จากประชาชาติธุรกิจ
โดนไล่ออก!! คำนี้คงไม่มีใครอยากจะได้ยินหรอกใช่ไหมคะ แต่หากวันหนึ่งคุณถูกไล่ออก คุณได้เตรียมแผนทางการเงินของคุณไว้หรือยัง? แน่นอนว่าหลายคนคงยังไม่นึกถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้ วันนี้ MoneyGuru.co.th จึงนำเอาสิ่งที่หลายคนต้องเตรียมตัวรับมือ หากถูกไล่ออกมาฝากค่ะ
ประกันสังคม
ขั้นตอนต่อไป หากคุณว่างงาน หน่วยงานที่คุณควรติดต่อไปที่แรกเลย คือประกันสังคมค่ะ โดยหลักเกณฑ์ที่จะทำให้คุณมีสิทธิ์ คือ คุณต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการ ถูกเลิกจ้าง โดยที่คุณก็ต้องไม่มีความผิดตามกฎหมายด้วยนะคะ
ซึ่งเมื่อคุณถูกเลิกจ้าง คุณจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาทค่ะ
ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของคุณ
คุณอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคุณต้องมีเงินจำนวนเท่าไรคุณถึงจะอยู่รอดได้เป็นเดือนจนกว่าคุณจะคำนวณว่าคุณมีหนี้เท่าไรที่ต้องจ่ายต่อเดือน รวมถึงรายจ่ายต่างๆ ของคุณด้วยค่ะ หากคุณว่างงาน ตอนนี้เราลองมาคำนวณดูกันว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายทุกเดือน เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันสุขภาพ ค่าที่จอดรถ ฯลฯ
นอกจากนี้ อย่าลืมคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความบันเทิงของคุณด้วย เช่น ค่าดูหนัง ค่ารับประทานอาหารนอกบ้าน ค่าสมาชิกฟิตเนส เพราะการคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะทำให้คุณรู้และเข้าใจการเงินของตัวเองมากขึ้น ว่าอะไรที่ลดได้อะไรที่ลดไม่ได้ค่ะ
พูดคุยกับที่ปรึกษา
ในช่วงเวลาที่เดือดร้อนเช่นนี้ แน่นอนว่าที่ปรึกษาทางการเงินสามารถช่วยคุณได้แน่นอนค่ะ อีกทั้งมันอาจจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากสถาบันทางการเงินมีบริการให้คำปรึกษาฟรี อย่างไรก็ตาม บางแห่งจากมีการคิดค่าธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิดหรอกค่ะ เพราะมันก็ย่อมคุ้มค่ากว่า หากมันต้องแลกมากับการคลายความกังวลเรื่องเงิน และทำให้คุณมีความเชื่อมั่นในการหางานใหม่มากขึ้น
ถามหาค่าชดเชย
หากคุณถูกไล่ออก โดยที่คุณไม่ได้ไปทำผิดกฎของบริษัทใดๆ เลย แน่นอนว่าเพื่อความยุติธรรมของคุณ คุณจะต้องเรียกร้องค่าชดเชยจากการที่ให้คุณออกอย่างน้อยเป็นเงินเดือนปกติของคุณล่วงหน้า 3 เดือน หากคุณไม่ได้รับค่าจ้างชดเชย คุณก็สามารถไปปรึกษาทนายเพื่อหาทางออกได้ค่ะ
การโดนไล่ออกอาจจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวนะคะ แต่หากเราตั้งสติเพื่อรับมือกับมัน และวางแผนการล่วงหน้าเอาไว้ การออกจากงานก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้วค่ะ
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน