จากประชาชาติธุรกิจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2529 หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้ตกลงใจซื้อคอมพิวเตอร์เเมคอินทอชพลัส อันเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวาย คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ หม่อมหลวงอัศนีเลือกเครื่องนี้เพราะสามารถเก็บเเละพิมพ์โน้ตเพลงได้ การเรียนรู้เเละการใช้งานไม่ยากทั้งยังอาจเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วยตั้งเเต่นั้นพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในส่วนพระองค์ทางด้านดนตรีโดยทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงเเละเนื้อร้อง
พระองค์ทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องเเละโปรเเกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เองดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า
ภาพโต๊ะทรงงาน
เวลานี้ทรงอยู่ทุกวันเลย อย่างเขียนโน้ตดนตรีไม่ได้ใช้โปรเเกรมดนตรีนะ เขียนขึ้นเอง ใช้โปรเเกรมธรรมดา คือของโบราณนั่นเอง เสร็จเเล้วก็มาเขียนโดยไม่ได้ใช้โปรเเกรมดนตรีสำเร็จรูปมาเขียนโน้ตเหมือนคนอื่น นั่งเขียนเอง (พระราชอัจฉริยภาพฯ, 2538:20)
สำหรับเรื่องอักขระเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฟอนท์ (Font) นั้น เป็นที่สนพระราชหฤทัยก็เพราะหลังจากที่พระองค์ได้ทรงศึกษาเเละใช้คอมพิวเตอร์ทำโน้ตเมื่อประมาณเดือนธันวาคมพ.ศ.2529เเละทรงทดลองใช้โปรเเกรม "Fontastic" เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 สิ่งที่ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ คือ การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายเเบบ ทรงสนพระราชหฤทัยตัวอักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด นอกจากนี้ยังตั้งพระราชหฤทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือ อักษรเทวนาครี เเละทรงพระราชดำริจะประดิษฐ์อักษรญี่ปุ่น เเต่ไม่ได้ทรงเริ่มประดิษฐ์รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์เเสดงตัวอักษรเทวนาครีบนจอภาพ ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรไทย เพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูปแบบไม่คงที่ กล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรมาต่อรวมกับส่วนหนึ่งของอักษร จะเกิดอักษรใหม่ขึ้น การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้นทรงเริ่มเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2530 ทรงศึกษาตัวอักษรเทวนาครีด้วยพระองค์เองจากพจนานุกรมเเละตำราภาษาสันสกฤต เเละทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เเละองคมนตรีหม่อมหลวง จิรายุ นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้น พระองค์ทรงนำโปรเเกรมออกเเสดงเป็นครั้งเเรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 (สถาบันภาษาจุฬาฯ,2530:10-11)
ต่อมาได้มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible ทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาการพัฒนาซอฟต์เเวร์ต่างๆ เเละได้ทรงสร้างโปรเเกรมใหม่ๆ ขึ้นมา ทรงสนพระราชหฤทัยการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เเบบนี้มาก บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ ภายในด้วยพระองค์เอง หรือทรงปรับปรุงซอฟต์เเวร์ใหม่ขึ้นใช้ ทรงเเก้ซอฟต์เเวร์ในเครื่อง เช่น โปรเเกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานทรงพระอักษรส่วนพระองค์ (พระราชอัจฉริยภาพฯ,2538:41) ส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ นั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า "สมัยทรงเขียนเรื่องนายอินทร์กับเรื่องติโต ยังใช้ลายพระหัตถ์เขียน เเล้วก็ให้เสมียนพิมพ์ เเต่หลังจากนั้นอย่างตอนเเต่งเรื่องพระมหาชนกนี้ ให้เขียนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์" (พระราชอัจฉริยภาพฯ,2538:21)
ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์นับตั้งเเต่วันขึ้นปีใหม่ปี2530 เป็นต้นมาก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์ "ปรุง" อวยพรปีใหม่ ซึ่งเเต่เดิมพระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์ พระราชทานเเก่ข้าราชการหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจหรือฝ่ายสื่อสาร ในระยะหลังนี้ปวงชนชาวไทยก็ได้รับพระราชทานพรจาก บัตร ส.ค.ส. ที่ทรง "ปรุง" นั้นกันทั่วถึงโดยผ่านสื่อมวลชน
บัตร ส.ค.ส. พระราชทานบางฉบับมีภาพประกอบที่ทรงวาดจากคอมพิวเตอร์ด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า
ท่านจะวาดภาพอะไรต่างๆ ประกอบพรที่พระราชทานด้วยบางทีเห็นท่านทำของให้กันเองอย่างพระราชทานสมเด็จเเม่ ท่านรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น วันที่เท่านั้นเท่านี้ ปีอะไร (ก่อนเราเกิด) เสด็จไปไหนบ้างเหมือนกับเป็นไดอะรี่เก็บไว้ว่า เสด็จฯ จังหวัดนั้น จังหวัดนี้ หรือไปไหนมีเหตุการณ์อะไรที่สำคัญ เเล้วก็วาดภาพประกอบ (พระราชอัจฉริยภาพ,2538:22)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกเเบบตราต่างๆ ที่ทรงออกเเบบเเละกำหนดความหมายของสัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมายของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งทรงมีพระบรมราชาธิบายความหมายของสัญลักษณ์อย่างชัดเจน (ดู 7.2) นอกจากนั้นยังมีตราส่วนพระองค์อื่นๆ อีกหลายตราที่ทรงมีพระราชดำริเเละทรงร่างด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะพระราชทานให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น หม่อมรางวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกเเละช่างหลวง ไปเขียนถวายตามพระราชประสงค์ต่อไป ตัวอย่างเช่น ตรา "ฝล" หรือ "ฝูงลิง" เป็นรูปศาลพระกาฬเเละฝูงลิงหน้าศาล (ม.ร.ว. เเน่งน้อย ศักดิ์ศรี, 2539:395)
ขอบคุณที่มาหนังสือ งานช่างของในหลวง โดยโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน