จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
โดย สมพล ชัยสิริโรจน์ FB: Voice Dialogue for Thailand voicedialoguethai@gmail.com www.thaissf.org, twitter.com/jitwiwat สนับสนุนโดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ที่่มา นสพ.มติชนรายวัน
ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว
ดูเอฟบี ดูโซเชียลมีเดียแล้วมองเห็นใจตนเอง
ในบรรดาโพสต์ต่างๆ มากมายในเอฟบี โพสต์เล็กๆ แต่ดุเดือดโพสต์หนึ่ง เป็นภาพของนิสิตหญิงในชุดมหาวิทยาลัยของเธอ โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายว่าหยาบคายในสายตาของคนทั่วไป แต่ที่ยั่วยุยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่าทีที่ไม่แยแสกับคำต่อว่าวิจารณ์ที่กระหน่ำตามมา
อันที่จริงผู้เขียนควรจะยกตัวอย่างถ้อยคำที่ว่า แต่ชะตากรรมของนิสิตคนนี้ ทำให้ผู้เขียนขยาดสายตาผู้อ่านตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในบรรดาคำวิจารณ์ต่างๆ ที่ขึ้นมาในโพสต์ของเธอ มีตั้งแต่ตำหนิตัวเธอที่ใช้ไม่ได้ ไม่รักตัวเอง ไม่รักสถาบัน ครูบาอาจารย์ไม่รู้จักสั่งสอน จนไปถึงว่า พ่อแม่คงไม่มี หรือมีก็มัวแต่หาเงินทองจนไม่รู้จักดูแลลูก รวมทั้งมีว่า ลูกไม่เอาไหน ทำตัวอย่างนี้ เพราะใครแนะนำสั่งสอนก็ดื้อรั้น ก็คงไม่รู้จักเชื่อฟัง
และก็อีกครั้ง ถ้อยคำที่ผู้เขียนยกมาก็โดนเจือจางล้างน้ำให้ความรุนแรงในภาษาลดระดับลง ให้ผู้เขียนรู้สึกปลอดภัย
ปรากฏการณ์นี้อาจจะเรียกได้ว่า อาการ "ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน" ปรากฏในสื่อออนไลน์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องราวและระดับความรุนแรงที่ต่างๆ กันไป
ไม่ว่านิสิตคนนี้จะทำถูกหรือผิด นั้นเป็นประเด็นหนึ่ง แต่คนด่าเขาอาจจะต้องตั้งคำถามว่า "เขาผิดหรือถูก ทำไมต้องไปด่าเขา?" ทำไมต้องตอบโต้ท่าทีของคนที่เราไม่ชอบอกชอบใจและขัดอกขัดใจด้วยความรุนแรง
เหตุการณ์ของนิสิตคนนี้นับว่าเล็กน้อยมากถ้าเทียบกับท่าทีของผู้คนในสังคมออนไลน์ที่กระทำต่อฝ่ายตรงกันข้ามกับตนในเรื่องต่างๆ ที่ใครต่อใครมาขวางโลกให้เห็น มาขัดใจในจุดยืนไม่ว่าจะทางรสนิยมส่วนตัว หรือขวางจุดยืนทางสังคมและการเมือง
ทุกคนต่างมีสิทธิที่จะยืนหยัดว่าจุดยืนของตนถูกต้อง แต่อะไรทำให้ต้องตามไปด่าคนที่เห็นตรงกันข้ามซึ่งทำตัวแตกต่างอย่างรับไม่ได้ ด้วยถ้อยคำสำบัดสำนวนที่หยาบคายไม่ด้อยกว่าเลย โดยเฉพาะในกรณีนิสิตคนนี้
อันที่จริงในชีวิตประจำวัน เราต่างอยู่ในสังคมด่าทอต่อว่ากันเช่นนี้อยู่จนคุ้นเคย พ่อแม่ด่าลูก ลูกศิษย์ด่าครูลับหลัง ครูด่าศิษย์ต่อหน้า ลูกพี่ด่าลูกน้อง เพื่อนร่วมงานด่าคนร่วมทีม ประชาชน ข้าราชการ เอกชน นักการเมือง ทหารต่างด่ากันไปมา
เราอาจจะคุ้นเคยจนมองข้ามไปว่าอะไรเกิดขึ้นในตัวเรา ขณะที่เรากำลังด่าใครต่อใคร และคำขยายความที่ตามมาหลังคำด่าเสมอๆ ก็คือ "ที่พูดไปนั่นหวังดี ไม่ได้ด่านะ" คำถามที่ตามมาก็คือ หวังดี แล้วต้องด่าด้วยหรือ ความปรารถนาดีเป็นคำอนุญาตให้ด่าใครๆ ได้ตามอำเภอใจอย่างนั้นหรือ
อะไรเกิดขึ้นในใจขณะที่กำลังด่าใครสักคน?
แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ คนจำนวนไม่น้อยก็ไม่ยอมรับว่าตนเองกำลังด่า "ไม่ได้ด่า ก็แค่บอกเฉยๆ" แต่ถ้อยคำ อารมณ์ พลังที่อยู่ในถ้อยคำที่ว่าเฉยๆ นั้น อาจจะดูเบามากในแวดวงเจ้าของคำพูด แต่อาจจะหนักหนานักก็เป็นได้ในหูของคนฟัง "ที่บ้านพี่เรียกว่า พูดเฉยๆ นั้น บ้านหนูเรียกว่า ด่า" คำว่า คนด่าใครดูเป็นคนไม่ดี ไม่สุภาพ ขาดวุฒิภาวะ หรือเจ้าอารมณ์ ซึ่งก็ส่งผลตามมาคือ ผู้ด่าไม่ยอมรับและรู้ตัวว่าตนกำลังด่า
แล้วขณะที่ด่านั้น เกิดอะไรขึ้นในใจผู้ด่า ดร.ฮัล และ ซีดร้า สโตน สามีภรรยานักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ชี้ในบทความ "Judgment And What To Do With It"
ให้เห็นว่า ใครหรืออะไรที่เราพิพากษาตัดสินลงไปนั้นเป็นภาพสะท้อนบางด้านของเราที่เราไม่ยอมรับตัวเอง และด้านที่ว่านั้นสะท้อนความอ่อนไหวเปราะบางบางประการในตัวเรา ที่เราไม่ตระหนักไม่รู้ตัวหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
อาจารย์อมรา ตัณฑ์สมบุญ ผู้เป็นคนแรกในประเทศไทยที่แนะนำงานวอยซ์ไดอะล็อกของ ดร.สโตน ให้แก่สาธารณชน ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า "ผู้คนที่เข้ามาในชีวิตเรา เขาเดินเข้ามาพร้อมกับกระจกเงาใบใหญ่ที่สะท้อนให้เราเห็นตัวเราเอง แต่เราทุบกระจกบานนั้นแตกเสียก่อน"
เราด่าว่าใครสักคน เพราะคนคนนั้นสะท้อนภาพให้เราเห็นบางด้านของตนเองที่เราไม่อยากเห็น หรือไม่คิดว่าเราจะเป็นเช่นนั้น
หากผู้อ่านอ่านมาถึงประโยคนี้ อาจจะพูดในใจว่า "เป็นไปไม่ได้" หรืออาจจะอุทานว่า "เอ้อ มีอย่างนี้ด้วยหรือ" ไม่ว่าปฏิกิริยาของผู้อ่านเป็นเช่นไร ปฏิกิริยานั้นสะท้อนจากภายในของท่านอย่างน่าสนใจใคร่รู้ลงไป
ย้อนกลับไปถึงนิสิตที่โพสต์ข้อความหยาบคาย และก็โดนกระแสของสังคมโต้ตอบด้วยถ้อยคำที่แม้นจะเกือบสุภาพกว่า แต่ก็รุนแรงไม่น้อยกว่า
เธอแสดงความรู้สึกนึกคิดของเธอออกมาอย่างไม่ยี่หระ ไม่สนใจสายตาผู้คน และปฏิกิริยาที่เธอได้รับก็คือ เสียงสะท้อนของสังคมที่ไม่มีวันยอมปล่อยให้ใครจะเป็นตัวของตัวเองขนาดนั้น หรือเป็นไปได้ไหมว่า การเป็นตัวของตัวเองในระดับที่ว่า "ฉันอยากจะทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน ฉันไม่สนใจใครนั้น" กลายเป็นของต้องห้ามที่อยู่ลึกในใจเจ้าของปฏิกิริยาตอบโต้ดังกล่าว จนไม่สามารถยอมรับได้ หากใครสักคนสำแดงตนว่าเป็นคนเช่นนั้น
เป็นไปได้ไหมว่าในสังคมที่เรียกร้องให้ผู้คนเป็นผ้าพับไว้ และต้องใส่ใจว่าใครต่อใครจะมองตนเองเช่นไร กำลังเก็บงำภูเขาไฟที่ซ่อนเร้น ความกระหายใคร่จะทำอะไรก็ได้อย่างไม่ต้องใส่ใจสายตาใคร และภูเขาไฟก็ปะทุหรือระเบิดขึ้นมาเมื่อใครสักคนทำตามความกระหายนั้นได้ แต่เจ้าของภูเขาไฟไม่สามารถ
ความรุนแรงที่แสดงออกอยู่ในสังคมออนไลน์ ก็อาจจะเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของจิตใจในส่วนลึกที่ออฟไลน์ ซึ่งเป็นจิตใจที่ผู้คนไม่สามารถเชื่อมโยงหรือรู้ทันสภาวะจิตที่นอนเนื่องอย่างหลับใหลอยู่
การให้โอกาสตนเองหันกลับไปมองดูผู้คนหรือเรื่องราวที่มักจะโดนต่อว่า ด่าทอ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในแง่มุมอื่น อาจจะช่วยให้เจ้าของคำวิพากษ์วิจารณ์ได้เข้าใจตัวเองยิ่งขึ้น
เราอาจจะตั้งคำถามกับนิสิตคนนี้ว่า "นางช่างกล้า คิดว่าตนมีดีอะไร จึงแสดงออกเช่นนี้?" แล้วเราก็อาจจะได้รับคำตอบเดิมก็คือ "นางอยากดัง" และความอยากดัง อยากให้คนเห็น อยากให้เสียงของตนเป็นที่ได้ยิน ให้หน้าของตนเป็นที่จดจำ ก็อาจจะ "อาจจะ" เท่านั้นเป็นเสียงเดียวกับเราที่ร่ำร้องอยู่ลึกๆ ให้ใครๆ ได้เห็น "ฉัน" ได้ยินเสียงของ "ฉัน" บ้าง หรือจดจำ "ฉัน" อย่างน้อยก็สักชั่วครู่
หากมองจากมุมนี้ อาการ "ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน" ก็อาจจะกลายเป็น
กระจกสะท้อนให้ "เห็นตนเองไว้ก่อน" ได้ง่ายขึ้น แล้วเราก็อาจจะรู้จักตนเองในด้านที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น เราด่าใครสักคนว่าอยากดัง ด้วยเสียงของเรา ด้วยกิริยาวาจาที่ "ดัง" ไม่น้อยกว่านางผู้อยากดังก็เป็นได้
ดูหนังดูละคร แล้วย้อนดูตัว
ดูเอฟบี ดูโซเชียลมีเดียแล้วมองเห็นใจตนเอง
ในบรรดาโพสต์ต่างๆ มากมายในเอฟบี โพสต์เล็กๆ แต่ดุเดือดโพสต์หนึ่ง เป็นภาพของนิสิตหญิงในชุดมหาวิทยาลัยของเธอ โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายว่าหยาบคายในสายตาของคนทั่วไป แต่ที่ยั่วยุยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่าทีที่ไม่แยแสกับคำต่อว่าวิจารณ์ที่กระหน่ำตามมา
อันที่จริงผู้เขียนควรจะยกตัวอย่างถ้อยคำที่ว่า แต่ชะตากรรมของนิสิตคนนี้ ทำให้ผู้เขียนขยาดสายตาผู้อ่านตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในบรรดาคำวิจารณ์ต่างๆ ที่ขึ้นมาในโพสต์ของเธอ มีตั้งแต่ตำหนิตัวเธอที่ใช้ไม่ได้ ไม่รักตัวเอง ไม่รักสถาบัน ครูบาอาจารย์ไม่รู้จักสั่งสอน จนไปถึงว่า พ่อแม่คงไม่มี หรือมีก็มัวแต่หาเงินทองจนไม่รู้จักดูแลลูก รวมทั้งมีว่า ลูกไม่เอาไหน ทำตัวอย่างนี้ เพราะใครแนะนำสั่งสอนก็ดื้อรั้น ก็คงไม่รู้จักเชื่อฟัง
และก็อีกครั้ง ถ้อยคำที่ผู้เขียนยกมาก็โดนเจือจางล้างน้ำให้ความรุนแรงในภาษาลดระดับลง ให้ผู้เขียนรู้สึกปลอดภัย
ปรากฏการณ์นี้อาจจะเรียกได้ว่า อาการ "ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน" ปรากฏในสื่อออนไลน์อยู่อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องราวและระดับความรุนแรงที่ต่างๆ กันไป
ไม่ว่านิสิตคนนี้จะทำถูกหรือผิด นั้นเป็นประเด็นหนึ่ง แต่คนด่าเขาอาจจะต้องตั้งคำถามว่า "เขาผิดหรือถูก ทำไมต้องไปด่าเขา?" ทำไมต้องตอบโต้ท่าทีของคนที่เราไม่ชอบอกชอบใจและขัดอกขัดใจด้วยความรุนแรง
เหตุการณ์ของนิสิตคนนี้นับว่าเล็กน้อยมากถ้าเทียบกับท่าทีของผู้คนในสังคมออนไลน์ที่กระทำต่อฝ่ายตรงกันข้ามกับตนในเรื่องต่างๆ ที่ใครต่อใครมาขวางโลกให้เห็น มาขัดใจในจุดยืนไม่ว่าจะทางรสนิยมส่วนตัว หรือขวางจุดยืนทางสังคมและการเมือง
ทุกคนต่างมีสิทธิที่จะยืนหยัดว่าจุดยืนของตนถูกต้อง แต่อะไรทำให้ต้องตามไปด่าคนที่เห็นตรงกันข้ามซึ่งทำตัวแตกต่างอย่างรับไม่ได้ ด้วยถ้อยคำสำบัดสำนวนที่หยาบคายไม่ด้อยกว่าเลย โดยเฉพาะในกรณีนิสิตคนนี้
อันที่จริงในชีวิตประจำวัน เราต่างอยู่ในสังคมด่าทอต่อว่ากันเช่นนี้อยู่จนคุ้นเคย พ่อแม่ด่าลูก ลูกศิษย์ด่าครูลับหลัง ครูด่าศิษย์ต่อหน้า ลูกพี่ด่าลูกน้อง เพื่อนร่วมงานด่าคนร่วมทีม ประชาชน ข้าราชการ เอกชน นักการเมือง ทหารต่างด่ากันไปมา
เราอาจจะคุ้นเคยจนมองข้ามไปว่าอะไรเกิดขึ้นในตัวเรา ขณะที่เรากำลังด่าใครต่อใคร และคำขยายความที่ตามมาหลังคำด่าเสมอๆ ก็คือ "ที่พูดไปนั่นหวังดี ไม่ได้ด่านะ" คำถามที่ตามมาก็คือ หวังดี แล้วต้องด่าด้วยหรือ ความปรารถนาดีเป็นคำอนุญาตให้ด่าใครๆ ได้ตามอำเภอใจอย่างนั้นหรือ
อะไรเกิดขึ้นในใจขณะที่กำลังด่าใครสักคน?
แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ คนจำนวนไม่น้อยก็ไม่ยอมรับว่าตนเองกำลังด่า "ไม่ได้ด่า ก็แค่บอกเฉยๆ" แต่ถ้อยคำ อารมณ์ พลังที่อยู่ในถ้อยคำที่ว่าเฉยๆ นั้น อาจจะดูเบามากในแวดวงเจ้าของคำพูด แต่อาจจะหนักหนานักก็เป็นได้ในหูของคนฟัง "ที่บ้านพี่เรียกว่า พูดเฉยๆ นั้น บ้านหนูเรียกว่า ด่า" คำว่า คนด่าใครดูเป็นคนไม่ดี ไม่สุภาพ ขาดวุฒิภาวะ หรือเจ้าอารมณ์ ซึ่งก็ส่งผลตามมาคือ ผู้ด่าไม่ยอมรับและรู้ตัวว่าตนกำลังด่า
แล้วขณะที่ด่านั้น เกิดอะไรขึ้นในใจผู้ด่า ดร.ฮัล และ ซีดร้า สโตน สามีภรรยานักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ชี้ในบทความ "Judgment And What To Do With It"
ให้เห็นว่า ใครหรืออะไรที่เราพิพากษาตัดสินลงไปนั้นเป็นภาพสะท้อนบางด้านของเราที่เราไม่ยอมรับตัวเอง และด้านที่ว่านั้นสะท้อนความอ่อนไหวเปราะบางบางประการในตัวเรา ที่เราไม่ตระหนักไม่รู้ตัวหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
อาจารย์อมรา ตัณฑ์สมบุญ ผู้เป็นคนแรกในประเทศไทยที่แนะนำงานวอยซ์ไดอะล็อกของ ดร.สโตน ให้แก่สาธารณชน ได้กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า "ผู้คนที่เข้ามาในชีวิตเรา เขาเดินเข้ามาพร้อมกับกระจกเงาใบใหญ่ที่สะท้อนให้เราเห็นตัวเราเอง แต่เราทุบกระจกบานนั้นแตกเสียก่อน"
เราด่าว่าใครสักคน เพราะคนคนนั้นสะท้อนภาพให้เราเห็นบางด้านของตนเองที่เราไม่อยากเห็น หรือไม่คิดว่าเราจะเป็นเช่นนั้น
หากผู้อ่านอ่านมาถึงประโยคนี้ อาจจะพูดในใจว่า "เป็นไปไม่ได้" หรืออาจจะอุทานว่า "เอ้อ มีอย่างนี้ด้วยหรือ" ไม่ว่าปฏิกิริยาของผู้อ่านเป็นเช่นไร ปฏิกิริยานั้นสะท้อนจากภายในของท่านอย่างน่าสนใจใคร่รู้ลงไป
ย้อนกลับไปถึงนิสิตที่โพสต์ข้อความหยาบคาย และก็โดนกระแสของสังคมโต้ตอบด้วยถ้อยคำที่แม้นจะเกือบสุภาพกว่า แต่ก็รุนแรงไม่น้อยกว่า
เธอแสดงความรู้สึกนึกคิดของเธอออกมาอย่างไม่ยี่หระ ไม่สนใจสายตาผู้คน และปฏิกิริยาที่เธอได้รับก็คือ เสียงสะท้อนของสังคมที่ไม่มีวันยอมปล่อยให้ใครจะเป็นตัวของตัวเองขนาดนั้น หรือเป็นไปได้ไหมว่า การเป็นตัวของตัวเองในระดับที่ว่า "ฉันอยากจะทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน ฉันไม่สนใจใครนั้น" กลายเป็นของต้องห้ามที่อยู่ลึกในใจเจ้าของปฏิกิริยาตอบโต้ดังกล่าว จนไม่สามารถยอมรับได้ หากใครสักคนสำแดงตนว่าเป็นคนเช่นนั้น
เป็นไปได้ไหมว่าในสังคมที่เรียกร้องให้ผู้คนเป็นผ้าพับไว้ และต้องใส่ใจว่าใครต่อใครจะมองตนเองเช่นไร กำลังเก็บงำภูเขาไฟที่ซ่อนเร้น ความกระหายใคร่จะทำอะไรก็ได้อย่างไม่ต้องใส่ใจสายตาใคร และภูเขาไฟก็ปะทุหรือระเบิดขึ้นมาเมื่อใครสักคนทำตามความกระหายนั้นได้ แต่เจ้าของภูเขาไฟไม่สามารถ
ความรุนแรงที่แสดงออกอยู่ในสังคมออนไลน์ ก็อาจจะเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของจิตใจในส่วนลึกที่ออฟไลน์ ซึ่งเป็นจิตใจที่ผู้คนไม่สามารถเชื่อมโยงหรือรู้ทันสภาวะจิตที่นอนเนื่องอย่างหลับใหลอยู่
การให้โอกาสตนเองหันกลับไปมองดูผู้คนหรือเรื่องราวที่มักจะโดนต่อว่า ด่าทอ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในแง่มุมอื่น อาจจะช่วยให้เจ้าของคำวิพากษ์วิจารณ์ได้เข้าใจตัวเองยิ่งขึ้น
เราอาจจะตั้งคำถามกับนิสิตคนนี้ว่า "นางช่างกล้า คิดว่าตนมีดีอะไร จึงแสดงออกเช่นนี้?" แล้วเราก็อาจจะได้รับคำตอบเดิมก็คือ "นางอยากดัง" และความอยากดัง อยากให้คนเห็น อยากให้เสียงของตนเป็นที่ได้ยิน ให้หน้าของตนเป็นที่จดจำ ก็อาจจะ "อาจจะ" เท่านั้นเป็นเสียงเดียวกับเราที่ร่ำร้องอยู่ลึกๆ ให้ใครๆ ได้เห็น "ฉัน" ได้ยินเสียงของ "ฉัน" บ้าง หรือจดจำ "ฉัน" อย่างน้อยก็สักชั่วครู่
หากมองจากมุมนี้ อาการ "ขัดหู ขัดตา ด่าไว้ก่อน" ก็อาจจะกลายเป็น
กระจกสะท้อนให้ "เห็นตนเองไว้ก่อน" ได้ง่ายขึ้น แล้วเราก็อาจจะรู้จักตนเองในด้านที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้ เช่น เราด่าใครสักคนว่าอยากดัง ด้วยเสียงของเรา ด้วยกิริยาวาจาที่ "ดัง" ไม่น้อยกว่านางผู้อยากดังก็เป็นได้
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน