สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เมื่อ Brexit เป็นพระเอก เงินหยวนเป็นพระรอง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร, อรกันยา เตชะไพบูลย์

ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นที่โลกให้ความสำคัญและเป็นพระเอกตัวจริงปรากฏในสื่อทุกแขนงทั่วโลก ไม่พ้นเรื่อง Brexit ซึ่งทำให้ตลาดการเงินโลกพลิกผันกันไป 2-3 วัน แต่ในความจริงแล้ว ผลต่อเศรษฐกิจจริงในระยะสั้นจะอยู่ในวงจำกัด เพราะกว่าจะมีความชัดเจนว่าสหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปด้วยเงื่อนไขอย่างไร เมื่อไร ยังมีขั้นตอนอีกมาก และต้องใช้เวลาอีกกว่า 2 ปี และยังมีความเป็นไปได้ (แม้เพียงเล็กน้อย) ที่ในระหว่างทาง อาจเกิดการสะดุด ทำให้สุดท้ายสหราชอาณาจักรจะยังคงเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป

หาก ถึงเวลาที่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปขึ้นมาจริงผลกระทบก็จะตกอยู่กับสห ราชอาณาจักรเป็นหลักเนื่องจากเกือบครึ่งของการส่งออกและการลงทุนโดยตรงในสห ราชอาณาจักรปัจจุบันพึ่งพาสหภาพยุโรปและแม้กระทั่งในภาคการท่องเที่ยว มากกว่าครึ่งของนักท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรมาจากสหภาพยุโรป

ในระหว่างที่ทุกสายตาจับจ้องไปยังBrexitความเป็นจริงแล้วยังมีประเด็นสำคัญอื่นที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลกที่น่าติดตามนั่นคือความเคลื่อนไหวของค่ากลางเงินหยวนของจีน ที่ถือได้ว่าเป็น พระรอง ไม่ค่อยได้รับความสนใจและไม่ค่อยพูดถึงในหมู่นักลงทุนมากนัก

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันคือค่ากลางเงินหยวนอ่อนค่าลงกว่า1.8% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าไม่น้อยในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น และจะพบว่าถ้าหากเทียบกับเมื่อต้นปี 2559 ค่ากลางเงินหยวนที่ประกาศโดยธนาคารกลางจีนเป็นรายวัน อ่อนค่าลง 2.7% โดยมาอยู่ที่ระดับประมาณ 6.68 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับประมาณ 6.50 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแม้จะถือว่าเป็นการอ่อนค่าลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จะพบว่าค่ากลางเงินหยวนมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างชัดเจน

โดยทิศ ทางการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวนเริ่มเห็นเป็นรูปแบบชัดเจนตั้งแต่เดือน สิงหาคม2558ที่ธนาคารกลางจีนประกาศปรับวิธีการคำนวณให้เป็นไปตามกลไกตลาดมาก ขึ้นจะพบว่าในช่วงตั้งแต่ต้นปี 2559 ค่าเฉลี่ยค่ากลางเงินหยวนเทียบกับค่าเฉลี่ยค่ากลางเงินหยวนในปี 2558 อ่อนค่าลง 4.9% รูปแบบการอ่อนค่าของเงินหยวนเช่นนี้ ตรงกันข้ามกับทิศทางรูปแบบการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนในช่วง 10 กว่าปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางแข็งค่าขึ้นเพียงทิศทางเดียว

ประเด็นที่น่า สนใจไม่ได้อยู่ที่การอ่อนค่าลงของค่ากลางเงินหยวนแต่อยู่ที่การตอบสนองของ ตลาดและนักลงทุนซึ่งดูจะไม่ได้ตื่นตระหนกเหมือนกับการอ่อนค่าลงของเงินหยวน ในครั้งอื่นเช่น เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ซึ่งธนาคารกลางจีนได้ปรับวิธีการคำนวณค่ากลางเงินหยวนให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น ในครั้งนั้นหลังจากวันแรกค่ากลางเงินหยวนอ่อนลง 1.9% วันต่อมาก็อ่อนค่าลง 1.6% และ 1.1% ทำให้รวม 3 วัน ค่ากลางเงินหยวนอ่อนลงกว่า 4.7%

อีกครั้งเมื่อเดือนมกราคม 2559 ในช่วงเดียวกันกับที่ตลาดหุ้นจีนตกเหวและเกิดการหยุดซื้อขายชั่วคราว หรือ Circuit Break ถึง 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ทำให้ค่ากลางเงินหยวนในช่วงนั้นอ่อนลงต่อเนื่องทุกวันทั้งสัปดาห์ รวมแล้วคิดเป็นกว่า 0.9% และทั้ง 2 ครั้งนี้ทำให้ตลาดแตกตื่นเกิดความตกใจไปทั่วโลก

อะไร (นอกจากพระเอก Brexit ที่แย่งพื้นที่สื่อไปหมด) ที่ทำให้นักลงทุนในตลาดดูค่อนข้างชิลกับการอ่อนค่าของค่ากลางเงินหยวนครั้งนี้

สาเหตุสำคัญ คือ การที่ธนาคารกลางจีนมีการสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่ากลางเงินหยวนแบบใหม่ และการประกาศค่ากลางเงินหยวนรายวันต่อสาธารณะมากขึ้น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี "หลี่ เค่อเฉียง" ที่ส่งเสริม (สั่ง) ให้ผู้บริหารธนาคารกลางออกมาแถลงข่าวและรับนัดสัมภาษณ์เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและตอบคำถามให้มากขึ้น ถึงขนาดที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ผู้บริหารธนาคารกลางจีนออกมาให้สัมภาษณ์และอธิบายการคำนวณค่ากลางเงินหยวน ที่อิงกับราคาปิดวันก่อนหน้าและตะกร้าเงินสกุลหลักอีก 13 สกุล รวมถึงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบที่ +/-2 รวมถึงระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบที่ +/-2.0% จากค่ากลาง

เหตุการณ์เช่นนี้ถือว่าหายากและแตกต่างจากปกติ ที่การชี้แจงรายละเอียดนโยบายมีไม่บ่อยนัก และมักเป็นในรูปแบบของเอกสารแถลงข่าว
ดังเช่นเมื่อครั้งเดือนสิงหาคม 2558 ซึ่งธนาคารกลางจีนได้ประกาศวิธีการคำนวณค่ากลางเงินหยวนแบบใหม่กะทันหัน ซึ่งกว่าจะออกมาอธิบายให้ตลาดเข้าใจได้ ว่าทำไปเพื่อให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวเป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น เพื่อเป้าหมายใหญ่ในการผลักดันเงินหยวนให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกและเข้าสู่ตะกร้า Special Drawing Rights (SDRs) ก็สร้างความวุ่นวายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศไปแล้วไม่น้อย

แต่แน่นอนว่า นอกจากการทำความเข้าใจและให้ความมั่นใจกับตลาด ซึ่งทำให้นักลงทุนซึมซับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับค่าเงินหยวนได้ดีขึ้นแล้ว ธนาคารกลางจีนได้แทรกแซงตลาดตามสไตล์การดำเนินนโยบายแบบ China Only เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินหยวน รวมถึงการเข้มงวดกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อการลงทุนและการส่งเงินออกนอกประเทศควบคู่กันไปด้วย ประกอบกับสถานะการเป็นหนึ่งในสกุลเงิน SDRs ของ IMF ได้ช่วยให้นักลงทุนมีความมั่นใจกับเงินหยวนมากขึ้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้เหตุการณ์นี้จะสะท้อนว่าตลาดเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินนโยบายเงินหยวนของธนาคารกลางจีนมากขึ้น และความเชื่อมั่นนี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทางการจีนจำเป็นจะต้องค่อยสร้างและสะสมอย่างต่อเนื่อง ในการที่จะผลักดันการให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก หรือแม้กระทั่งการผลักดันการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายในอนาคต แต่การอ่อนค่าลงของเงินหยวน เป็นประเด็นที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากเป็นประเด็นเปราะบางและมีผลต่อตลาดเป็นวงกว้าง

ที่สำคัญ คือ มีความเป็นไปได้สูงว่าเมื่อฝุ่นตลบจากพระเอก Brexit จางลง พระรองอย่างจีนก็คงจะกลับมาขึ้นแท่นพระเอกตัวจริงที่มักจะสร้างดราม่าในหน้าสื่อเศรษฐกิจอีกครั้ง


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : Brexit เป็นพระเอก เงินหยวน เป็นพระรอง

view