สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สิทธิมนุษยชน : ประเด็นทางกฎหมายที่ควรรู้

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด

โดย อุดมศักดิ์ โหมดม่วง อัยการจังหวัดฝ่ายคุ้มครองฯ สุราษฎร์ธานี

"สิทธิมนุษยชน" เป็นสิ่งที่ถูกนำมาเสนอในระยะนี้อย่างต่อเนื่องทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะที่เป็นประเด็นร้อนทางการเมือง และในทางคดีความต่าง ๆที่เกิดขึ้น ประชาชนที่เฝ้าติดตามข่าวสาร เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของการพูดถึง "สิทธิมนุษยชน" แตกต่างกันไปตามความรู้พื้นฐานของแต่ละคน การไม่รู้หลักการและความหมายที่แท้จริงของคำว่า "สิทธิมนุษยชน" อาจถูกชักนำไปตามกระแสของสื่อต่าง ๆ ในโลกไร้พรมแดนได้อย่างง่ายดาย หรือแม้กระทั่งอาจถูกชักนำไปใช้ประโยชน์ในทางใดที่ไม่พึงประสงค์ได้

เพื่อ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนจึงขอนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลัก กฎหมายไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ นานาอารยประเทศให้การรับรอง โดยเป็นผลจากองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศกฎบัตรสหประชาชาติ ในปี 2488ซึ่งรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2489 และประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2491 (Universal Declaration of Human Rights 1948 : UDHR) มีหลักการให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ 4 ประการ

ประการแรก คือ สิทธิของปัจเจกบุคคล (Individual Rights) สอง-สิทธิของกลุ่ม (Group Rights) สาม-สิทธิโดยร่วมกันของบุคคล (Collective Rights) สุดท้าย คือ สิทธิชุมชน (Communities Rights) ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติได้กำหนดกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไกหลักด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติมอีก 8 ฉบับ ได้แก่ 1.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) 2.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) 3.อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Covention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-ICERD) 4.อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Covention on the Elimination of All Forms of Discriminationagainst Women-CEDAW) 5.อนุสัญญาว่าด้วยการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Coventionagainst Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) 6.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Covention on the Rights of the Child-CRC) 7.อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของคนงานอพยพและสมาชิกครอบครัว (International Covention on the Protection of the Rights of all Migrant Workers and Mem-bers of their Families-CMW) 8.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Covention on the Rights of Person with Disabilities-CRPD)


ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติกาและอนุสัญญาดังกล่าวข้างต้นแล้ว 7 ฉบับ ยกเว้นฉบับที่ 7


ไทยต้องดำเนินการตามพันธกิจที่ลงนามในสนธิสัญญาของการร่วมเป็นภาคีใน 4 ประการตามหลักการที่เรียกว่า "Pacta Sunt Servanda" ดังนี้ หนึ่ง-การประกันให้เกิดสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา สอง-การปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามที่รับรองไว้ในสนธิสัญญาด้วยความก้าวหน้า สาม-การเผยแพร่หลักการของสิทธิตามสนธิสัญญานั้นให้กว้างขวาง สี่-การเสนอรายงานผลของการปฏิบัติให้เกิดสิทธิและความก้าวหน้าต่อองค์กรตามสนธิสัญญา

หลัก การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชาติ ที่ประเทศไทยได้อนุวัตการนำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยและกฎหมายระดับพระราชบัญญัติทุกฉบับซึ่งหลักการจำแนกโดยสังเขป12 ประการ ได้แก่ ความเสมอภาค, สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล, สิทธิในกระบวนการยุติธรรม, สิทธิในทรัพย์สิน, สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน, สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา, สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการรัฐ, สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน, เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม, สิทธิชุมชน และสิทธิทางการเมือง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ ถึงขนาดได้บัญญัติให้มี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแลคุ้มครองเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยตรง ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า "สิทธิ" (Rights) และเสรีภาพ (Freedom) ที่ตนเองมีนั้น ไม่มีข้อจำกัด จนมีคำประชดประชันว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้" ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและคลาดเคลื่อนมาตลอด

โดยข้อเท็จจริงแล้วคำว่า "สิทธิ" หมายถึงสิ่งที่กฎหมายรับรองให้กระทำได้ ส่วนคำว่า "เสรีภาพ" หมายถึงความเป็นอิสระในการกระทำของบุคคล เมื่อบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพแล้ว กฎหมายยังบัญญัติหน้าที่ของบุคคลไว้เช่นกัน หน้าที่ของบุคคล กรณีการใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นต้องไม่ไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น และต้องไม่ละเมิดกฎหมายด้วย หากฝ่าฝืนโดยใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่ไปละเมิดกฎหมาย ก็อาจเป็นความผิด ได้รับโทษตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นหลักสากลทั่วไปที่ทุกประเทศยึดถือปฏิบัติ

ประเทศ ไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหลักประกัน สิทธิมนุษยชนจึงอยู่บนพื้นฐานของความเป็นนิติรัฐปัจจุบันเราอยู่ในสถานการณ์ พิเศษที่องค์รัฏฐาธิปัตย์กำลังดำเนินการในการส่งต่ออำนาจไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนมีความเสมอภาค และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้นี้

ปัจจุบันการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐบาลไม่ว่าการจับกุม คุม ขัง หรือการดำเนินคดีต่าง ๆ ถือว่ายังคงดำเนินการไปตามกรอบของกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ขณะดียวกันการที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริง ให้ประชาชนได้รับรู้ตลอดเวลา และองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งนานาอารยประเทศเฝ้าติดตามสถานการณ์อยู่เป็นระยะ จึงน่าจะเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชน ที่ประชาชนยังได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานสากลที่พึงปรารถนา


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สิทธิมนุษยชน ประเด็นทางกฎหมาย ควรรู้

view