สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน ที่สุดเทคโนโลยีสร้างถนนประเทศไทย

จากประชาชาติธุรกิจ

"เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย มีรากที่ยาว แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผง และง่ายต่อการรักษา" พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2534

จากพระราชดำริดังกล่าว กรมทางหลวง (ทล.) ได้นำเทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเชิงลาดถนน ตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน

"ธานินทร์ สมบูรณ์"
อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันกรมได้ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่งานสายทางเป็นงานก่อสร้างงานทางและบำรุงรักษาไปแล้ว จำนวน 122 สายทาง มีจำนวนกล้าที่ปลูกประมาณ 10 ล้านกล้า เพื่อเป็นการ "ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน" ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



อีกทั้งยังได้ฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการปลูกหญ้าแฝกในงานทางแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงในส่วนภูมิภาคให้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ของหญ้าแฝกในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและประหยัดงบประมาณด้านบำรุงรักษา

โดยได้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ปลูกในสายทางต่างๆที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ภูเขาภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ในพื้นที่เชิงลาดดินตัดเหนือคันทาง เชิงลาดดินถมคันทางที่สูงและมีแนวโน้มจะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยดินทรายที่สลายตัวมาจากหินแกรนิตและหินทราย เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ดิน



วิธีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณเชิงลาดทางมีอยู่2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับสภาพ มีทั้งปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางแนวลาดเท มีระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวอยู่ในช่วง 10 เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร

และปลูกในพื้นที่เชิงลาดที่ได้เกิดการชะล้างพังทลาย จะลดระยะห่างระหว่างกอกล้าแฝกในแถวเป็น 5 เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร

ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายและราคาถูก ซึ่งกรมทางหลวงยังใช้ในการออกแบบสร้างถนนมาอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน


สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปลูกหญ้าแฝก ปลูกแผ่นดิน ที่สุดเทคโนโลยีสร้างถนน ประเทศไทย

view