จากประชาชาติธุรกิจ
การขายฝาก และ การจำนอง ต่างก็เป็นทางเลือกสำหรับคน 2 กลุ่ม ..คือกลุ่มมีที่ดิน บ้าน อาคาร คอนโดฯ แล้วอยากได้เงินสด เงินหมุนเวียนกับกลุ่มที่มีเงินสด เงินเย็น และหลายๆ คนก็คงมีคำถามว่า การขายฝาก กับ การจำนอง ต่างกันอย่างไร
“การขายฝาก” คือการซื้อขายประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ตกไปยังผู้รับซื้อฝากทันที แต่มีข้อตกลงกันว่า “ผู้ขายฝาก” ก็คือเจ้าของเดิมหรือเจ้าของทรัพย์นั้น สามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ ภายในเวลาที่กำหนด ส่วน “การจำนอง” คือ สัญญาที่ “ผู้จำนอง” นำทรัพย์สินไปเป็น “หลักประกันการชำระหนี้” ไว้กับ “ผู้รับจำนอง” โดยยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง หากทางผู้จำนองผิดสัญญา ผู้รับจำนองต้องยื่นเรื่องฟ้องร้องบังคับคดีเพื่อให้ได้ค่าเสียหาย
หรือว่าจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่าจุดต่างที่สำคัญของทั้งสองอย่าง คือ “การขายฝาก” เริ่มต้นมา กรรมสิทธิ์ก็เปลี่ยนเลย แต่ว่าจะ “ได้คืน” ตอนจบ ถ้าจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและค่าไถ่ถอนทรัพย์คืนตามสัญญาแต่“การจำนอง” เริ่มต้นมากรรมสิทธิ์ยังไม่เปลี่ยน แม้สุดท้ายผิดนัดตามสัญญาที่ทำกันไว้ กรรมสิทธิ์ก็ไม่เป็นของทางผู้รับจำนองแต่อย่างใด
และยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมในทางกฎหมายอีก คือการฝากขายนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีการโอนไปยัง “ผู้รับซื้อฝาก” เลย ในวันทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินแต่การจำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง แม้ผู้จำนองจะผิดเงื่อนไข ผู้รับจำนองก็ไม่สามารถได้กรรมสิทธิ์ทรัพย์นั้นไป ส่วนการจดทะเบียนนั้น จะเสียค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
- การจดทะเบียนขายฝากเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์ และเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
- การจดทะเบียนจำนอง เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 จากวงเงินจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
พอเป็นที่เข้าใจกันบ้าง สำหรับความแตกต่างระหว่างการฝากขายและการจำนอง ส่วนใครที่สนใจจะเป็นผู้ขายฝากเพื่อนำเงินหมุนเวียนไปใช้ หรือต้องการเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนให้มากขึ้นจากวิธีเดิมๆที่ได้อยู่แถมยังได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมาถือครองให้อุ่นใจ … ก็สามารถศึกษาข้อมูลและใช้บริการที่ zazzet.com กันได้นะคะ
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน