จากประชาชาติธุรกิจ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมื่อเป็นมะเร็งแล้วผู้ป่วยมักจะรักษาให้หายขาดได้ยาก และในหลายๆกรณีผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ทราบว่าเป็นมะเร็ง
ความจริงมะเร็งรักษาให้หายขาดได้ไม่ยากนักด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในปัจจุบันที่มีการประสมประสานวิธีหลักอันประกอบด้วยการผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อโรคเป็นมากแล้ว ทั้งนี้เพราะมะเร็งเป็นโรคที่ในระยะที่เริ่มเป็นผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะแรกมักตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น จากการตรวจสุขภาพ หรือมาตรวจรักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งนั้น
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อก้อนมีขนาดใหญ่และแพร่กระจายแล้วทำให้รักษาให้หายขาดยากและในหลายกรณีเป็นไปไม่ได้
หากเราให้ความสำคัญกับการตรวจร่างกายประจำปีและเน้นที่การตรวจเพื่อค้นหาโรคมะเร็งในระยะแรกก็จะทำให้สามารถตรวจพบและรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกได้เทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่นการตรวจเลือด การตรวจเอ็กซเรย์ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถพบมะเร็งที่เกิดขึ้นได้บ่อยในหลายอวัยวะด้วยกันดังนี้
1.มะเร็งเต้านม เป็นอันดับสอง ของมะเร็งในสตรีรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยการคลำ, การเอกซเรย์แมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ทุก 3 ปี และอาจตรวจถี่ขึ้นในรายที่มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว มะเร็งเต้านมมักพบถี่ร้อยละ 80 ในหญิงวัย 50 ปีขึ้นไป และพบมากขึ้นในวัย 60 ปีขึ้นไป มะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบและรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนเสียแต่เนิ่นๆ
2.มะเร็งปากมดลูก ในหญิงไทยยังพบมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทั้งหมด หญิงวัย 60 ปีขึ้นไปควรตรวจเช็คภายในและควรตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 3–5 ปี หรือทุกครั้งที่มีอาการผิดปกติ เช่นมีเลือดออกทางช่องคลอด ถึงแม้คนที่ตัดมดลูกไปแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ ดังนั้นการตรวจภายในจึงยังมีความจำเป็นในกลุ่มคนเหล่านั้น
3.มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ ควรต้องตรวจอุจจาระเพื่อดูว่ามีเลือดปนอยู่ในอุจจาระหรือไม่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจส่องกล้องดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นทุก 4 ปี ตรวจส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ทุก 4 ปี และในกรณีที่พบเลือดในอุจจาระสามารถทำหัตถการข้างต้นทันทีโดยไม่ต้องรอ กำหนดเวลา 4 ปีก็ได้เพื่อการตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
มะเร็งตับและตับอ่อน สามารถตรวจเช็คได้โดยการตรวจอัลตราซาวด์, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ส่วนการตรวจทางชีวเคมี เช่น AFP, CA 19-9 ช่วยในการคัดกรองมะเร็งตับและตับอ่อนได้
4.มะเร็งต่อมลูกหมาก อาจไม่มีอาการอะไรหรือมีอาการคล้ายกับต่อมลูกหมากโต เช่นปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด วินิจฉัยได้โดยการตรวจด้วยนิ้วทางทวารหนัก ร่วมกับการตรวจ PSA ในเลือด, การเจาะตัดตรวจชิ้นเนื้อ (ต่อมลูกหมาก)
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน