูมิภาค
“ปัญหาทะเลจีนใต้ถือเป็นเครื่องทดสอบอิทธิพลและความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” โครนิน ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์จากสถาบันความมั่นคงอเมริกันใหม่ (New American Security) ระบุ
“หากเราไม่ช่วยปกป้องผลประโยชน์ของฟิลิปปินส์ เราจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากชาติพันธมิตร และพันธกรณีของเราก็จะถูกตั้งคำถาม”
ไทยชี้แจงพัลวัน โลกรุมซักประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนกลางเวทียูเอ็น-สหรัฐฯพุ่งเป้าม.112
โดย MGR Online
รอยเตอร์ - ที่ประชุมของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี) เมื่อวันพุธ(11พ.ค.) แสดงความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายลงในไทยนับตั้งแต่กองทัพ เข้ายึดอำนาจ กระตุ้นให้รัฐบาลทหารต้องออกมาปกป้องการจำกัดสิทธิการแสดงออก โดยชี้แจงว่ามาตรการนี้มีเป้าหมายที่พวกที่ปลุกปั่นความรุนแรงเท่านั้น
ในช่วงเวลาที่คณะรัฐประหารของไทยได้ดำเนินการจับกุมพวกวิพากษ์ วิจารณ์ทางออนไลน์รอบใหม่ เหล่ารัฐสมาชิกของสหประชาชาติที่เข้าร่วมประชุมทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิ มนุษยชน ในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายลงในไทยนับตั้งแต่กอง ทัพเข้ายึดอำนาจนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014
สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่าสมาชิกบางส่วนของสหประชาชาติเรียกร้องให้ กองทัพทบทวนกฎหมายต่างๆซึ่งเป็นที่ถกเถียง อย่างเช่นกฎหมายล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆบอกว่ามันถูกใช้เงียบเสียงพวกวิพากษ์วิจารณ์มาก ขึ้นเรื่อยๆ
"ไทยควรอนุญาตให้ประชาชนชาวไทยได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการ เมืองอย่างเต็มที่" สหรัฐฯระบุในถ้อยแถลงสรุปต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และเรียกร้องยกเลิกโทษขั้นต่ำสำหรับฐานความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
อย่างไรก็ตามตัวแทนกระทรวงยุติธรรมของไทย ชี้แจงว่าข้อจำกัดต่างๆนั้นมีความมุ่งหมายที่พวกปลุกปั่นความรุนแรงเท่านั้น ตอบโต้ความกังวลที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในที่ประชุมทบทวนการรายงานสถานการณ์สิทธิ มนุษยชน ซึ่งเป็นครั้งแรกของไทยนับตั้งแต่ปี 2011
กองทัพเข้ายึดอำนาจในเดือนพฤษภาคม 2014 โดยอ้างว่าเพื่อยุติวงจรความไม่สงบทางการเมืองอันเจ็บปวดที่สั่นคลอนไทยมา ตั้งแต่ทหารโค่นอำนาจนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้นในปี 2006
พวกกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆบอกว่าคณะรัฐประหารกุมอำนาจอย่างเข้มข้น และควบคุมสิทธิต่างๆอย่างหนักหน่วงในปีที่ผ่านมา ทั้งคุมขังพวกนักวิจารณ์ บังคับใช้กฎหมายใหม่ที่มีเป้าหมายควบคุมสิทธิการแสดงออก เซ็นเซอร์สื่อมวลชนและจำกัดการถกเถียงทางการเมือง
ในรายงานของรอยเตอร์ระบุว่ารัฐบาลทหารของไทยได้ยกระดับดำเนินคดีกับ พวกที่ถูกกล่าวหาในฐานความผิดหมิ่นประมาท และกำหนดบทลงโทษหนักหน่วงขึ้น ขณะที่การปราบปรามล่าสุดมีขึ้นก่อนที่จะมีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญที่เขียน โดยทหารและถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ต่อสาธารณะในเดือนสิงหาคม
เมื่อวันอังคาร(10พ.ค.) เจ้าหน้าที่ไทยได้ให้ประกันตัวนักเคลื่อนไหว 8 คนที่ถูกจับกุมในเดือนสิงหาคม เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นวิจารณ์คณะรัฐประหารและร่างรัฐธรรมนูญในเฟซบุ๊ก
แต่ 2 ใน 8 นักเคลื่อนไหวยังต้องเผชิญข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสถาบันอีกคดี โดยในวันพุธ(11พ.ค.) พวกเขาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากการส่งข้อความสนทนาส่วนตัวใน เฟซบุ๊ก
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 15 ปีในแต่ละฐานความผิด
อนึ่ง ไทยเป็นหนึ่งใน 14 ประเทศที่ถูกสอบถามตาม Universal Periodic Review (UPR) อันเป็นกลไกหนึ่งของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Right Council: UNHRC) เพื่อการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ชาติ
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน