สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นานาทัศนะหลังมติ Brexit

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

        Paul Krugman
       เศรษฐกิจของอังกฤษอาจจะแย่ แต่ไม่แย่มากอย่างที่หลายคนพูดกัน การเมืองสิจะแย่เอามากๆ แต่หลายๆ อย่างที่แย่นั้นมันก็เกิดขึ้นได้ถ้าอังกฤษยังคงอยู่ใน EU ต่อ
       
       ใช่ ... Brexit จะทำให้อังกฤษจนลง แต่ขณะนี้ที่ทุกๆ คนพูดถึงมีแต่เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ... ตลาดพัง .... Recession ในอังกฤษและอาจจะทั่วโลก บลาๆๆๆ
       
       แต่ผมยังไม่เห็นมันเกิดขึ้นเลย
       
       เงินปอนด์ดิ่งเหวลงก็จริง แต่เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤติในตลาดเกิดใหม่ ผมไม่เห็นว่าเงินปอนด์จะดิ่งเหวมากมายอะไร
       
       ยิ่งเทียบกับช่วงทศวรรษ 70s ที่เกิดวิกฤติในอังกฤษจนค่าเงินตกลงในถึง 1 ใน 3 .... หรือตกลงไป 1 ใน 4 ในช่วงปี 1992 ที่อังกฤษออกจากระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา (Exchange Rate Mechanism)
       
       เพราะขณะที่ผมเขียนอยู่ นี้เงินปอนด์ตกลงไปแค่ 8% จึงยังไม่ใช่การช็อคระดับโลกอย่างที่ว่ากัน
       
       นอกจากนี้ อังกฤษก็เป็นชาติที่กู้ยืมด้วยสกุลเงินปอนด์ จึงไม่เกิด Balance Sheet Crisis จากการที่เงินปอนด์ลดค่าลง ซึ่งไม่เหมือนกรณีของอาร์เจนตินาที่เปโซพังเพราะกู้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ
       
       ดังนั้น ถ้าห่วงว่าจะเจอกับเงินทุนไหลออกแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นละก็ ... ผมยังไม่เห็นจะมีสัญญาณอย่างนั้นเลย
       
       ตรงกันข้าม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอังกฤษอายุ 10 ปี กลับลดลงซะอีก
       
       แล้วการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลง มันสะท้อนความตระหนกว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอจนทำให้ธนาคาร กลางหลายๆ แห่งต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินเอามากๆ ใช่หรือไม่
       
       คำตอบหนึ่งของการที่อัตราดอกเบี้ยและดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงก็ คือ “ความไม่แน่นอน” ซึ่งกดดันการลงทุน เพราะเราไม่รู้เลยว่ากระบวนการนำอังกฤษออกจาก EU จะเป็นอย่างไร
       
       แต่ที่น่ากังวลมากกว่า น่าจะเป็นเรื่องการเมืองที่จะแย่เอามากๆ ทั้งที่อังกฤษและ EU
       
       เพราะมันชัดเจนแล้วว่า EU กำลังอยู่ในความยากลำบาก และผมก็กังวลเรื่องอนาคตของ EU เป็นอย่างยิ่ง
       
       อย่างไรก็ตาม ความกังวลในเรื่องนี้ก็จะยังคงอยู่ อยู่ดี แม้อังกฤษจะลงประชามติให้ตนเองคงอยู่ใน EU ต่อไป
       
       เพราะความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของการเกิด EU ก็คือ
       
       -ไม่มีการคิดให้รอบคอบว่าการรวมเงินสกุลต่างๆ เป็นยูโรสกุลเดียวจะเดินไปได้อย่างไรหากไม่มีรัฐบาลกลาง
       
       -การขาดความรับผิดชอบของประเทศทางตอนใต้ของกลุ่ม EU
       
       -การปล่อยให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศกันได้อย่างเสรีโดย ไม่คิดล่วงหน้าให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งๆ ที่คนแต่ละประเทศต่างมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี และระดับรายได้
       
       เมื่อเป็นอย่างนี้ Brexit จึงเป็นผลลัพธ์จากปัญหาเหล่านี้ต่างหาก แต่การออกจาก EU ก็ทำให้อังกฤษก็เสียเครดิตไปด้วย ทั้งๆ ที่อังกฤษมีสามัญสำนึกที่ดีที่จะไม่อยู่ร่วมกับ EU
       
       และความเสียหายที่แท้จริงต่ออังกฤษก็คือ การเมืองภายใน ที่อาจจะนำไปสู่การแตกแยกของ Britain ... หาก Boris ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาอาจเป็นเพียงนายกรัฐมนตรีของ England เท่านั้น (ไม่ใช่ของ Britain)
       
       ดังนั้น จงสงบลงได้แล้วถ้าห่วงเรื่องเศรษฐกิจในระยะสั้น เริ่มภาวนาให้ยุโรป และกังวลเรื่อง Britain แทน
       
       Marc Faber
       อนาคตของโลกในเชิงเศรษฐกิจอยู่ที่เอเชีย .... อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในอินโดจีน และ Emerging Economies
       
       ความสำคัญของโลกตะวันตกกำลังลดลงเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม Emerging Economies รวมถึงความสำคัญทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ด้วย
       
       Nouriel Rubini
       Brexit จะทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษหยุดชะงัก และนำไปสู่ Recession เพราะคนจะช็อค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะถูกทำลาย
       
       การที่อังกฤษขาดดุลแฝด ทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลัง เป็นความเสี่ยงที่ค่าเงินปอนด์จะตกฮวบ และทำให้เงินทุนหยุดไหลเข้าประเทศ
       
       Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
       หากจะดูปฏิกิริยาของผู้นำประเทศในเอเชียต่อ BREXIT ที่น่าสนใจ พี่เลือกดู ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ทั้งในฐานะที่เราชื่นชมในความสามารถ ในฐานะผู้นำของประเทศคู่แข่งของเรา และในฐานะประเทศในแถบนี้ที่เปิดประเทศ Globalize มากที่สุด เนื่องจากผลจากประชามติอาจจะทำให้สิงคโปร์ต้องปรับเปลี่ยนอะไรๆ อีกหลายอย่างก็ได้
       
       ลีเซียนลุง เขียนในเฟซบุค สรุปใจความว่า ผลการลงคะแนนประชามติให้อังกฤษออกจาก EU ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในโลกแห่งความจริง เพราะมันสะท้อนความเครียดของคนอังกฤษต่อเรื่องคนต่างด้าวที่อพยพเข้าไปอยู่ ในประเทศ สะท้อนความไม่พอใจของคนอังกฤษที่ต้องต่อรองในการเอื้อเฟื้อให้ประเทศอื่นๆ ใน EU และสะท้อนความปรารถนาที่อังกฤษจะยืนยันตัวตนและอธิปไตยของความเป็น British
       
       ประเทศพัฒนาอื่นๆ ก็กำลังประสบกับความท้าทายแบบนี้เหมือนกัน เพราะเราทุกประเทศอยู่ในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Globalization) ดังนั้น ความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากกฏกติกาและข้อจำกัดที่กำหนดโดยคนอื่นเพื่อความ เป็นหนึ่งเดียว ความต้องการมีอิสระที่จะทำในสิ่งที่ตนเองเลือก จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้
       แต่ประเทศที่หันกลับไปมองแต่ตนเองน่าจะมีความมั่นคงปลอดภัยน้อยลง รุ่งเรืองน้อยลง และมีอนาคตที่ริบหรี่ลงก็ได้
       
       ใน 2-3 ปีข้างหน้า จะเป็นช่วงที่อังกฤษกับยุโรปเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน การออกจากอียูก็ซับซ้อนพอๆ กับการเข้าไปอยู่ในอียูนั่นแหละ
       
       จะเกิดอะไรต่อไปนั้น มันเร็วเกินกว่าจะคาดการณ์ได้ แต่เราต้องจับตาดูพัฒนาการนี้อย่างใกล้ชิด และยังไม่มีใครสามารถทำนายผลกระทบจาก Brexit ได้
       
       แต่เมื่อคนอังกฤษตัดสินใจแล้ว เราก็ขอส่งความปราถนาดีไปยังอังกฤษ และเดวิด คาเมรอน ผู้เป็นมิตรแท้ของสิงคโปร์ ที่ได้ประกาศขอลาออกจากตำแหน่งด้วย
       
       สิงคโปร์ จะยังคงบ่มเพาะความสัมพันธ์กับอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเป็นมิตรประเทศและหุ้นส่วนกัน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเวลาของความไม่แน่ไม่นอนนี้จะสั้นลง และเราจะทำให้ดีที่สุดสำหรับอนาคตใหม่ที่ตั้งอยู่บนความจริง (คือ Nationalization … อันนี้พี่เติมเอง)
       
       โปรดสังเกตุว่า ผู้นำของเขามองโลกทั้งโลก มองประเทศสิงคโปร์ทั้งประเทศ ไม่ได้มองเฉพาะผลกระทบด้านเศรษฐกิจกับการลงทุนเท่านั้น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ Brexit ก็ตาม
       
       30 มิถุนายน 2559
       วรวรรณ ธาราภูมิ
       CEO กองทุนบัวหลวง


ไม่หวั่นแรงกระเพื่อม "Brexit" อาเซียนเชื่อกระทบ "แค่ระยะสั้น

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผลการลงประชามติอนาคตของสหราชอาณาจักร (ยูเค) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ฝ่ายออกจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือ "Brexit" ได้ชัยชนะ ไม่เพียงเขย่าตลาดเงินตลาดทุนในยูเคเท่านั้น แต่ยังสั่นสะเทือนไปทั่วโลก

ความไม่มั่นใจของนักลงทุนกระทบไปถึงตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets-EM) ทำให้เกิดการเทขายสินทรัพย์ที่มองว่า "ไม่มั่นคง" โดยในอาเซียน ตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างก็ได้รับผลกระทบที่น่ากังวลจากผลประชามติในยูเค

ค่า เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและค่าเงินริงกิตของมาเลเซียต่างอ่อนค่าลงกัน อย่างต่อเนื่องโดยค่าเงินรูเปียห์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ ราว 13,485 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.8% ขณะที่ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลงถึง 1.8% อยู่ที่ราว 4.1663 ริงกิตต่อดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ แม้จะอ่อนค่าลงในช่วงแรกแต่ก็สะวิงกลับขึ้นมาแข็งค่าใหม่ หลังจากที่ชาวสิงคโปร์แห่ไปแลกเงินปอนด์คืนเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ สะท้อนให้เห็นว่าในสายตาของชาวสิงคโปร์ ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในตอนนี้ดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเงินปอนด์ของยูเค

ความแตกตื่นของนักลงทุนที่เร่งเทขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากและหันไปหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ทำให้ในช่วงหลังจากนี้ เราอาจเห็นเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ไปยังตลาดที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับประเทศตลาดเกิดใหม่ในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย


อย่างไรก็ตามในกรณีของอินโดนีเซียนักวิเคราะห์หลายฝ่ายยังมองว่า แม้ค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียจะสะวิงมากในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เป็นสภาวะตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะอินโดนีเซียเป็นตลาดเกิดใหม่ที่ยังพึ่งพิงการลงทุนจากต่างชาติเป็นหลัก ทั้งในภาคการก่อสร้างและในตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น Brexit อาจกระทบค่าเงินรูเปียห์และสภาพคล่อง ขณะที่สินทรัพย์ในอินโดนีเซียอาจมีมูลค่าผันผวนมากจนมูลค่าตกลงต่ำกว่าความเป็นจริง



ด้านปฏิกิริยาจากธนาคารกลางอินโดนีเซียก็ไม่ได้หวั่นถึงผลกระทบจากBrexit มากนัก โดยรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ได้ออกมาตรการใด ๆ เป็นพิเศษ เพื่อรับมือความผันผวนในตลาดเงินเลย

นายลุกมาน เหลียง
นักวิเคราะห์ด้านการเงินจาก PT Platon Niaga Berjangka สรุปสถานการณ์ไว้ว่า ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้ เป็นเพียงสภาวะตลาดที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอเท่านั้น และความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินโดนีเซียและยูเคก็ไม่ได้แนบแน่นขนาดนั้น จึงไม่มีอะไรน่ากังวล

ส่วนมาเลเซียแม้ผลกระทบจะดูน้อยกว่า แต่กลับมีความกังวลมากกว่า โดยคณะกรรมการตลาดเงินของธนาคารกลางมาเลเซียได้ออกมาประกาศจุดยืนว่า กำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในตลาดเงินในประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับสภาพคล่องเป็นหลัก และพร้อมปรับกลไกเพื่อรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบในตลาดเงินเป็นหลัก

ขณะที่ในส่วนของการค้า เช่นเดียวกับหลายประเทศในอาเซียน มาเลเซียมีอียูเป็นคู่ค้าหลัก แต่ไม่ใช่ยูเค ดังนั้นในด้านการค้าที่มาเลเซียมีกับยูเค ราว 1% ของมูลค่าการค้ามาเลเซียทั้งหมด จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ Brexit กลับมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้นักลงทุนชาวมาเลเซียไปลงทุนยูเคมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่ค่าเงินปอนด์ถูกลง โดยที่ผ่านมานักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวมาเลย์ได้ไปลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Battersea ในกรุงลอนดอน และยังมีนักลงทุนรายย่อยกว้านซื้อหอพักในเมือง มหาวิทยาลัยของอังกฤษไว้หลายราย

ด้านตลาดขนาดเล็กที่เติบโตต่อ เนื่องในอาเซียนอย่างกัมพูชากลับมองวิกฤตเป็นโอกาสโดยเชื่อว่าการเจรจาการ ค้าระหว่างกัมพูชา-ยูเคที่จะสรุปผลในเร็ว ๆ นี้ น่าจะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะรัฐบาลยูเคต้องมองหาคู่ค้าใหม่เพื่อรักษาความสามารถทางเศรษฐกิจ โดยกัมพูชาน่าจะมีศักยภาพในการส่งเสริมความหลากหลายและโอกาสอีกมากให้กับยู เค โดยเน้นส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านความ สัมพันธ์ระดับทวิภาคี


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : นานาทัศนะ หลังมติ Brexit

view