สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กู้ เพื่อ รู้

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์

ตามปกติทุกธุรกิจจะกู้เงินจากแบงก์เป็นเรื่องปกติธรรมดา

แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หลายธุรกิจที่เจอปัญหาการกู้เงินต่างประเทศ หรือกู้เกินตัวจะปรับแผนการเงินใหม่

ถ้ายัง "กู้" ก็จะกู้เงินน้อยลง

และส่วนใหญ่จะไม่กู้เงินต่างประเทศ

แต่บางบริษัทถึงขั้นที่ประกาศเป็นนโยบายเลยว่าจะไม่กู้เงินอีกแล้ว

ขยายธุรกิจตามเงินสดในกระเป๋า

จะช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร

เวลาที่บริษัทต่าง ๆ คิดว่าจะกู้เงินจากแบงก์

ทุกคนจะมองในมุมเดียวกัน คือ เงินสดไม่พอ หรือไม่อยากใช้เงินสดทั้งหมด

เพราะการกู้เงินจะทำให้บริษัทมีภาระทางการเงินเพิ่มขึ้น ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แบงก์

นั่นคือ มุมมองปกติของผู้บริหารส่วนใหญ่

แต่มีผู้บริหารบางคนไม่ได้คิดแบบนั้น

เขาคิดเรื่อง "การกู้เงิน" เป็น "กลยุทธ์" หนึ่งในการบริหารงาน

ใช้ "แบงก์" เป็นเครื่องมือ

อย่างคุณบุญคลี ปลั่งศิริ สมัยที่ยังคุม "ชินคอร์ป" หรือ "อินทัช" ในวันนี้

เวลาที่ลูกน้องเสนอโครงการอะไรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือเป็นเรื่องที่กำลังฮิตในต่างประเทศ หรือเป็นเรื่องที่เขาไม่รู้

เขาจะพึ่งพิง "แบงก์"

การตัดสินใจในเรื่องที่เราไม่รู้เป็นเรื่องใหญ่มาก

ถ้าปฏิเสธลูกน้องก็อาจทำให้บริษัทเสียโอกาสได้ถ้าสิ่งที่ลูกน้องเสนอมาเป็นเรื่องที่ดี

แต่ถ้าจะอนุมัติทั้งที่เราไม่รู้หรือไม่เคลียร์ ก็คงจะไม่ถูกต้องในการบริหาร

วิธีการของคุณบุญคลี คือ ให้ลูกน้องทำโครงการขึ้นมา

แล้วไปยื่นขอสินเชื่อจากธนาคาร

ต่างประเทศ

ขีดเส้นใต้ 2 เส้น

ต้องเป็นธนาคารต่างประเทศเท่านั้น ห้ามใช้แบงก์ไทย

เหตุผลก็คือ แบงก์นอกจะมีสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศ เขาจะมีทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกัโครงการแบบนี้ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ครับ คุณบุญคลีใช้แบงก์นอกเป็น "เครื่องมือ" ในการศึกษาโครงการนี้ให้กับเขา

เพราะแบงก์มีคนที่รู้เรื่องนี้

ถ้าแบงก์อนุมัติ ก็แสดงว่าโครงการมีความเป็นไปได้

ถือเป็นข้อมูลหนึ่งในการตัดสินใจ

แต่ถ้าแบงก์ปฏิเสธ ก็เท่ากับช่วยคุณบุญคลีในการตัดสินใจ

ไม่ต้องลงดาบเอง

หรืออย่าง "วีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์" เจ้าของโรงแรม "วิรันดา" และ "โซฟิเทล โซ" ก็ใช้การกู้เงินเป็นกลยุทธ์ในการวิเคราะห์โครงการเช่นกัน

เขาจะแนะนำน้อง ๆ ทุกคนว่าทำโครงการใหม่ ๆ ต้องกู้เงิน

ต่อให้มีเงินสดในมือพอ ก็ควรจะต้องกู้

แต่ไม่ต้องกู้มากนัก

เหตุผลในการกู้เงินก็คือ แบงก์จะช่วยเราตรวจสอบโครงการอีกทางหนึ่ง

ถ้าโครงการมี "จุดอ่อน" ตรงไหน

แบงก์จะบอกเรา

เพราะบางทีเราก็มองไม่ครบ หรือ

คิดเข้าข้างตัวเองมากไป

เหมือนกับเราจ้างแบงก์เป็นที่ปรึกษาโครงการ

มีค่าใช้จ่ายเป็น"ดอกเบี้ย"

แค่นั้นเอง


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กู้ เพื่อ รู้

view